โรคนิ้วล็อค

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังอยู่ในช่วงของ “วัยทำงาน” ไม่ว่าจะสาขาอาชีพใดก็ตาม บอกได้เลยว่าคุณโชคดีมาก ๆ ค่ะ เพราะคุณกำลังจะได้รับประโยชน์จากบทความต่อไปนี้แบบเต็มๆ ไม่มีกั๊ก!

 

เมื่อพูดถึง “โรคที่มักเกิดกับวัยทำงาน” ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า มีด้วยกันหลายโรคมาก ๆ และเราจะขอคัดมาเฉพาะโรคที่พบได้บ่อยที่สุด 8 โรคก่อนนะคะ ซึ่งคุณจะได้ทราบทั้งลักษณะอาการ สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องโรคทั้ง 8 โรค อย่างละเอียด ส่วนจะมีโรคยอดฮิตอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยค่ะ

 

1.  โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

2.  โรคปวดหัวไมเกรน

3.  โรคกรดไหลย้อน

4.  โรคริดสีดวงทวารหนัก

5.  โรคปวดกล้ามเนื้อ

6.  โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

7.  โรคทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หอบหืด 

8.  โรคนิ้วล็อก

 

โรคนิ้วล็อค คืออะไร?


มาต่อกันด้วยโรคที่ 4 โรคนิ้วล็อค เป็นภาวะที่ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของ “เอ็นงอนิ้วที่เดินทางมาจากข้อมือผ่านฝ่ามือไปที่นิ้วมือนั้นผิดปกติ ส่งผลให้นิ้วอยู่ในสภาพงอ ไม่สามารถจะเหยียดนิ้วมือได้สุด เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้เจ็บนิ้ว และ นิ้วใช้การไม่ได้

 

นิ้วล็อคเกิดได้อย่างไร


ปกติเอ็นงอนิ้ววิ่งมาตามกระดูก โดยมีปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่เปรียบประดุจอุโมงค์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่าลูกรอก (Puley) ให้เอ็นลอดไปตรงโคนนิ้ว เอ็นห่อหุ้มด้วย Tenosynovium ซึ่งมีสารหล่อลื่นทำให้เส้นเอ็นลื่นไม่ติดขัด หากเส้นเอ็นฉีกขาด ถูกทำให้ช้ำ หรือ ถูกกระทบกระเทือนซ้ำ ๆ การหล่อลื่นนั้นจะถูกทำลายไป พอเป็นนาน ๆ ตัวเอ็นจะเกิดพังผืดเป็นปุ่มปม ปลอกหุ้มเส้นเอ็นก็จะเกิดการอักเสบ พองบวมเป็นปุ่มปมด้วยไปด้วย ทำให้อุโมงค์เอ็นลอด (Puley) แคบลง กระทั่งเอ็นติดอยู่ในอุโมงค์จนเอ็นงอนิ้วเคลื่อนไหวไม่ได้ นิ้วจึงอยู่ในท่างอ ตอนแรกอาจเหยียดได้บ้าง เมื่อเป็นมากเข้าๆ ก็ไม่สามารถเหยียด ไม่สามารถงอ ถูกล็อคไว้ในท่าโค้งอยู่อย่างนั้น

 

นิ้วล็อคเกิดจากสาเหตุอะไร


นิ้วล็อค มักเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2.6 เท่า ส่วนใหญ่อายุอยู่ระหว่าง 40-60 ปี มักเป็นกับมือข้างที่ถนัด และ ใช้งานบ่อย ๆ และเกิดที่ “นิ้วหัวแม่มือ” เป็นอันดับหนึ่ง  “นิ้วชี้” เป็นรองลงมา ส่วนใหญ่มักเป็นนิ้วเดียว น้อยรายที่จะเป็นหลายๆ นิ้ว หรือเป็นหลายนิ้วทั้งสองมือพร้อมกัน อาการมักจะเป็นมากในตอนเช้า หรือ ในเวลาที่อากาศเย็น อาจจะไม่ทราบสาเหตุในคนบางคน แต่โดยทั่วไปพบว่าสัมพันธ์กับ 2 ปัจจัยดังนี้

 

• ทำงานหนัก ใช้มือบ่อย ๆ หรือใช้มือทำงานหนักเกินแรง กำอะไรแน่นๆ บ่อย ๆ ประเภทถูบ้าน ซักผ้า บิดผ้า กำเกร็งวัสดุต่าง ๆ เช่น อาชีพแม่บ้าน กรรมกร ช่างปูน ช่างเหล็ก ช่างไม้ ชาวสวน ชาวนา นักดนตรี นักกอล์ฟ หรือ แม้แต่นักเรียนที่เล่นเกมเป็นเวลานานก็ทำให้เกิดนิ้วล็อคได้

 

• เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรครูมาตอยด์ เกาต์ โรคเบาหวาน โรคฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ โรคสะเก็ดเงิน และ Amyloidosis หรือวัณโรค

 

อาการของนิ้วล็อค


1. ช่วงแรกจะรู้สึกว่านิ้วที่เป็นแข็งฝืด เวลาขยับมีเสียงดังป๊อก เหมือนคนหักข้อนิ้ว เมื่อคลำโคนนิ้วจะพบก้อนหรือตุ่มนูน ซึ่งคือเอ็นที่มีปัญหา เวลากดดูจะรู้สึกเจ็บ

 

2. เมื่อเป็นมากขึ้นนิ้วงอยาก เหยียดก็ไม่ออก หากฝืนเหยียดก็จะมีเสียงดังป๊อกและเจ็บ นิ้วโค้งโก่งงอ กำมือไม่ได้ นิ้วข้างๆ นิ้วที่เป็นก็จะเริ่มฝืดและงอเหยียดยากขึ้นหรือติดแข็ง

 

3. ต้องไม่มีอาการบวมแดงที่นิ้ว ไม่มีไข้หรือเจ็บปวดอย่างรุนแรง ไม่อ่อนเพลีย ไม่เจ็บปวดบวมแดงที่ข้ออื่น ๆ เช่น ข้อศอก ข้อเท้า ข้อมือ ฯลฯ เพราะหากไม่ใช่นิ้วล็อค คุณอาจมีการติดเชื้อ หรือ เป็นโรคข้ออักเสบอื่น ๆ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจ

 

การวินิจฉัย


แพทย์วินิจฉัยจากอาการ และ การตรวจพบว่านิ้วล็อค โดยทั่วไปหากไม่สงสัยว่าเป็นโรคอื่น ๆ เช่น ข้ออักเสบ เกาต์ ฯลฯ ไม่ต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอ็กซเรย์

 

การดูแลรักษาตนเอง


1. การจะดูแลตนเองได้ คุณต้องแน่ใจว่าคุณเป็นนิ้วล็อคก่อน โดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วนะคะ

 

2. คุณต้องรีบแก้ไขปัญหา หากปล่อยให้นิ้วล็อคเกิดขึ้นนาน ๆ จนเป็นมากจะแก้ไขได้ยาก

 

3. หยุดงาน พักผ่อนนิ้ว ดามนิ้วที่เป็นนิ้วล็อคไว้กับนิ้วข้างเคียงที่ปกติดี ให้อยู่ในท่างอนิ้วประมาณ 15 องศา นานอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์

 

4. แช่นิ้วที่เป็น (หรือทั้งมือ) ในน้ำอุ่นเพื่อให้เลือดไหลเวียนดี และ การอักเสบลดลง โดยแช่วันละ 2 ครั้ง นานครั้งละ 10-15 นาที

 

5. ค่อยๆ นวดนิ้วจากโคนสู่ปลาย ค่อยๆ ขยับนิ้วขึ้นลงเบาๆ เพื่อไม่ให้ข้อยึดด้วยตนเอง หรือไปพบนักกายภาพบำบัด ให้ช่วยนวด แช่พาราฟิน หรือ ใช้อัลตร้าซาวนด์

 

การดูแลรักษาของแพทย์

หากอาการเป็นมาก นิ้วโค้ง ปวดเวลางอ กำมือไม่ได้ นิ้วข้างๆ เริ่มฝืด ควรไปพบแพทย์ ซึ่งมีการรักษาดังนี้


• ใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น บรูเฟน นาโปรเซน ไดโคลฟีแนค หรือ Celecoxib ฯลฯ ลดการบวม การอักเสบของเอ็น และ ปลอกหุ้มเส้นเอ็น

 

• ฉีดสารสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณที่เป็นหากใช้ยาแล้วไม่ดีขึ้น เพื่อลดการอักเสบของเอ็น และ ปลอกหุ้มเส้นเอ็น

 

• ในกรณีที่ใช้ยารับประทาน หรือฉีดสารสเตียรอยด์ไม่ได้ผล เป็นมาก หรือ มีโรครูมาตอยด์ร่วมด้วย อาจใช้วิธีผ่าตัดเล็ก คือฉีดยาชาแล้วใช้ปลายมีด หรือ เข็มสะกิดบริเวณที่ตีบแคบ ปล่อยเอ็นไม่ให้ถูกกดในอุโมงค์ หลังผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

 

 

คลิกอ่านโรคก่อนหน้านี้ <<< โรคทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หอบหืด

 

บรรณานุกรม

พ.ญ.ชัญวลี ศรีสุโข. 8 โรคร้ายของวัยทำงาน. พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2552.

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า