โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคที่ยังหาสาเหตุการเกิดได้ไม่แน่ชัด ซึ่งปัจจุบันคาดการณ์ว่ากลไกที่ทำให้เกิดโรคนี้ อาจมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. ระบบภูมิคุ้มกัน - ลิมโฟไซต์ ชนิด T cells
ซึ่งปกติจะทำหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อโรค ถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินไป เมื่อเคลื่อนตัวมาที่ชั้นใต้ผิวหนัง ก็จะทำงานร่วมกับสารอื่นๆ กระตุ้นให้เซลล์หนังกำพร้าเกิดการแบ่งตัว และเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วอย่างผิดปกติ และก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนังทั้งในชั้นหนังกำพร้า และชั้นหนังแท้
2. กรรมพันธุ์
ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือโรคทางด้านผิวหนังอื่นๆ ย่อมมีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงินด้วยเช่นกัน
โรคสะเก็ดเงิน จะมีลักษณะเป็นผื่น ปื้น นูน มีสีเทาๆ เงินๆ และผิวหนังจะแห้งเป็นสะเก็ด ซึ่งอาจจะหลุดเป็นแผ่นเล็กๆ เหมือนกับรังแคได้ มีอาการอักเสบของผิวหนัง หากคัน แล้วเกามากๆ อาจทำให้เป็นแผล และมีอาการแสบผิวได้
บริเวณที่สามารถพบได้บ่อยในร่างกาย ได้แก่ หนังศีรษะ ข้อศอก หัวเข่า ลำตัว และก้นกบ เล็บ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรืออวัยวะเพศ เป็นต้น ส่วนการกระจายของผื่น มักจะเท่ากันทั้งสองข้างของร่างกาย นอกจากนี้ยังสามารถพบได้หลากหลายลักษณะ ดังนี้
1. มีผื่นหนาสีแดง ขอบชัดเจนคลุมด้วยขุยหนาขาวคล้ายสีเงิน ซึ่งสามารถขูดออกได้ง่าย และเมื่อขูดขุยหมดจะมีจุดเลือดออกบนรอยผื่น
2. ผื่นเกิดขึ้นบนรอยแผลถลอก หรือรอยแผลผ่าตัด
3. ผื่นผิวหนังมักกระจายในบริเวณที่มีการเสียดสี เช่น ศีรษะ ไรผม หลัง สะโพก ศอก เข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
4. ผิวหนังแดงลอกทั่วตัว หรือผื่นชนิดตุ่มหนอง พบตุ่มหนองเล็กๆ ที่ปราศจากเชื้อโรค บนผื่นสีแดง อาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วน เช่น ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือกระจายทั่วตัว
5. ผื่นขนาดเล็กเท่าหยดน้ำ หรือเล็กกว่า 1 เซนติเมตร กระจายทั่วตัว พบบ่อยในเด็ก ตามหลังการเกิดไข้ 1-2 สัปดาห์
6. เล็บ พบมีหลุม เล็บร่อน ปลายเล็บหนามีขุยใต้เล็บ หรือ จุดสีน้ำตาลใต้เล็บ
7. มีการอักเสบตามข้อซึ่งอาจเป็นได้ทั้งข้อใหญ่ ข้อเล็ก เป็นข้อเดียวหรือหลายข้อ และอาจจะมีข้อพิการตามหลังการอักเสบเรื้อรัง
แบบที่ 1: ซักประวัติอาการ
แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว รวมไปถึงสภาวะอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น ลักษณะความสุขสบาย ภาวะความเครียด ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งได้จากการซักประวัติ และสังเกตบุคลิก อารมณ์ สีหน้า ลักษณะของการขับถ่าย ซึ่งโดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีภาวะท้องผูกร่วมด้วย ฯลฯ
แบบที่ 2: การตรวจร่างกาย
- ตรวจลักษณะของผิวหนัง เช่น ผื่น สีผิว ตำแหน่งของผื่น เป็นต้น
- ตรวจลักษณะของเล็บ ซึ่งมักจะพบลักษณะเล็บของผู้ป่วยผิดปกติ เช่น เป็น Oil Drop (ลักษณะเล็บเป็นคลื่นขรุขระ)
แบบที่ 3: ตรวจพิเศษเพิ่มเติม
- การเก็บตัวอย่างจากผิวหนังไปตรวจวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติการ
- การตรวจเลือดหรือเอกซเรย์ เพื่อหาชนิดของโรคไขข้อกระดูก ในรายที่พบว่าเป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic Arthritis) ที่มีอาการปวดข้อร่วมด้วย
รักษาด้วยการใช้ยาทา
1. ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่นิยมใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินมากที่สุด ซึ่งมีหลายรูปแบบ การใช้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น
- หากผู้ป่วยมีผื่นหนาที่แขน ขา มือ เท้า ให้ใช้ยาในรูปแบบขี้ผึ้ง
- หากมีผื่นบางที่ใบหน้า ข้อพับ ไม่ควรใช้ยาขี้ผึ้ง เพราะฤทธิ์แรงเกินไป
- หากมีผื่นหนาที่ศีรษะให้ใช้ยาในรูปแบบครีมเหลว หรือครีมน้ำนม แต่หากเป็นคนศีรษะบางให้ใช้ยาน้ำ เพื่อให้ซึมเข้าสู่ศีรษะได้ดีกว่า
- ส่วนยาประเภททานและฉีด ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน เพราะอาจเกิดตุ่มหนอง ผื่นทั่วตัว รุนแรงกว่าเดิม
ข้อดี ของยาทาสเตียรอยด์ หาซื้อได้ง่าย ผื่นยุบเร็ว
ข้อเสีย คือหากใช้นานๆ อาจทำให้เกิดภาวะดื้อยาได้ และหากหยุดยา อาจกลับมาเป็นผื่นได้ใหม่ และรุนแรงขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้หากยามีฤทธิ์แรงจะทำให้ต่อมหมวกไตมีปัญหา และส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ
2. ยากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามิน ดี 3 (Calcipotriene)
เป็นยารูปแบบวิตามินดี ลักษณะเป็นครีม ราคาค่อนข้างแพง เหมาะกับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ที่เป็นน้อยจนถึงปานกลาง แต่ไม่ควรใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น และไม่ควรใช้มาก เนื่องจากอาจเกิดการระคายเคืองได้ จึงไม่ควรใช้บริเวณใบหน้า ข้อพับ และอวัยวะเพศ
3. ยากลุ่มน้ำมันดิน
เป็นสารเคมีกลุ่มไฮโดรคาร์บอนที่ได้มาจากธรรมชาติ ผู้ที่เป็นผื่นที่หนังศีรษะ สามารถใช้แชมพูผสมน้ำมันดิน (Tar Shampoo) ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินได้ ส่วนครีมผสมน้ำมันดิน ก็ใช้รักษาผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าได้ดี
ข้อดี คือโอกาสที่ผื่น และผิวหนังอักเสบจะกลับมาเป็นใหม่ เป็นได้ช้ากว่าใช้ยาสเตียรอยด์
ข้อเสีย คือหาซื้อยาก ต้องซื้อตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ และยังมีสี และกลิ่นที่ไม่น่าใช้ ยาออกฤทธิ์ช้า
4. ยาทากลุ่มเรตินอล วิตามินเอ
ทำเป็นยาเจลทาวันละครั้ง ใช้ได้ดีกับโรคสะเก็ดเงิน ที่หนังศีรษะและเล็บ โดยมักใช้ร่วมกับยาสเตียรอยด์
5. แอนทราลีน (Anthralin)
เป็นยาที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินมานาน และนิยมใช้มากที่สุด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะใช้รักษาร่วมกับรังสี UV ข้อจำกัดมีเพียงแค่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทามีสีคล้ำขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรใช้กับผื่นแดงและมีน้ำเหลือง เพราะอาจทำให้โรคกำเริบมากขึ้น และไม่ควรใช้กับผื่นบริเวณหน้า คอ ข้อพับ ขาหนีบ อวัยวะเพศ เพราะจะระคายเคืองได้ง่าย
6. Salicylic Acid
เป็นยาใช้ละลายขุย ทำให้ผิวหนังนุ่ม ลอกขุยออกได้ง่าย เพราะมีส่วนผสมของกรด อยู่ในรูปครีม หรือขี้ผึ้ง เหมาะใช้กับผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แต่ไม่ควรใช้กับ ใบหน้า ข้อพับ และผิวเด็ก เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย
7. ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus, pimecrolimus)
เป็นยากลุ่มใหม่ แพทย์บางรายนำมาใช้ในการรักษาผื่นโรคสะเก็ดเงินบริเวณหน้า หรือตามซอกพับเพื่อต้องการหลีกเลี่ยง ผลข้างเคียงจากยาทา คอติโคสเตียรอยด์ แต่ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากยามีราคาแพง
รักษาด้วยการใช้ยารับประทาน
1. เมโธเทร็กเซท (Methotrexate)
มักนิยมใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ที่เป็นรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น โดยใช้การรับประทานและฉีดอาทิตย์ละครั้ง เพราะมีผลข้างเคียงสูง คือ อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รวมทั้งอาจทำให้เกิดตับอักเสบ และตับแข็ง ดังนั้นการใช้ยานี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และผู้ป่วยต้องตรวจเลือดก่อนการรักษา และหลังการรักษาทุกๆ 3-4 เดือน นอกจากนี้ ยาประเภทนี้ยังใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยบางประเภท เช่น หญิงตั้งครรภ์, ผู้ป่วยโรคตับหรือไต, ผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ผู้ที่ดื่มเหล้ามาก ผู้ที่ติดเชื้อระยะรุนแรง เป็นต้น
2. Oral Retinoids
เป็นยาในกลุ่มวิตามินเอ ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินรุนแรง โดยต้องใช้ร่วมกับ UVB และ PUVA ผลข้างเคียงของการใช้ยาคือ ผิวจะแห้ง ลอกเป็นขุย ผมร่วง ทำให้ไขมันในเลือดสูง และตับอักเสบ หากหยุดการรักษาในระยะต้น ๆ จะกลับเป็นปกติได้ หากใช้ยาเกิน 1 ปี อาจทำให้เกิดกระดูกงอกได้ ข้อควรระวังคือ ยานี้ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการ และผู้ใช้ยาห้ามตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากยาสามารถอยู่ในเลือดได้นานถึง 2 ปี และไม่ควรได้รับวิตามินเสริม โดยเฉพาะวิตามินเออีก
3. ไซโคลสปอริน (Cyclosporine)
เป็นยากดภูมิคุ้มกันที่ใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินรุนแรง ผลข้างเคียงคือ อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เป็นพิษต่อไตได้ ถ้าหยุดยาในระยะต้น ๆ อาจจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ ไม่ควรใช้กับผู้ที่ไตพิการ มีโรคความดันโลหิตสูง เคยเป็นมะเร็งมาก่อน หญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ผู้ที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
รักษาโดยการใช้แสง (Phototherapy) โดยแสงที่ใช้ คือ
1. รังสี UVB
เป็นการรักษาโดยใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบี ใช้ได้ดีกับคนที่เป็นมาก โดยมีผลข้างเคียงน้อย คือ จะมีอาการคันและอาการแดงหรือไหม้ของผิวหนัง แต่มีข้อจำกัดคือ ผู้ป่วยต้องมารักษาที่โรงพยาบาล 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2-3 เดือนติดต่อกัน จากนั้นให้ทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
2. รังสี PUVA
เป็นการรักษาโรคสะเก็ดเงิน โดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตเอ หรือ PUVA ร่วมกับการใช้ยา Psoralen โดยให้ผลดีถึง 75% แต่มีผลข้างเคียงมาก คืออาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นควรใช้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง และผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉายแสง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รักษาประมาณ 20-30 ครั้ง ให้รักษาต่อไปอีก 2-3 เดือน จะลดโอกาสการเกิดซ้ำได้ใหม่
รักษาโดยใช้ยาฉีดกลุ่มชีวภาพ (Biological agents)
เป็นยาใหม่ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อยู่ในรูปยาฉีดเข้าเส้นหรือเข้าใต้ชั้นไขมัน ซึ่งยาบางชนิดฉีดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง บางชนิดอาจฉีดห่างกันทุก 3 เดือน ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากยาในกลุ่มนี้เป็นยาใหม่ จึงต้องติดตามผลข้างเคียงระยะยาว
ปุณรดายาไทยมีความเชี่ยวชาญในการดูแลคนไข้สะเก็ดเงิน โดยการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ ควบคู่กับการรักษา เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยตำรับยาที่เราคิดค้นเป็นตำรับสำหรับรักษาอาการทางผิวหนังเรื้อรัง อย่างเช่น โรคสะเก็ดเงิน โดยตรง ในชุดยาจะเป็นทั้งยาภายในและภายนอก
มีสรรพคุณที่ช่วยทั้งภายในและภายนอก ได้แก่
1.ช่วยรักษาอาการน้ำเหลืองเสีย แก้โรคทางผิวหนัง โดยการเข้าไปขับฟอกโลหิตที่เสียให้ขับออกจากร่างกายตามธรรมชาติ
2.ช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น ช่วยรักษาและสมานแผลเรื้อรัง แผลพุพอง
3.มีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย พร้อมยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ
4.ลดอาการอักเสบ การเกิดแผลของอวัยวะในร่างกาย กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่ สมบูรณ์ และ แข็งแรง
5.ช่วยรักษาความสมดุลภายในร่างกาย บำรุงธาตุทั้ง 4 รักษาปริมาณของเหลวในร่างกายให้สมดุล ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
6.บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ลดอาการคันบริเวณผิว ที่ทำให้อาการสะเก็ดเงินกำเริบ
ขั้นตอนที่ 1 ล้างสารพิษ : 15 วันแรกของการรักษา ล้างสารพิษในร่างกายด้วยยาสมุนไพรชุด Clean&Clear ตัวยาชุดล้างสารพิษจะไปล้างของเสียภายในที่เราเคยได้รับ การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิ ยาแก้แพ้ หรือยาต่าง ๆ ที่ไปกดอาการ เพื่อให้ขั้นตอนต่อไป ร่างกายจะได้รับการฟื้นฟูด้วยตัวยารักษาอย่างเต็มที่
ขั้นตอนที่ 2 ขับฟอกน้ำเหลืองเสีย : วันที่ 16 เป็นต้นไป จะเป็นขั้นตอนของการรักษาสะเก็ดเงิน ขับฟอกน้ำเหลืองเสีย และ บำรุงระบบน้ำเหลืองภายในด้วยสมุนไพรชุด P-Set+ ซึ่งจะประกอบด้วยตัวยารับประทาน ยาทาภายนอก น้ำมันบำรุงผิว
ขั้นตอนที่ 3 บำรุงระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ : หลังจากอาการหายสนิท ขั้นตอนแห่งการบำรุงธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอย่างเต็มที่ด้วยชุด Health Refreshment
หากคนไข้กำลังมีความกังวลเกี่ยวกับการรักษาสะเก็ดเงิน ไม่อยากใช้ยากดภูมิ หรือยาสเตียรอยด์ สามารถปรึกษาคุณหมอแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ เพราะในการรักษาอาการสะเก็ดเงินกับปุณรดายาไทย จะไม่ได้เพียงจ่ายยา แต่เรายังมี การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งเรื่องของวิธีการดูแลสุขภาพที่ออกแบบเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ที่มีอาการสะเก็ดเงินอาหารที่ควรทาน และ ควรงด อาหารแสลง อาหารที่ส่งผลโดยตรงต่ออาการสะเก็ดเงินแนะนำให้แบบรายบุคคล
พร้อมทีมแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ได้รับใบประกอบโรคศิลปะจากสภาการแพทย์แผนไทยคอยดูแล ตอบคำถามทุกเคสโดยคุณหมอ ตั้งแต่ 09.00-21.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด เพราะ ความเจ็บป่วย รอไม่ได้
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทยประยุกต์
"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"
แพทย์แผนไทย
" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "