โรคเริมกับอาหารแสลง ความจริง หรือ แค่ความเชื่อ?

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

โรคเริมกับอาหารแสลง ความจริง หรือ แค่ความเชื่อ?

โรคเริมกับอาหารแสลง ความจริง หรือ แค่ความเชื่อ?


เมื่อมีอาการเริม หลายๆคนมักมีข้อสงสัยว่า "เริมเกิดจากสาเหตุใด" “เป็นเริมที่ปากห้ามกินอะไร” “อาหารอะไรที่แสลงกับโรคเริม” “ทานอะไรแล้วอาการเริมเป็นมากขึ้น” “ทานอาหารทะเลได้ไหม” เป็นคำถามที่ผู้ที่มีอาการเริมทุกคนคงมีความกังวลและมีข้อสงสัยว่าการทานอาหารนั้นสำคัญกับการรักษาโรคเริมอย่างไร แล้วถ้าเราทานอาหารแสลงเข้าไปจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราบ้าง อาหารแสลงจะเป็นเพียงแค่ความเชื่อที่สืบทอดมาจากคนโบราณ หรือเป็นเรื่องจริงที่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถพิสูจน์ได้ วันนี้ปุณรดายาไทยมีคำตอบมาไขข้อข้องใจทุกคำถามเลยค่ะ

 

อาหารแสลงตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยคืออะไร ?


อาหารแสลงตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย คืออาหารที่ทานแล้วส่งผลให้อาการเป็นมากขึ้น แสบหรือเจ็บมากขึ้นหายช้าลง และใช้เวลารักษานานมากขึ้น เนื่องจากอาหารแสลงส่วนใหญ่จะไปกระตุ้นการทำงานของธาตุไฟในร่างกาย เมื่อธาตุไฟทำงานหนัก ร่างกายเกิดความร้อนมากขึ้น ทำให้อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่กำเริบมากขึ้นไปด้วย

 

ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าอาหารแสลงจะมีสารแปลกปลอมหรือสารที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายจึงมีการตอบสนองต่ออาหารแสลง ทำให้การได้รับอาหารแสลงเป็นการกระตุ้นให้มีการอักเสบมากขึ้น การฟื้นฟูอาการต่างๆจึงทำได้ไม่ดี หากทานอาหารแสลงเป็นประจำและปริมาณมากในช่วงการรักษา ร่างกายจะไม่สามารถฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวเองจากอาการเจ็บป่วยได้จึงทำให้ร่างกายทรุดลงเรื่อยๆและแสดงออกมาเป็นอาการที่กำเริบมากขึ้น

 

6 กลุ่มอาหารแสลงกับโรคเริม


อาหารที่แสลงกับโรคเริมที่เด่นที่สุดคือ 

 

โรคเริมกับอาหารแสลง

 

1.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

ทางการแพทย์แผนไทยมองว่าเมื่อดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ จะทำให้ร่างกายต้องพยายามขับของเสียออกมากขึ้น ร่างกายทำงานหนัก ธาตุไฟถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ร่างกายจึงมีความร้อนสูง และมีการอักเสบบริเวณแผลมากขึ้นได้ด้วย และในทางแพทย์แผนปัจจุบันพบว่า แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้มีการขับธาตุสังกะสีออกจากร่างกายมากกว่าปกติ ส่งผลให้แผลหายช้าลงและไปลดการดูดซึมของสารอาหารต่างๆ ทั้งกรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ จำเป็นต่อการซ่อมแซมของบาดแผล

 

2.เครื่องดื่มชา กาแฟ 

ทางการแพทย์แผนไทยมองว่าการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นการกระตุ้นธาตุไฟภายในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีความร้อนและมีการอักเสบมากขึ้นโดยตรง ทำให้อาจมีตุ่มน้ำใส มีอาการแสบร้อนบริเวณตุ่มน้ำมากขึ้นได้ นอกจากนี้ในเครื่องดื่มชา กาแฟ จะมีสารคาเฟอีนที่จะไปทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง โดยปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไปจะทำให้จำนวนและการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงเรื่อยๆ และในที่สุดเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้ก็จะไม่สามารถกำจัดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในร่างกายของเราได้ 

 

3.อาหารหมักดอง 

เช่น ปลาร้า กะปิ ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว เต้าหู้ยี้ น้ำส้มสายชูหมัก นมเปรี้ยว ผักผลไม้ดอง เป็นต้น อาหารหมักดองต่างๆเหล่านี้จะไปกระตุ้นธาตุไฟ ทำให้ร่างกายต้องเพิ่มไฟย่อยในการย่อยอาหารดังกล่าวมากขึ้น ความร้อนในร่างกายเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้แผลหายช้าลง หรือมีแสบร้อนระคายเคืองบริเวณที่เป็นมากขึ้น ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน พบว่าในอาหารหมักดองมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง อาจพบสารกรดซาลิซิลิค ซึ่งเป็นสารกันรา และอาจพบยีสต์และเชื้อรา ซึ่งเกิดจากการอาหารที่มีความชื้นสูงได้ รวมถึงอาจมีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่สะอาดก็อาจจะมีจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายเติบโตขึ้นในอาหารได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายกับร่างกายได้

 

4.อาหารแปรรูป และอาหารกระป๋อง

อาหารแปรรูป เช่น แหนม ปลาเค็ม ไส้กรอก ลูกชิ้น เบคอน เนยเทียม ชีส เป็นต้น ทางแผนไทยมองว่าอาหารเหล่านี้จะทำให้ร่างกายมีการตอบสนองเหมือนกับการทานอาหารหมักดอง เพราะร่างกายต้องใช้ธาตุไฟในการย่อยอาหารเหล่านี้มากขึ้นเช่นกัน รวมถึงกรรมวิธีการผลิตในการผลิตอาหารแปรรูปและอาหารกระป๋องนั้น จะใช้สารเคมี หรือสารแปลกปลอม วัตถุสังเคราะห์ต่างๆ ในกระบวนการผลิต และมีปริมาณโซเดียมที่สูง เมื่อเราทานเข้าไปจะทำให้สารเหล่านี้ตกค้างในร่างกายเป็นเวลานาน เกิดการสะสมของเสีย ทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมแผลที่เป็นอยู่ได้ อาหารที่บรรจุในกระป๋องอลูมิเนียมมีสาร “บิสฟีนอล เอ (BPA)” ที่สามารถซึมเข้าไปในอาหารได้ ซึ่งสาร BPA นี้จะเป็นที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง และมีโอกาสที่จะเกิดการแพ้สารเคมีที่ใช้ในการหมักดองและการแปรรูปอาหารเหล่านี้ได้
 

5.อาหารรสจัด และของหวานต่างๆ 

ทั้งเผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด ขนมเบเกอรี่ และรวมถึงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ขนุน ทุเรียน ลำไย เป็นอาหารที่กระตุ้นธาตุไฟ ธาตุน้ำ และธาตุลมในร่างกาย จะส่งผลให้แผลมีการอักเสบ คัน ระคายเคือง หรือแผลมีหนองเพิ่มมากขึ้น และทำให้แผลหายช้าลง ดังนั้นในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ มีภูมิคุ้มกันต่ำจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารแสลงดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้อาการเริมกำเริบมากขึ้นอีก
ในทางแผนปัจจุบัน พบว่า ในพริกมีสารแคปไซซิน (Capsaicin) และในมะนาวที่มีสารให้ความเปรี้ยวทั้งหมดนั้น จะมีความเป็นกรดสูง หากได้รับในปริมาณมากก็จะไปทำลายเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกายได้ ทำให้แผลที่กำลังมีเนื้อเยื่ออ่อนขึ้นมาใหม่ เกิดอาการระคายเคือง อักเสบขึ้นมาได้อีก โดยที่การอักเสบนี้จะเกิดขึ้นนานถึง 3-4 วัน ส่วนรสเค็มจัดและหวานจัด หากร่างกายได้รับโซเดียมและน้ำตาลในปริมาณมาก ร่างกายจะขับออกได้ไม่หมดและถูกดูดซึมเข้าสู่เลือด ทำให้เลือดข้นหนืดและขัดขวางการไหลเวียนของสารอาหารที่ดี ที่จะนำไปใช้ซ่อมแซมแผล ทำให้แผลหายช้าลง หรือมีหนองเพิ่มมากขึ้นได้

 

6.อาหารทะเล

ทางแพทย์แผนไทยมองว่าอาการคัน และแสบบริเวณที่เป็น เกิดจากความผิดปกติของระบบน้ำเหลือง ซึ่งเกิดจากธาตุไฟ และธาตุลมที่ผิดปกติ โดยที่เมื่อเราทานอาหารทะเลที่มีความคาว มีเมือกมันสะสมอยู่มาก จะส่งผลให้ภายในร่างกายมีความร้อนเพิ่มมากขึ้น ต้องใช้ไฟในการย่อยอาหารมากขึ้น หากไฟย่อยและทำลายสารเหล่านี้ได้ไม่หมด ก็จะเกิดของเสียสะสมในเลือด ทำให้เลือดมีความข้นหนืดมากขึ้น ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกายได้ไม่ดี และเลือดก็นำพาของเสียเหล่านี้ไปยังส่วนที่เป็นบาดแผล ทำให้แผลอาจมีหนองออกมามากขึ้น แผลหายช้าลงได้  และจากธาตุไฟและธาตุลมที่ถูกกระตุ้นขึ้นมาจึงทำให้มีอาการระคายเคือง แสบบริเวณตุ่มและแผลเริมมากขึ้นได้

 

และจากงานวิจัยพบว่า ภายในเนื้อสัตว์ทะเลจะมีสารที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ง่าย ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับสัตว์เนื้อแดง คือสารที่เรียกว่า carnitine ที่มีอยู่จำนวนมาก สารเหล่านี้จะถูกแบคทีเรียภายในร่างกายของเราทำลาย และแยกออกเป็นสาร Trimethylamine N-oxide (TMAO) ส่งผลให้จำนวนสารที่ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายมีจำนวนมากขึ้น และจำนวนสารต่อต้านการอักเสบภายในร่างกายลดลงด้วย ดังนั้นการทานเนื้อแดงและอาหารทะเลในปริมาณมากจึงส่งผลโดยตรงให้ร่างกายเกิดการอักเสบหรือมีอาการกำเริบขึ้นมาเพิ่มมากขึ้นได้ มีอาการคัน แสบบริเวณตุ่มและแผล 

 

 

นอกจากอาหารทั้ง 6 กลุ่มนี้ ทางแผนไทยยังพบว่าอาหารต่างๆที่มีไขมันสะสมมาก เช่น เนื้อวัว เนื้อเป็ด ของทอด อาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของกะทิหรือมะพร้าว อาหารที่มีสารพิษหรือแปลกปลอมต่างๆ ก็จะทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนองตามนี้ได้เหมือนกัน

 

โรคเริมกับอาหารแสลง 2

 

จากเหตุผลทั้งหมดนี้อาหารแสลงที่ศาสตร์การแพทย์แผนไทยแนะนำให้หลีกเลี่ยง จึงไม่ใช่เพียงแค่ความเชื่อ แต่เป็นอาหารที่สามารถกระตุ้นการอักเสบขึ้นมาได้จริงซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีอาการเริมแนะนำให้เลี่ยงการทานอาหารแสลง และหันมาใส่ใจในเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เพื่อการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน นอกจากจะหายจากอาการที่เป็นแล้ว เรายังมีสุขภาพที่ดีจากภายในอีกด้วยค่ะ

 

 

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า