โรคปวดหัวไมเกรน

"โรคไมเกรน" แม้ว่าเป็นโรคที่ฟังดูไม่ร้ายแรงมากนัก แต่หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา ย่อมนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงชีวิตประจำวันก็ได้รับผลกระทบในแง่ลบไปด้วยเช่นกัน หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังอยู่ในช่วงของ “วัยทำงาน” ไม่ว่าจะสาขาอาชีพใดก็ตาม บอกได้เลยว่าคุณโชคดีมากๆ ค่ะ เพราะคุณกำลังจะได้รับประโยชน์จากบทความต่อไปนี้แบบเต็มๆ ไม่มีกั๊ก!

 

เมื่อพูดถึง “โรคที่มักเกิดกับวัยทำงาน” ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า มีด้วยกันหลายโรคมาก ๆ และเราจะขอคัดมาเฉพาะโรคที่พบได้บ่อยที่สุด 8 โรคก่อนนะคะ ซึ่งคุณจะได้ทราบทั้งลักษณะอาการ สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องโรคทั้ง 8 โรค อย่างละเอียด ส่วนจะมีโรคยอดฮิตอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยค่ะ

 

1.  โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

2.  โรคปวดหัวไมเกรน

3.  โรคกรดไหลย้อน

4.  โรคริดสีดวงทวารหนัก

5.  โรคปวดกล้ามเนื้อ

6.  โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

7.  โรคทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หอบหืด 

8.  โรคนิ้วล็อก

 

โรคปวดหัวไมเกรน


มาต่อกันด้วยโรคที่ 2 โรคไมเกรน (Migraine) เป็นภาษาฝรั่งเศสที่มาจากต้นศัพท์ภาษากรีก “Hemicrania” แปลว่ากะโหลกข้างเดียว และมาจากภาษาอังกฤษดั้งเดิมว่า “Megrinm” แปลว่าปวดศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “โรคปวดหัวไมเกรน” เป็นกลุ่มอาการของโรคทางระบบประสาท เมื่อเป็นจะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว ตาไวต่อแสง หูไวต่อเสียง เป็นต้น

 

สาเหตุของโรคปวดหัวไมเกรน


แม้ว่าในปัจจุบันนี้ ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคปวดหัวไมเกรนได้ แต่ก็มีหลายทฤษฎีที่เชื่อว่าเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคปวดหัวไมเกรน ได้แก่

 

• มีความผิดปกติของการสื่อประสาท (Depolarization theory)

โดยสมองส่วนไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนแรกสุดที่เกิด มีการปล่อยสารเคมีที่ทำให้เส้นประสาทระคายเคือง โดยเฉพาะเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้าและส่วนใหญ่ของศีรษะ เหตุการณ์นี้เกิดก่อนอาการปวดหัวประมาณ 24 ชั่วโมง

 

• หลอดเลือดแดงในสมองผิดปกติ (Vascular theory)

เชื่อว่าปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ ทำให้เส้นเลือดของสมองส่วนหลัง (Occipital lobe) หดตัว เนื่องจากสมองส่วนนี้เกี่ยวกับการมองเห็น จึงมักเกิดออร่าเห็นแสงแวบวับกะพริบ ต่อมาเส้นเลือดเกิดการขยายและมีสารน้ำรั่วออกจากเส้นเลือด การขยายของเส้นเลือด นี้เองทำให้เกิดอาการปวดหัว

 

• มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง (Serotonin theory)

เชื่อว่าปัจจัยต่าง ๆ กระตุ้นให้สารซีโรโทนินลดลง ทำให้ เกิดเส้นเลือดในสมองหดตัวและขยายตัวจนเกิดอาการปวดหัว

 

• เส้นประสาทในสมองถูกรบกวน (Neural theory)

 

• ทฤษฎีที่ผสมผสานกันหลายทฤษฎี

ทุกทฤษฎีสรุปได้ว่า เมื่อได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยหลายๆ อย่าง สมองส่วนกลาง เส้นเลือด และเส้นประสาทได้รับความระคายเคืองจนเกิดเส้น เลือดหดเกร็ง แล้วต่อมาเกิดการขยาย จึงสร้างความเจ็บปวด อย่างรุนแรง

 

 

ปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรคปวดหัวไมเกรนมีดังนี้


1. ความเครียดทางกายหรือใจ เช่น ไม่ได้พักผ่อน ทํางานหนัก ใช้แรงมาก คิดมาก วิตกกังวล

 

2. แสงที่จ้าเข้าตา เสียงที่ดังเข้าหู กลิ่นหอมฉุนของน้ําหอม หรือกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง 

 

3. เป็นภูมิแพ้

 

4. นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท

 

5. หิว หรือถึงเวลากินแล้วไม่ได้กินข้าว

 

6. สูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่จากเพื่อนร่วมงาน

 

7. ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากยาคุมกําเนิด สมุนไพร หรือ ฮอร์โมนทดแทนการหมดประจําเดือน

 

8. อาหาร เป็นกับคนบางคน เช่น กาแฟ เหล้า ช็อกโกแลต นม เนย ไอศกรีม เอสปาร์แตม (น้ําตาลเทียม) ผงชูรส หัวหอม ปลารมควัน ถั่ว ไส้กรอก ของหมักของดอง ฯลฯ สําหรับ กาแฟนั้น ในบางคนเป็นปัจจัยกระตุ้น ในบางคนการไม่ได้ดื่ม กาแฟกลับเป็นปัจจัยกระตุ้น

 

9. อากาศร้อนชื้น

 

"ในบรรดา 9 ข้อ ปัจจัยที่พบมากที่สุดในการกระตุ้น ให้เกิดโรคปวดหัวไมเกรน ได้แก่ ความเครียด พักผ่อนน้อย ความหิว และการไม่ได้ดื่มกาแฟ"

 

อาการทั่วไปของโรคปวดหัวไมเกรน


• มีอาการออร่า มีแสงแวบวับกะพริบๆ หรือคลื่นไส้อาเจียนก่อนปวดหัว

 

• อาการปวดหัวมักจะเป็นข้างเดียว ปวดตับๆ บริเวณขมับ เบ้าตา ปวดตามการเต้นของชีพจร ปวดมากจนร้าวไปครึ่งศีรษะ กดเจอเส้นเลือดที่ขยายแล้วรู้สึกปวด

 

• อาการปวดหัวมีมากพอสมควร จนทําให้ไม่สามารถทํางานหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เคยทําเป็นประจําได้ (เช่น ไม่อาจขับรถ อ่านหนังสือ พิมพ์หนังสือ ฯลฯ)

 

• เวลาปวดหัวจะมีคลื่นไส้อาเจียน ตาไวต่อแสง (กลัวแสง) หูไวต่อเสียง (ได้ยินเสียงดังกว่าปกติจนรู้สึกรําคาญ)

 

• หากไม่ได้รักษาด้วยวิธีใดเลย นอนพักแล้วก็ไม่ดีขึ้น (ปวดหัวธรรมดานอนพักแล้วมักจะหาย)

 

• ก่อนปวดหัว ขณะปวดหัว หลังปวดหัว ต้องไม่มีไข้ หากมีไข้อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ เยื่อหุ้มสมองหรือสมองอักเสบ ฯลฯ

 

• แพทย์ตรวจร่างกายและตรวจระบบประสาทสมองจะไม่พบความผิดปกติ หากมีอาการอ่อนแรงแขนขาก็เป็นเพียงชั่วคราวตอนปวดหัว เป็นความผิดปกติที่ถาวรของระบบประสาท เช่น เป็นอัมพาต เดินเซ ความคิดอ่านเชื่องช้า พูดซาลิ้นแข็ง ฯลฯ แสดงว่าเป็นโรคทางระบบประสาทสมองไม่ใช่โรคปวดหัวไมเกรน

 

• มีลักษณะพิเศษของการปวดหัวเป็น 4 ระยะ จนทําให้ผู้ที่เป็นโรคปวดหัวไมเกรนบ่อยๆ สามารถรู้ได้ว่าอาการไมเกรนกําลังจะกําเริบแล้ว

 

 

ไมเกรนแบ่งเป็น 4 ระยะ


1. ระยะก่อนปวด

ร้อยละ 40-60 ของคนที่เป็นโรคปวดหัวไมเกรนจะมีระยะนี้ โดยจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไป เช่น หงุดหงิด เบื้อ ซึม ง่วง เหงาหาวนอน อ่อนเพลีย เครียด ซึมเศร้า หรืออารมณ์ดีผิด สังเกต มีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ ปวดตึงต้นคอ อยากกินอะไรหวานๆ เช่น ขนมหวานหรือช็อกโกแลต ท้องผูก ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย ระยะนี้จะเกิดขึ้นก่อนปวดหัว 2-3 ชั่วโมง จนถึงนานเป็นวัน

 

2. ระยะออร่า (อาการเตือน)

ร้อยละ 20-30 ของคนที่เป็นโรคปวดหัวไมเกรนจะมีระยะนี้ เช่น เห็นแสงวับแวบกะพริบๆ เหมือนแสงแฟลช หลังจากออร่า ประมาณ 5-60 นาที (ส่วนใหญ่ 5-20 นาที) จะเริ่มปวดหัว อาการออร่าที่เห็นนั้นไม่ได้เป็นแสงอย่างเดียว บางคนเห็นเป็นสายฝน บางคนเห็นเป็นสีรุ้ง จุดดํา บางคนเห็นภาพมัวๆ เบลอๆ บางคนภาพที่เห็นหายไปเป็นบางส่วน ในระยะนี้บางคนอาจมีอาการเวียนศีรษะ ขนลุก หูแว่ว พูดอะไรไม่ถูกไปชั่วขณะ บางคนเหน็บชาเจ็บผิวเหมือนโดนเข็มทิมเนื้อ

 

3. ระยะปวด 

มักปวดบริเวณขมับหรือเบ้าตา อาการปวดค่อยๆ ปวดมากขึ้นจนถึงจุดสูงสุด หากไม่ได้รักษาจะปวดนาน 4-72 ชั่วโมง โดย ร้อยละ 90 ของคนปวดหัวไมเกรนจะมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย และ 1 ใน 3 มีอาเจียนออกมา บางคนมีอาการตาลายมองเห็นอะไรไม่ชัด ปัสสาวะบ่อย ท้องเสีย เวียนศีรษะ เหงื่อแตก หน้าซีด เป็นลม ปวดต้นคอ หน้าบวม เส้นเลือดที่ขมับและหนังศีรษะโป่งอย่างเห็นได้ชัด กดเจ็บ

 

"ในระยะนี้คนที่มีอาการปวดหัวไมเกรนส่วนใหญ่จะไม่อยากได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น ได้ดมกลิ่นอะไร อาการจึงจะดีขึ้นถ้าได้ แนะนำให้นอนคนเดียวในห้องมืดเย็นๆ ไม่มีกลิ่น และเงียบสงบ"

 

4. ระยะคลายความปวด

ระยะนี้อาการแสดงไม่เหมือนกัน บางคนหายปวดอย่างปลิดทิ้ง อารมณ์ดี มีเรี่ยวแรงเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม บางคนซึมเศร้า หมดแรง ยังปวดหัวอยู่บ้างโดยเฉพาะหากเอามือกดเส้นเลือดที่ยังขยายบริเวณหนังศีรษะ และอาจมีอาการกินข้าวไม่ลง แต่อาการทั้งหมดจะหายไปเป็นปลิดทิ้งเมื่อครบกําหนดของโรค (3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง)

 

การวินิจฉัย


แพทย์แผนปัจจุบันจะวินิจฉัยโรคปวดหัวไมเกรนจากการซักประวัติอาการปวดหัว เพราะการตรวจร่างกายไม่สามารถพบความผิดปกติได้ และหากสงสัยว่าปวดหัวจากโรคอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ แพทย์อาจส่งเจาะเลือดเพิ่มเติม หรือ หากสงสัยว่าปวดหัวเพราะเนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองผิดปกติ อาจส่งตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ฯลฯ

 

 

วิธีรักษาไมเกรนเบื้องต้นด้วยตัวเอง


• นวดตัว นวดศีรษะ สปา ให้ผ่อนคลาย

 

• ฝังเข็ม

 

• ประคบเย็น ประคบร้อน

 

• กลิ่นบําบัด เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นกุหลาบ ฯลฯ ระวังกลิ่นบางกลิ่นอาจทําให้ปวดหัวมากขึ้น

 

• ทําสมาธิ

 

• นอนหลับพักผ่อน

 

• ดื่มกาแฟ (ได้ผลรักษาปวดหัวไมเกรนในบางราย)

 

• เลือกรับประทานอาหาร เชื่อว่าอาหารที่มีโอเมก้า 3 คือ น้ํามันปลาทะเลลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า หรือปลาทะเลไทย เช่น ปลาทู ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาสําลี ปลารัง ปลาอินทรี หากรับประทานอาทิตย์ละ 2 มือ สามารถลดอาการปวดหัวไมเกรน

 

• ดื่มชาโดยเฉพาะชาเก๊กฮวย (เชื่อว่าลดโรคปวดหัวไมเกรน)

 

• ดื่มน้ําขิงช่วยลดอาการคลื่นไส้

 

• ไคโรแพร็กติก (Chiropractic; จัดกระดูกสันหลัง) ช่วยลดอาการตึงปวดศีรษะ

 

• เชื่อว่าการเสริมโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) ลดอาการปวดหัวไมเกรน

 

• เชื่อว่าวิตามินบี ได้แก่ ไรโบฟลาวิน (ปี 2), ไนอะซิน (ปี 3), วิตามินบี 6, โฟลิก (ปี 9) และวิตามินบี 12 ช่วยลดการเกิดโรคปวดหัวไมเกรน

 

• เชื่อว่าการเสริมแมกนีเซียม แคลเซียม และวิตามินดี ช่วยลดการเกิดไมเกรน โดยเฉพาะในคุณผู้หญิงวัยทอง

 

อ่าน " บอกลาไมเกรนด้วยชุดสมุนไพร M-Set " คลิก

 

วิธีรักษาไมเกรนโดยแพทย์


 

1. การรักษาเพื่อควบคุมอาการโรคปวดหัวไมเกรน

 

1. 1 ยาแก้ปวด

- ยาแก้ปวดที่นิยมอันดับหนึ่งคือพาราเซตามอล ในกรณีที่ปวดหัวน้อยถึงปานกลาง ยานี้สามารถทําให้อาการหายไปร้อยละ 50 ของคนไข้

- ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น นาโปรเซน, บรูเฟน ฯลฯ เป็นยาที่นิยม 1 ใน 3 ของคน ที่เป็นโรคปวดหัวไมเกรน มักใช้ประจํากว่าร้อยละ 90 ทําให้อาการปวดหัวหายไปได้

- ยาผสมผสานระหว่างยาแก้ปวดกับยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลกับแอสไพริน หรือผสมยาแก้ปวดกับ สารกาเฟอีน หรือผสมยาแก้ปวดกับยาที่ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ ส่วนใหญ่ใช้แล้วมักได้ผลดี

 

1. 2 ยาเพิ่มสารซีโรโทนิน เช่น ยา Sumatriptan ฯลฯ หรือยาประเภท SSRI

เนื่องจากโรคปวดหัวไมเกรนเกี่ยวข้องกับการลดลงของสารซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมอง หากปวดหัวมาก ยาประเภท NSAIDs รักษาไม่ได้ผล แนะนําให้ใช้ยาชนิดนี้

 

1. 3 สารเออร์กอท (Ergot)

มีทั้งชนิดเออร์กอทเดี่ยวๆ หรือผสมกับกาเฟอีน เป็นยาที่นิยมในกรณีปวดหัวปานกลางถึงมาก พบว่าสารเออร์กอทช่วยเพิ่มระดับซีโรโทนินในสมอง กาเฟอีนช่วยเสริมทําให้สารเออร์กอทดูดซึมเข้าร่างกายดีขึ้น ทําให้เส้นเลือดหดตัว รักษาอาการปวดหัวที่รุนแรงได้ผลดีมาก

 

1. 4 ยาสมุนไพรรักษาไมเกรน แนะนำให้ทานยาสมุนไพรที่เป็นแบบ "ตำรับ" คือมียาสมุนไพรเป็นส่วนประกอบตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี และผลข้างเคียงน้อยไปจนถึงไม่มีผลข้างเคียงเลย อีกทั้งยังเป็นมิตรกับร่างกายมากที่สุด

 

2. ป้องกันการเกิดซ้ำในคนที่เกิดโรคปวดหัวไมเกรนบ่อยๆ

คําว่า “เกิดบ่อย” ในคนปวดหัวไมเกรน คือเกิดเกิน 2 ครั้ง ต่อเดือน บางคำจํากัดความให้ไว้ที่ 1-2 ครั้งต่ออาทิตย์ นอกจากเกิดบ่อยและเป็นรุนแรงมาก หรือเกิดอาการนานมาก ๆ แพทย์ก็อาจพิจารณาให้ยาป้องกันติดต่อกัน 3-6 เดือน หากอาการของโรคลดลงเกินร้อยละ 50 แสดงว่าได้ผลดี

 

2. 1 ยาที่ใช้ป้องกันโรคปวดหัวไมเกรนมีดังนี้

- ยาปิดกั้น เบต้า Beta blockers

- ยากันชัก เช่น Valproic acid, Topiramate ฯลฯ

- ยาต้านเศร้า เช่น Amitryptaline หรือ SSRI เช่น Fluoxetine ฯลฯ

- แอสไพริน

- ยาขยายเส้นเลือด เช่น Flunarizine, Verapamil

- NSAID เช่น บรูเฟน, นาโปรเซน

- ยาออกฤทธิ์ที่ประสาทสมองส่วนกลาง เช่น Pizotifen

"ในกรณีที่การป้องกันและรักษาโรคปวดหัวไมเกรนด้วยวิธีต่างๆ ไม่ได้ผล อาจมีการพิจารณาผ่าตัดหรือใช้ไฟฟ้ากระตุ้นประสาทสมอง แต่โดยทั่วไปยังไม่เป็นที่นิยม"

 

นอกจากนี้ยังมีทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ และไม่ต้องการรับประทานยาเคมี ปุณรดายาไทยขอแนะนำ M-SET ชุดสมุนไพรรักษาไมเกรน ช่วยคืนความสดใสให้ชีวิตคุณอีกครั้ง

 

 

หลักการทำงานของ M-SET ตำรับยาสมุนไพรแก้อาการไมเกรน


ตำรับยาสมุนไพร M-SET จะเข้าไปทำหน้าที่ปรับสมดุลของระบบการไหลเวียนเลือด ช่วยให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนไปเลี้ยงสมอง และส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น ลมที่อั้นตามบริเวณต่างๆ จนส่งผลให้เกิดอาการปวดตามจุดต่างๆ ถูกกระจายตัว อาการปวดหัว ปวดตึงคอ บ่า ไหล่ หรือ ปวดออกกระบอกตาจะดีขึ้นจนหายเป็นปกติ ผลที่จะได้จากการทานสมุนไพรนอกจากการรักษาอาการไมเกรนแล้ว จะช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น สดใส มีความสนุกสนานในการทำทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

 

M-SET สรรพคุณ


1. ช่วยควบคุมให้ความดันโลหิตเป็นปกติ

 

2. แก้ไมเกรน แก้ลมวิงเวียน ปวดศรีษะ หน้ามืด คลื่นไส้ แก้อาเจียน

 

3. ช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด

 

4. ช่วยปรับระบบไหลเวียนเวียนเลือด และลมให้ไหลเวียนดี 

 

5. ลดการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดตีบ ตัน และแตก

 

6. แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยให้ผ่อนคลาย หลับสนิท 

 

7. ช่วยให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้และยืดหยุ่นได้ดีขึ้น

 

8. อาการปวดเมื่อย คลายเส้น 

 

9. ช่วยบำรุงระบบประสาท

 

10. ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุทั้ง4

 

 

การป้องกันการเกิดโรคปวดหัวไมเกรน


คุณสามารถป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนได้ด้วยตนเอง ดังต่อไปนี้

 

"ลดความเครียด ออกกําลังกายเป็นประจํา ไม่นอนดึก ไม่ทํางานจนเกินแรง ไม่อดอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่ ทําให้เกิดโรคปวดหัวไมเกรน ไม่รับประทานยาคุมกําเนิด ไม่รับประทานฮอร์โมนทดแทนการหมดประจําเดือน ฯลฯ"

 

จะเห็นว่าเราไม่สามารถป้องกันปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรคปวดหัวไมเกรนอีกหลายๆ อย่าง เช่น ดินฟ้าอากาศ แสง เสียง หรือโรคภูมิแพ้ที่เป็นอยู่ ฯลฯ ดังนั้น โรคปวดหัวไมเกรนจึงไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากทําให้โรคลดความถี่ได้เกิน ร้อยละ 50 ก็เรียกว่าป้องกันสําเร็จแล้วค่ะ

 

 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคปวดหัวไมเกรน


• เป็นโรคที่เป็นซ้ำซาก เป็นแล้วมักไม่หายขาด สร้างความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจเป็นอย่างยิ่ง

 

• การทํางานที่เครียด ไม่ได้พักผ่อน รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ดื่มกาแฟจัด เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดปวดหัวไมเกรน เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรนก็มักจะเสียการเสียงาน จนได้ขึ้นชื่อว่าเป็น 1 ใน 20 โรค ที่ทําให้คนทํางานลางานเพื่อพักผ่อนมากที่สุด

 

• เป็นโรคที่พบบ่อย 1 ใน 4 ของคนวัยทํางาน (อายุ 25-55 ปี) เป็นโรคปวดหัวไมเกรน

 

• ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีคนเป็นโรคปวดหัวไมเกรน ประมาณ 30 ล้านคน

 

• เป็นโรคที่เกิดขึ้นทุกวัยทั้งหญิง-ชาย ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย โดยร้อยละ 18 ของผู้หญิงทุกวัยเป็นโรคปวดหัวไมเกรน ขณะพบในผู้ชายเพียงร้อยละ 6

 

• ส่วนใหญ่โรคปวดหัวไมเกรนเกิดก่อนอายุ 20 ปี มีประมาณร้อยละ 50 ของคนเป็นโรคนี้เกิดอาการครั้งแรกขณะที่อายุต่ํากว่า 12 ขวบ

 

• ส่วนใหญ่เดือนหนึ่งเป็นโรคปวดหัวไมเกรน 1-2 ครั้ง แต่มีร้อยละ 4 ที่ปวดหัวบ่อยแทบทุกวัน

 

• คนที่เป็นโรคปวดหัวไมเกรนส่วนใหญ่รักษาตนเอง

 

• อาการของโรคปวดหัวไมเกรนอาจจะคล้ายกับอาการ ปวดหัวของโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น มะเร็งในสมอง เส้นเลือดโป่ง พองในสมอง เลือดคั่งในสมอง เส้นเลือดตีบหรือแตกในสมอง ดังนั้น หากละเลยคุณอาจจะเสียชีวิตจากโรคที่มีอาการคล้ายโรคปวดหัวไมเกรนได้

 

คลิกอ่านโรคก่อนหน้านี้ <<< โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

คลิกอ่านโรคต่อไป  >>> โรคกรดไหลย้อน

 

บรรณานุกรม

พ.ญ.ชัญวลี ศรีสุโข. 8 โรคร้ายของวัยทำงาน. พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2552.

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า