สมุนไพรรักษาริดสีดวงจมูก

นานาสมุนไพร

สมุนไพรรักษาริดสีดวงจมูก

การรักษาริดสีดวงจมูกด้วยสมุนไพร เป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางการแพทย์แผนไทยมากที่สุด โดยหลักสำคัญคือ การเลือกใช้สมุนไพรมารักษาที่ต้นเหตุของโรค ภายใต้หลักการรักษาความสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย

 

หลักการรักษาริดสีดวงจมูก ในทางการแพทย์แผนไทย


1. จ่ายยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน

ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหย เพื่อช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น บรรเทาอาการหวัด คัดแน่นจมูก

 

 

2. จ่ายยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์เมาเบื่อหรือรสเปรี้ยว

เพื่อช่วยกัดฟอกเสมหะ หนอง ฟอกโลหิต ลดอาการบวมอักเสบของริดสีดวงจมูก

 

 

3. การอบสมุนไพร หรือการสูดไอน้ำร้อน

เพื่อรักษาอาการคัดจมูก  น้ำมูกไหล อาการปวดตื้อๆ ที่ศีรษะ ทำให้จมูกโล่ง หายใจได้สะดวกขึ้น

 

 

4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสาเหตุอาการไซนัสอักเสบ

เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยการลดปัจจัยที่ทำให้อาการกำเริบและดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง เช่น หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่มีฝุ่นควันหรือสารเคมี หมั่นการออกกำลังกาย ล้างจมูกเป็นประจำทุกวัน เช้าเย็น


สมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้รักษาริดสีดวงจมูก


1. ข่อย

เป็นสมุนไพรที่สามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างหลากหลาย แต่สำหรับการใช้รักษาริดสีดวงจมูก ให้นำเปลือกต้นข่อย มวนสูบแก้โรคริดสีดวงจมูกได้

 

 

2. ขลู่

นำเปลือกต้นขลู่มาต้มน้ำ สูดดมไอร้อนของต้นขลู่ สามารถช่วยรักษาริดสีดวงจมูกได้ การสูดไอน้ำร้อน ช่วยรักษาอาการคัดจมูกที่เกิดจากเชื้อไวรัส, ไข้หวัด, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และชนิดไม่แพ้ โรคไซนัสอักเสบ และผู้ป่วยหลังผ่าตัดไซนัส 

 

 

3. ดอกดีปลีแห้ง

นำมาต้มดื่มเช้า และเย็นก่อนอาหาร จะช่วยให้อาการของโรคภูมิแพ้ มีน้ำมูกไหลตลอดเวลาและเสมหะเยอะค่อยๆ ดีขึ้น

 

สมุนไพรรักษาริดสีดวงจมูก

 

4. พริกไทย

จากงานวิจัยพบว่า สาร capsaicin ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในพริกไทย มีส่วนทำให้เนื้อเยื่อบุจมูกลดลงได้ และช่วยให้น้ำมูกเหลวขึ้นและสามารถระบายออกมาได้

 

 

นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยรักษาริดสีดวงจมูกได้ แต่เราควรตระหนักไว้เสมอว่า "สมุนไพรทุกชนิดเปรียบเสมือนดาบ 2 คม มีทั้งคุณและโทษ แนะนำให้ศึกษาอย่างละเอียดก่อนรับประทาน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรเพื่อรับคำแนะนำที่ดีที่สุด"  

 

 

อีกประการหนึ่ง ที่ควรตระหนักไว้เช่นกันคือการทานยาสมุนไพรให้ได้ผลการรักษาที่ดีนั้น ตามหลักการแพทย์แผนไทยท่านกล่าวไว้ว่าจะต้องเป็นยาตำรับ (คือยาสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป บางตำรับมีมากถึง 30 ชนิด ยิ่งมากยิ่งดี เพื่อให้ตัวช่วยเสริมฤทธิ์กันรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ)

 


ตำรับยาสมุนไพรรักษาริดสีดวงจมูก ของปุณรดา ยาไทย


สมุนไพรรักษาริดสีดวงจมูก

 

ชุด N-SET สมุนไพรรักษาริดสีดวงจมูก ส่วนประกอบ :


หัวอุตพิต,หัวดองดึง,หัวกระดาดขาว,หัวกระดาดแดง,หัวบุกรอ,หัวกลอย,กระวาน,ขิงแห้ง,พริกไทย, เนื้อลูกสมอไทย,เนื้อลูกสมอพิเภก,เนื้อลูกมะขามป้อม,รากชะเอมเทศ,เนื้อบ๊วย,ผลมะแว้งเครือ,เหง้าว่านน้ำ,มะนาวดองแห้ง,ดอกกานพลู,เปลือกอบเชย,ดอกเก๊กฮวย,ผิวส้มจีน,ใบเสนียด และตัวยาสำคัญอื่นๆ 

 

 

ชุด N-SET (Sinusitis Relief) สมุนไพรรักษาริดสีดวงจมูก สรรพคุณ :


1. ช่วยฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ ทั้งภายในและภายนอก พร้อมกับเคลียร์ลำคอให้สะอาด ลดการสะสมของสิ่งสกปรก หนอง แบคทีเรีย ที่ไหลมาจากโพรงไซนัส และโพรงจมูก


2. ลดอาการบวม ของ ริดสีดวงจมูก ทำให้ขนาดของริดสีดวงจมูกเล็กลง


3.  รักษาอาการ ปวด เจ็บ อักเสบ และ ฆ่าเชื้อ ที่เกิดจาก ไซนัสอักเสบ


4.  ปรับธาตุลมให้ทำงานเป็นปกติ แก้อาการ คัดจมูก จาม ไอ


5.  ขับเสมหะ และ เสลดในโพรงจมูก ลดการอุดตันในโพรงจมูก หรือ โพรงไซนัส


6.  แก้อาการ จุก แน่น ในจมูก


7. ช่วยให้ ริดสีดวงจมูก ฝ่อ แห้ง และยุบไปตามลำดับ


8.  ช่วยขยายโพรงจมูกที่อุดตันให้กว้างขึ้น ทำให้จมูกโล่ง รู้สึกผ่อนคลาย หลับสบายขึ้น


9. ช่วยรักษาหลอดลม หลอดอาหาร ช่วยขับเสมหะ ลดอาการเสียงแหบ

 

 

*** ราคาปกติ 1,900 บาท***

สั่งซื้อวันนี้ รับโปรโมชั่นสุดพิเศษ เหลือ

ชุดละ 1,500 .-

 

 พร้อมส่ง EMS ฟรี ทั่วประเทศไทย!!!

 

สั่งซื้อสินค้าโปรโมชั่นพิเศษติดต่อ 02-1147027

 

 

วิธีดูแลสุขภาพ


1. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้ที่กำลังป่วยด้วยโรคไข้หวัด ป้องกันตนเองจากไข้หวัด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยไซนัสอักเสบ ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สร้างภูมิต้านทานโรคที่ดี รักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

 

 

2. หลีกเลี่ยงฝุ่นควันและมลภาวะ เมื่อต้องออกนอกบ้านหรือเดินทางในพื้นที่เสี่ยงต่อมลภาวะ เช่น ฝุ่นละออง, สารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง, ควันบุรี่, ทินเนอร์ผสมสี เป็นต้น ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก เมื่ออยู่ในบ้านก็ควรทำความสะอาดกำจัดฝุ่นและขนสัตว์อยู่เสมอ หากป่วยเป็นภูมิแพ้ ก็ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้หรือสัมผัสสารที่แพ้

 

 

3. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำทุกวัน น้ำเกลือจะชะล้างหนอง และสิ่งสกปรกที่ตกค้างภายในโพรงจมูกให้ไหลออกมา

 

 

4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เช่น พวกพืชผักผลไม้และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ส้ม องุ่น ถั่ว ผักคะน้า หัวมัน ธัญพืช เนื้อปลา เป็นต้น

 

 

5. หลีกเลี่ยงการทานอาหารแสลงหรืออาหารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ เช่นคาร์โบไฮเดรตขัดสี ขนมปังขาว โดนัท เป็นต้น อาหารทอดอาหารมัน เครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว แฮม สเต็ก เนื้อแปรรูปเช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น อาหารไขมันสูงจำพวกเนยเทียม มันหมู เป็นต้น

 

 

6. ไม่สูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้คนที่กำลังสูบบุหรี่ เพราะควันและสารพิษจากบุหรี่จะทำให้เกิดการระคายเคืองในเนื้อเยื่อจมูกและไซนัส ทำให้เกิดการอักเสบตามมา

 

 

7. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เพราะจะทำให้ไซนัสเกิดการบวมมากขึ้น นอกจากนี้ แอลกอฮอล์และคาเฟอีนยังทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำอีกด้วย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเหล่านี้ในขณะที่มีอาการ

 

 

8. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ ไม่ควรอดนอน การนอนหลับอย่างเพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายในการฟื้นฟูตัวเอง พยายามนอนหงายเมื่อคุณมีอาการคัดจมูก แต่หากคุณชอบนอนตะแคง ให้นอนตะแคงด้านที่ทำให้คุณรู้สึกคัดจมูกน้อยที่สุด หากเป็นไปได้ ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

9. ดื่มน้ำตามสมควรในผู้ใหญ่ประมาณวันละ 8-10 แก้ว การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยละลายน้ำมูกที่ค้างอยู่ข้างในและลดอาการปวดหรือการอุดตันในโพรงจมูกได้ และยังสามารถบรรเทาอาการเจ็บคอได้อีกด้วย

 

วิธีดูแลสุขภาพสำหรับริดสีดวงจมูก

 

10. การใช้แผ่นประคบร้อน (Warm Pack) ประคบตามจุดต่าง ๆ ที่มีอาการปวดบนใบหน้า ช่วยบรรเทาอาการปวดและทำให้มูกเหลวที่อักเสบไหลออกมามากขึ้น

 

 

11. หลีกเลี่ยงการกระทบอากาศเย็นจัดหรืออากาศที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

 

 

12. รักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดีอยู่เสมอ

 

 

13. ไม่ควรแคะโพรงจมูกหรือสั่งน้ำมูกแรง ๆ

 

 

14. หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเครื่องบินในขณะที่เป็นหวัด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบกำเริบ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้รับประทานยาแก้คัดจมูก เช่น ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) ครั้งละ 1-2 เม็ดก่อนเดินทาง และรับประทานซ้ำทุก ๆ 6 ชั่วโมงในระหว่างการเดินทางระยะไกล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอุดกั้นของช่องระบายและรูเปิดไซนัส

 

 

15. หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำนาน ๆ เนื่องจากคลอรีนในสระอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกและโพรงไซนัสได้

 

 

16. การใช้ยาทุกชนิดในการรักษาไซนัสอักเสบ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะควรได้รับจากแพทย์เท่านั้น เพื่อให้ได้ชนิดยา ปริมาณยา วิธีใช้ และระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสมกับโรค เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา

 

 

17. เพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อป้องกันการอุดตันและการอักเสบของทางเดินอากาศในจมูก

 

 

18. หากเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง หรือโรคหอบหืดควรดูแลตัวเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

อ้างอิง
สุธี นวราช. ข่อย. ใน สุรีรัตน์ เซ็นหลวง. สมุนไพรใกล้ตัว สยบโรคร้าย, หน้า125. กรุงเทพฯ: ไพลิน, 2556.
 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ป.วริศรา อิการาชิ

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"การรักษาโรคที่สาเหตุ คือ การรักษาที่ยั่งยืน"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า