ไซนัสอักเสบเรื้อรัง รักษาอย่างไร?

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง รักษาอย่างไร?

ไซนัสอักเสบ กับ การรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน


ขั้นตอนการตรวจหาโรคก่อนรักษา

แบบที่ 1: การซักประวัติ 

ในเบื้องต้นแพทย์จะซักถามอาการ และประวัติการป่วย ร่วมกับการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ โดยอาจพบเยื่อบุโพรงจมูกมีการอักเสบ บวมแดง หรือมีหนอง ตรวจหามูกหนองในลำคอ และกดตามจุดบริเวณใบหน้าเพื่อตรวจหาตำแหน่งอักเสบของไซนัส

 

แบบที่ 2: การตรวจร่างกาย

1. การตรวจด้านหน้าของจมูก แพทย์ใช้ไฟส่องเข้าในจมูก ใช้เครื่องถ่างจมูกเพื่อดูว่ามีการบวม, หนอง, เนื้องอก, หรือการผิดปกติอื่นๆ หรือไม่

 

2. ตรวจด้านหลังของจมูก ใช้ไม้กดลิ้น และกระจกเล็กๆ ลนไฟส่องในคอด้านหลังช่องปาก

 

3. ตรวจโดยกดลงบนใบหน้า ตามจุดไซนัส ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ จุดกดเจ็บของไซนัสแม็กซิลล่าอยู่ที่ผนังด้านหน้าชิดกับจมูก จุดกดเจ็บของไซนัสฟรอนตัลอยู่ที่ใต้หัวคิ้วใกล้กับดั้งจมูก หรืออาจจะเคาะเบาๆที่บริเวณหน้าผากซึ่งถ้ามีการอักเสบจะรู้สึกเจ็บ จุดกดเจ็บของไซนัสเอธมอยด์อยู่ที่บริเวณหัวตา ส่วนไซนัสสฟีนอยด์ไม่สามารถตรวจได้เนื่องจากอยู่ลึกมาก แต่ทั้งนี้ ในไซ นัสอักเสบเรื้อรัง มักไม่มีอาการกดเจ็บอย่างชัดเจน ยกเว้นแต่มีการอักเสบเฉียบพลันแทรกซ้อน

 

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง รักษาอย่างไร 1

 

แบบที่ 3: การตรวจพิเศษ 

1. ภาพเอกซเรย์ไซนัส อาจพบความผิดปกติ เช่นการทึบแสงของโพรงไซนัสโดยเปรียบเทียบบริเวณ maxillary sinus กับบริเวณเบ้าตา มีทั้งทึบแสงทั้งหมด ทึบแสงบางส่วนเห็นเป็นระดับ air-fluid level หรือพบมีการหนาตัวของเยื่อบุโพรงไซนัส ซึ่งภาพรังสีในสองแบบแรกมีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัย มากกว่า ภาพรังสีที่พบการหนาตัวของเยื่อบุโพรงไซนัสที่อาจพบได้ในคนปกติและผู้ป่วยโรคภูมิแพ้

 

2. Computed Tomography Scan (CT Scan) แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเข้าไปทางหลอดเลือดดำ แล้วฉายรังสีเอกซ์ให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพออกมา โดยในระหว่างการฉายรังสีจะไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด
ราคาการตรวจ 5,000 – 12,000 บาท

 

3. Magnetic Resonance Imaging (MRI) เป็นเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นอวัยวะส่วนที่จะตรวจแล้วสร้างเป็นภาพออกมา เป็นวิธีการตรวจที่มีความละเอียดและความแม่นยำสูง สามารถใช้ตรวจร่างกายภายในได้ทุกระบบ แพทย์จะวินิจฉัยจากภาพที่ได้ว่ามีสารเหลวอยู่ในบริเวณไซนัสหรือไม่และบริเวณใด แล้วเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
ราคาการตรวจ 5,900 – 60,000 บาท

 

4. การตรวจเลือดเพื่อหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Cell) เพื่อดูการทำงานและปริมาณของเม็ดเลือดขาว ตรวจหาอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte Sedimentation Rate, ESR) และตรวจหา C-Reactive Protein ในเลือด

 

5. ตรวจบริเวณโพรงจมูกและไซนัส คือ Nasal Endoscopy เป็นการส่องกล้อง Endoscope โดยแพทย์จะสอดหลอดแก้วนำแสงเข้าไปทางจมูก แล้วตรวจดูจุดต่าง ๆ ว่ามีการอักเสบหรือมีหนองที่ไซนัสหรือไม่ผ่านภาพจากกล้อง 
ราคาการตรวจรักษา 800 – 3,000 บาท

 

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง2

 

6. Sinuscopy เป็นการส่องกล้องตรวจในไซนัส ปัจจุบันเกือบจะเข้ามาแทนที่วิธีเจาะไซนัส Antral proof puncture โดยทำต่อจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดา ไซนัสสำหรับผู้ป่วยโพรงอากาศข้างจมูกแม็กซิลล่าอักเสบเรื้อรัง ถ้าพบหนองก็สามารถเก็บตัวอย่างส่งเพาะเชื้อ และล้างหนองได้ในคราวเดียวกัน ถ้าพบเป็นถุงน้ำ หรือ ริดสีดวงขนาดเล็กก็จะตัดออกผ่านทางกล้องส่องได้ นอกจากนี้ การเห็นพยาธิสภาพและการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุและของรูเปิดไซนัสด้วยตาโดยตรง ทำให้สามารถวินิจฉัยและวางแผนให้การรักษาไซนัสอักเสบที่เหมาะสมต่อไปได้อย่างเหมาะสม

 

 

ขั้นตอนการรักษา


แบบที่ 1: การใช้ยา

1. ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Nasal Corticosteroids) เป็นยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ ใช้พ่นเข้าไปในจมูกเพื่อลดอาการอักเสบ ลดการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก มีประสิทธิผลทั้งทางการรักษาและทางการป้องกันการอักเสบ ในบางกรณี หากสเตียรอยด์แบบสเปรย์รักษาไม่ได้ผล แพทย์จะให้ใช้สเตียรอยด์แบบหยด โดยผสมสเตียรอยด์ในน้ำเกลือที่ใช้ล้างจมูกแทน ผลข้างเคียงของการใช้ยานี้ คือ อาจเกิดอาการระคายเคืองจมูก มีเลือดไหลจากจมูก หรือเจ็บคอร่วมด้วย ส่วนยาสเตียรอยด์แบบรับประทานจะใช้ในรายที่มีอาการป่วยรุนแรง และไม่ควรใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 

2. ยาลดอาการคัดจมูกแบบรับประทาน เช่น pseudoephedrine และ phenylephrine แพทย์จะจ่ายยาในปริมาณรับประทาน 10 - 14 วัน ยาลดอาการคัดจมูกแบบพ่นหรือหยด เช่น Oxymetazoline และ Hydrochloride ใช้รักษาภายใน 3-5 วัน

 

3. ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) จะถูกนำมาใช้ในกรณีที่ไซนัสอักเสบจากแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาโดยพิจารณาจากความรุนแรงของโรคเป็นเวลา 10-14 วัน เช่น ยากลุ่ม Amoxicillin, Clarithromycin และ Azithromycin แต่หากผู้ป่วยต้องอยู่อาศัยในบริเวณที่มีโอกาสติดเชื้อสูง หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังรับยาไปแล้ว 2-3 วัน แพทย์จะใช้ยารักษาในขั้นถัดไป เช่น Amoxicillin-clavulanate, Cephalosporins, Macrolides, Fluoroquinolones และ Clindamycin เป็นต้น

 

4. ยาลดบวม สำหรับยาลดบวมนั้นจะใช้เป็นยา 2 ชนิดคือ ยาหดหลอดเลือด ได้แก่ ยาในกลุ่ม Decongestants ที่มีทั้งชนิด กิน พ่น และหยอดจมูก (ถ้าใช้ต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์จะทำให้เนื้อเยื่อกลับมาบวมได้อีก โดยเฉพาะชนิดพ่น ในรายที่ไซนัสอักเสบเฉียบพลันแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาพ่นในระยะ 2-3 วันแรกเท่านั้น เพื่อช่วยให้เยื่อบุจมูกยุบบวมได้เร็วขึ้น และไม่ควรใช้นานเกินกว่า 1 สัปดาห์) และยาต้านการอักเสบ (Antiinflammatory agents) เช่น เอนไซม์ (Enzymes) ชนิดต่างๆ ชนิดรับประทาน เช่น Alpha Chymotrypsin, Papase และ Lysozyme ที่มีฤทธิ์ลดการบวม รวมทั้งช่วยในการละลายมูกหนองหรือเสมหะให้เหลว, ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids) โดยเฉพาะในรูปแบบของยาเฉพาะที่ เพราะเชื่อว่าจะช่วยลดการบวมอักเสบของเยื่อบุได้เร็ว


แบบที่ 2: การล้างโพรงไซนัส 


เมื่อมีประวัติเป็นนานเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป และการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล มี 2 วิธีคือ 1)ใช้เครื่องดูดเสมหะ มักใช้ในเด็กโดยทำในท่านอนให้เด็กนอนแหงนหน้ามาก ๆ และหายใจทางปาก ใส่น้ำยาที่ใช้ล้าง (น้ำเกลือผสมยาลดการบวมของเยื่อจมูกและไซนัส) และ 2) การล้างโดยตรง ในไซนัสอาจใช้การเจาะผนังไซนัสผ่านทางจมูก ผ่านรูเปิดธรรมชาติของไซนัสทำมาและสะดวกสำหรับไซนัสบริเวณแก้ม ส่วนไซนัสที่หัวคิ้วและหลังจมูก ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ สำหรับไซนัสที่ซอกตาไม่อาจล้างวิธีนี้ได้

 

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง3
 

แบบที่ 3: การผ่าตัด 


หากการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล แพทย์จะใช้การผ่าตัดด้วยวิธี Functional Endoscopic Sinus Surgery (FESS) เป็นการผ่าตัดผ่านทางรูจมูกด้วยกล้องเอ็นโดสโคปซึ่งเป็นกล้องขยายที่มีขนาดเล็ก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่ถูกออกแบบมาพิเศษในการผ่าตัดนี้และมองภาพขณะผ่าตัดผ่านกล้อง ผู้ป่วยจะได้รับยาชาหรือยาสลบในขณะผ่าตัดโดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการป่วย
ราคาการรักษา 20,000 - 160,000 บาท

 

 

ผลแทรกซ้อนหลังจากการรักษา


1. การผ่าตัด 
ไม่สามารถผ่าไซนัสได้ทุกจุดพร้อมกัน เราทราบแล้วว่ามีอยู่ทั้งหมด 4 คู่ แต่แพทย์มักทำการผ่าตัดคู่ที่เป็นมากที่สุดก่อนเสมอ และถ้ายังมีปัญหาอยู่ก็ต้องปรึกษาแพทย์ต่อไป อาจจะต้องผ่าตัดไซนัสอื่นเพิ่มเติม

 

2. ผู้ป่วยมีโรคภูมิแพ้เป็นประจำ

แม้ว่าจะรักษาโรคไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อหายไปแล้ว แต่โรคภูมิแพ้ก็ยังคงทำให้มีอาการคล้ายๆ กันได้ จำเป็นต้องรักษาโรคภูมิแพ้ต่อไป โรคภูมิแพ้นี้ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ทำให้อาการเบาบางลง โดยหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้, รับประทานยาแก้แพ้, ฉีดวัคซีนเพื่อลดความไวของโรคภูมิแพ้ เป็นต้น

 

3. อาจมีการเกิดซ้ำของโรคหลังการผ่าตัด

เพราะเนื้อเยื่อภายในจมูก และไซนัสระยะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ ยังมีความอ่อนแออยู่

 

4. การมีเลือดออกใน หรือรอบดวงตา (intraorbital hematoma or periorbital ecchymosis)

จะทำให้รอบดวงตาเขียว เหมือนถูกกระแทกที่กระบอกตา  ส่วนใหญ่มักจะค่อย ๆ หายไปเองภายใน 1-2 เดือน  แต่หากเลือดออกมาก จนเป็นก้อนเลือดในกระบอกหรือลูกตา อาจกระทบกระเทือนต่อประสาทตา ทำให้การมองเห็นลดลง แพทย์อาจต้องรีบผ่าตัด เพื่อระบายเอาก้อนเลือดนั้นออก โดยจะมีแผลที่หัวตา

 

5. ท่อน้ำตาอุดตัน  (nasolacrimal duct obstruction)

เนื่องจากท่อน้ำตาซึ่งช่วยระบายน้ำตาลงสู่โพรงจมูกอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำผ่าตัด จึงอาจเกิดการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บจนมีการอุดตันได้  ทำให้น้ำตาไหลท้นจากตาอยู่ตลอดเวลา  การอุดตันนี้อาจเป็นเพียงชั่วคราว แล้วค่อย ๆ หายไปเองภายใน 1 – 2 เดือน หรืออาจเป็นถาวร หากมีการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บมาก  ซึ่งสามารถทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขภายหลังได้

 

6. ภาวะน้ำในสมองรั่วเข้ามาในโพรงจมูก (cerebrospinal fluid rhinorrhea)

เกิดจากการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บต่อเพดานจมูก ซึ่งเป็นพื้นของช่องกะโหลกศีรษะส่วนหน้า (skull base) หากเกิดรอยรั่ว จะทำให้น้ำในสมองรั่วลงมาในโพรงจมูก มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องกระโหลกศีรษะ หากทราบว่าเกิดรอยรั่วขึ้น แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมทันทีในห้องผ่าตัด  แต่หากทราบภายหลัง อาจจะต้องดมยาสลบใหม่ เพื่อผ่าตัดซ่อมแซมอีกครั้ง

 

7. มีโรคประจำตัวอย่างอื่น

เช่น เบาหวาน วัณโรค โรคของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น จำเป็นต้องควบคุมให้อยู่ภาวะปกติก่อนการผ่าตัด เพื่อไม่ให้มีอาการอักเสบเกิดขึ้นหลังจากการรักษา

 

คลิกเพื่ออ่าน ไซนัสอักเสบหายขาดได้ด้วยสมุนไพร

 

ยารักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า