มีลูกยากทำไงดี? | 14 เคล็ดลับตั้งครรภ์ได้สำเร็จ

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

มีลูกยากทำไงดี? | 14 เคล็ดลับตั้งครรภ์ได้สำเร็จ

มีลูกยากทำไงดี?


เชื่อว่าคำถามนี้ อาจกำลังเกิดขึ้นกับคู่สามีภรรยาหลายๆ บ้าน ซึ่งยุคสมัยนี้นับว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนเริ่มมีลูกยาก เนื่องด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ ด้าน ทั้งจากภายในและภายนอก ทั้งในด้านสุขภาพคุณภรรยา และสุขภาพคุณสามี ก็ล้วนมีผลต่อการตั้งครรภ์ ด้วยกันทั้งสิ้นค่ะ

 

เราจึงเห็นว่าที่คุณแม่หลายๆ คนเกิดภาวะท้องลม ต้องไปขูดมดลูกออก บางคนอยากมีลูกมากแต่ไม่รู้จะทำยังไง ก็หันไปเพิ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบัน เพื่อให้มีลูกสมดังใจหวัง นับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงด้วยเช่นกันค่ะวันนี้ปุณรดายาไทย มีเคล็ดลับง่ายๆ ในการเตรียมตัวตั้งครรภ์ สำหรับคู่สามีภรรยาที่อยากมีลูก โดยไม่ต้องเสียสตางค์มากมาย และยังตั้งครรถ์ได้เองแบบธรรมชาติ ลองทำตามดูนะคะ

 

 

1. หยุดสูบบุหรี่

 

ทั้งคุณสามีและภรรยา ควรหยุดสูบบุหรี่  เพราะบุหรี่ส่งผลให้มีลูกยาก เนื่องจากภาวะฮอร์โมนเพศผิดปกติ อสุจิไม่มีคุณภาพในฝ่ายชาย และลดการตกไข่ในฝ่ายหญิง และหากตั้งครรภ์แล้ว สารเคมีที่มีอยู่ในบุหรี่ยังส่งผลให้มีโอกาสแท้งได้ หรือ ส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด ทารกจะมีน้ำหนักตัวน้อยมากและขาดสารอาหาร ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

2. หยุดดื่มแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด

 

งานวิจัยพบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นประจำจะลดโอกาสการมีลูกได้มากถึง ร้อยละ 50 เนื่องจากแอลกอฮอล์จะดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของอสุจิ เช่น ธาตุสังกะสี ส่งผลให้อสุจิรูปร่างผิดปกติ ไม่แข็งแรง ไม่เคลื่อนไหว หรือ เคลื่อนไหวช้า และมีจำนวนลดลง

 

นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังสามารถทำให้มีโอกาสแท้งได้ หรือ ถ้าอยู่ในครรภ์จนครบตามกำหนด ทารกที่เกิดมาก็จะเติบโตช้า มีใบหน้าผิดปกติ เช่น ศรีษะเล็ก ตาเล็ก จมูกสั้น ไม่มีร่องระหว่างปากกับจมูก ริมฝีปากเล็กบาง มีปัญหาทางสมองด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ ดังนั้นทั้งคุณสามีและภรรยา ควรหยุดดื่มแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิดนะคะ

 

 

3. หยุดหรือลดกาแฟ หรือ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

 

ระดับกาเฟอีนที่เหมาะสมคือ น้อยกว่า 200-250 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ วันละไม่เกิน 1 แก้ว งานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟที่มีกาเฟอีนเกินวันละ 300 มิลลิกรัมจะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งได้ หากว่าที่คุณแม่ตั้งใจจะมีลูกอย่างจริงจัง แนะนำให้งดดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน ทั้งชา และกาแฟ ไปก่อนเลยนะคะ

 

 

4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (โดยเทียบจากค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชีย)

 

งานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก (ดัชนีมวลกาย 23-24.9) จะใช้เวลาถึง 2 เท่าของคนน้ำหนักปกติจึงจะตั้งครรภ์ได้ แนะนำให้ลดน้ำหนัก เพราะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คลอดยาก ตกเลือด และอาจมีปัญหาในการผ่าตัดและดมยาสลบ

 

ส่วนผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวน้อยไป หรือ ผอมไป (ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5) จะต้องใช้เวลาถึง 4 เท่า ของคนน้ำหนักปกติจึงตั้งครรภ์ได้ แนะนำให้เพิ่มน้ำหนัก เพราะเสี่ยงต่อการแท้ง โลหิตจาง ตกเลือดหลังคลอด ทารกตัวเล็ก และอาจคลอดก่อนกำหนด

 

ดังนั้น ว่าที่คุณแม่ที่เป็นชาวเอเชีย ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะมีค่าดัชนีมวลกาย อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 เพื่อให้ตั้งครรภ์ได้สำเร็จสมดังใจนะคะ

 

   มีลูกยากทำไงดี

 

5. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่

 

ว่าที่คุณแม่ที่ทานอาหารครบ 5 หมู่ จะทำให้มีลูกง่ายกว่าผู้ที่ขาดสารอาหาร หรือ รับประทานอาหารไม่สมดุล  แนะนำให้ทานปลาน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน แมกเคอเรล เทราต์ เฮร์ริง ซาร์ดีน ทูน่า หรือ ปลาไทย เช่น ปลาเก๋า ปลาโอ ปลาทู ปลาสำลี ปลาลัง ปลาอินทรี ปลาสวาย ปลาช่อน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อสะสมสารโอเมก้า 3 ไว้บำรุงสมองทารกในครรภ์

 

กรณีว่าที่คุณแม่ไม่สามารถทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ เช่น ทานมังสวิรัติ ควรทานอาหารเสริมกลุ่มวิตามิน และธาตุเหล็ก

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ของหมักดอง แอลกอฮอล์ อาหารรสจัด(หวาน เผ็ด เค็ม เปรี้ยว จัด) อาหารแปรรูป และอาหารที่เสี่ยงต่อการได้รับสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง และ สารกันบูด

 

 

6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

การออกกำลังกายช่วยให้หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ การคลอด และ ระยะหลังคลอด ช่วยให้ว่าที่คุณแม่สุขภาพแข็งแรง พร้อมช่วยลดความเครียด พร้อมควบคุมน้ำหนักไปในตัว

 

 

7. ก่อนทานยาชนิดใด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย

 

เนื่องจากยาบางชนิดห้ามรับประทานขณะที่เตรียมการตั้งครรภ์ เพราะอาจมีผลกระทบกับการเจริญเติบโตของเด็ก เช่น

ยาเตตร้าไซคลีน(Tetracycline), คลินดามัยซิน(Clindamycin), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin), ไตรเมโทพรีม(Trimethoprim) มีผลทำให้กระดูกของทารกไม่พัฒนาตามปกติ จึงไม่ควรซื้อยาทานเองเมื่อวางแผนที่จะตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมียาบางชนิดที่ทำให้ทารกพิการได้ เช่น วิตามินเอที่ใช้รักษาสิว เรตินอยด์ (isotretinoin), ยาละลายลิ่มเลือด ,ยากันชัก เป็นต้น ผลเสียของยาขนานนี้คือ ทำให้ทารกในครรภ์พิการ ดังนั้นจึงห้ามใช้ยาขนานนี้ในผู้หญิงที่กำลังเตรียมตัวตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ ควรหยุดยาให้ครบ 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์ จึงจะปลอดภัย

 

 

8. ดูแลสุขภาพหากมีโรคประจำตัว และตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์

 

โรคประจำตัวบางโรค เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์, โรคภูมิแพ้, หอบหืด, ลมชัก,  โรคเครียด, โรคซึมเศร้า, โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง เป็นต้น หากคุณสามีหรือภรรยามีโรคประจำตัวเหล่านี้ หรือมีประวัติเคยเป็น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และลูกน้อยที่กำลังจะเกิดมานะคะ

 

ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท ทั้งคุณสามีและภรรยาควรจูงมือกันไปตรวจสุขภาพทั้งคู่ เพื่อเช็คความพร้อมของสุขภาพกายและใจก่อนตั้งครรภ์ค่ะ

 

 

9. เสริมธาตุโฟเลต(Folate) หรือ กรดโฟลิก(Folic Acid)

 

ควรเสริมสารโฟเลต จำนวน 400-800 ไมโครกรัม ทุกวันต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์ เพราะเชื่อว่าสามารถลดการแท้ง ลดภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด และลดความเสี่ยงพิการทางประสาทและสมองของทารกได้ ธาตุโฟเลต พบมากในอาหารจำพวก ผลไม้สด ผักใบเขียว ไข่ไก่ ตับ กุ้ง หอย ปู ปลา นอกจากทานเป็นอาหารแล้ว ยังสามารถเสริมกรดโฟลิกในรูปแบบเม็ดได้ วันละ 400-500 ไมโครกรัม(ประมาณวันละ 1 เม็ด) ทานต่อเนื่องจนถึงตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน

 

 

10. ระมัดระวัง และ หลีกเลี่ยง การรับสารพิษ

 

สารพิษ สารเคมี มีผลกับทารก ไม่ว่าจะเป็น จากทางน้ำ อาหาร อากาศ การสัมผัส เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว สารปรอท สารหนู รวมถึงเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง

 

 

มีลูกยากทำไงดี

 

11. ผ่อนคลายความเครียด

 

ความเครียด ส่งผลให้ตั้งครรภ์ยากเพราะไข่ไม่ตก ไม่มีความต้องการทางเพศ ดังนั้นหากต้องการตั้งครรภ์ แนะนำให้หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกำลังกาย โยคะ  อ่านหนังสือที่ชอบ ฟังเพลง ฟังธรรมะ นวดตัวกดจุด ฝึกสมาธิ ดมกลิ่นอโรม่า

 

 

12. ช่วงอายุก็สำคัญ

 

การตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20-30 ปี มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปีค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง รกเกาะต่ำ ตกเลือด อันตรายถึงเด็กในครรภ์อาจเสียชีวิต พิการ หรือ ปัญญาอ่อน

 

อย่างไรก็ตาม ในบางคนที่อายุมากแล้วก็ยังสามารถมีลูกได้เช่นกัน เพียงหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และอยู่ในเกณฑ์ที่แพทย์แนะนำให้มีลูกได้

 

 

13. ดูแลสุขอนามัยปากและฟัน

 

ก่อนการตั้งครรภ์ควรพบทันตแพทย์ เพราะโรคเหงือกและฟัน สัมพันธ์กับการขาดสารอาหารของแม่ ส่งผลให้ลูกน้ำหนักน้อย และ การคลอดก่อนกำหนด

 

 

14. รับวัคซีน

 

เมื่อวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน และ โรคอีสุกอีใส (กรณีที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันทั้ง 2 โรคนี้) ควรฉีดก่อนตั้งครรภ์ 2-3 เดือน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี(กรณีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค) และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

 

 

หากคุณสามีและคุณภรรยา ทำตามได้ครบทั้ง 14 ข้อแล้ว รับรองได้เลยว่า โอกาสมีลูกเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ

 

ปุณรดายาไทย ยินดีให้คำปรึกษาแก่คู่สามีภรรยา ตั้งแต่เริ่มวางแผนเตรียมตัวตั้งครรภ์, การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์, การบำรุงน้ำนมให้มีคุณภาพ ไปจนถึง การดูแลตัวเองหลังคลอดลูก 

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ป.วริศรา อิการาชิ

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"การรักษาโรคที่สาเหตุ คือ การรักษาที่ยั่งยืน"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า