วิธีแก้ท้องผูกมาก

ท้องผูก (Constipation)


หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ในคนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้งถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นถ้าผู้ใดถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะถือว่าผิดปกติ อาการท้องผูกอาจสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลําบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานมากกว่าปกติหรือมีอาการ เจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง

 

อาการของคนท้องผูก


1. ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น

2. อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ

3. รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด เนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก

4. ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากกว่าปกติ

5. ใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ อาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย

6. ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง

 

ผู้ที่มีอาการในข้างต้น 2-3 ข้อ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป อาการท้องผูกธรรมดาหรือที่เรียกว่าท้องผูกฉับพลันอาจพัฒนากลายเป็นท้องผูกเรื้อรังที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากพบความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยหาสาเหตุไม่ได้ แม้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตแล้ว แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดลง ถ่ายมีเลือดปน ควรไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่อาจซ่อนความผิดปกติไว้

 

วิธีแก้อาการท้องผูก ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน


1.การรักษาด้วยการใช้ยา

การรับประทานยาจะช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระทำได้ง่ายขึ้น โดยตัวยาสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด และแต่ละชนิดออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารที่แตกต่างกัน เช่น

1.1 เส้นใยหรือไฟเบอร์ (Fiber Supplements)

จะช่วยเพิ่มปริมาตรในอุจจาระให้มีมากขึ้นและบางตัวมีสารที่มีคุณสมบัติในการดูดน้ำได้ดี อุจจาระจึงนิ่มและถ่ายออกได้ง่าย เช่น ยาไซเลียม (Psyllium) ยาพอลิคาร์บอฟิล (Calcium Polycarbophil) ยาเมทิล เซลลูโลส (Methylcellulose Fiber)

 

1.2 ยาระบายกลุ่มกระตุ้น (Stimulants)

จะช่วยกระตุ้นจังหวะการบีบตัวของลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น เช่น ยาดัลโคแลค (Dulcolax) ยาบิซาโคดิล (Bisacodyl) ยาเซนโนไซด์ (Sennosides)

 

1.3 ยาระบายกลุ่มออสโมซิส (Osmotic Laxatives)

จะออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้อุจจาระไม่แห้งและแข็งจนถ่ายออกลำบาก เช่น ยาแมกนิเซียม ไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide)  ยาแลคตูโลส (Lactulose) ยาแมกนีเซียม ซิเตรท (Magnesium Citrate) ยาโพลีเอทิลีน ไกลคอล ( Polyethylene Glycol: PEG)

 

1.4 ยาช่วยหล่อลื่นอุจจาระ (Lubricant)

เป็นยาที่ช่วยเพิ่มความลื่นให้กับลำไส้ อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น เช่น มิเนอรอล ออยด์ (Mineral Oils)

 

1.5 ยาที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว (Stool Softeners)

มีฤทธิ์ช่วยให้อุจจาระนิ่มจนง่ายต่อการเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ เช่น ยาในกลุ่มด๊อกคิวเซท (Docusate Sodium/Docusate Calcium)

 

1.6 ยาเหน็บและการสวนอุจจาระ (Suppositories/Enemas)

ยาเหน็บช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลงและเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ในการขับอุจจาระมากขึ้น เช่น โซเดียม ฟอสเฟต (Sodium Phosphate) แต่ในกรณีที่อุจจาระแข็งมากอาจแนะนำให้มีการสวนอุจจาระที่อุดตันออกก่อน อาจเป็นการสวนด้วยน้ำเปล่า น้ำสบู่ หรือชุดสวนอุจจาระสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของยาบิซาโคดิล (Bisacodyl) หรือกลีเซอรีน (Glycerin) จากนั้นจึงค่อยรักษาด้วยยาในกลุ่มรับประทานยาต่อ

 

2. การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือที่เรียกว่า ไบโอฟีดแบ็ก (Biofeedback Training)

เป็นการฝึกควบคุมการทำงานและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยจะมีการสอดอุปกรณ์เข้าไปทางทวารหนัก จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะบอกให้ผู้ป่วยลองขมิบหรือคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งเครื่องมือที่ถูกสอดเข้าไปจะบันทึกและประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ

 

3. การผ่าตัด

มักใช้ในกรณีที่การรักษาอื่น ๆ ในข้างต้นไม่ได้ผลดีและอาการท้องผูกรุนแรง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการลำไส้เกิดการอุดตัน ตีบแคบ หรือหย่อนออกมา โดยแพทย์อาจจะมีการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ในบางช่วงออก

 

 

วิธีแก้อาการท้องผูก ในทางการแพทย์แผนไทย


1. จ่ายยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนสุขุม ​ไม่ควรจ่ายรสร้อนมากเกินไป

เพื่อช่วยกระจายลมไม่ให้เกิดการคั่งอั้นของลมในท้อง ทำให้อุจจาระถูกขับออกมาได้ดีขึ้น การเบ่งถ่ายลดลง

 

2. จ่ายยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการระบาย หรือช่วยในการขับถ่าย สำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูกเรื้อรัง

เพื่อเสริมกำลังของธาตุน้ำ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ช่วยกัดเอาอุจจาระที่ติดคล้ายตะกรันในลำไส้

 

3. การทำหัตถการ เช่น การนวดแบบราชสำนัก การประคบสมุนไพร

ช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดี อาจจะช่วยกระตุ้นการขับถ่าย โดยเฉพาะการกดนวดบริเวณหลังส่วนล่างและท้อง

 

4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสาเหตุอาการท้องผูก

เพื่อฝึกทำให้ร่างกายและระบบลำไส้กลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้ยาในการรักษา ส่งเสริมให้ระบบต่าง ๆ ทำงานอย่างสมดุล

 

สมุนไพรแก้ท้องผูก ในทางการแพทย์แผนไทย


1. ​มะขามแขก

สรรพคุณ:  ยาระบาย แก้อาการท้องผูก

วิธีใช้: โดยใช้ใบแห้ง ๑ – ๒ กำมือครึ่ง (๓ – ๑๐ กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก ๔ – ๕ ฝักต้มกับน้ำรับประทาน บางคนกินแล้วอาจจะเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย ( เช่น กระวาน กานพูล ) 

 

2. ชุมเห็ดเทศ

สรรพคุณ: เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก

วิธีใช้: ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 1-3 ช่อดอก (หรือแล้วแต่คนที่ธาตุเบาธาตุหนัก ช่อดอกใหญ่หรือเล็ก) ต้มรับประทานจิ้มกับน้ำพริก หรือ ใช้ใบสด 8-12 ใบ ล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง หรือปิ้งไฟให้เหลือง หั่น ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มให้หมด

ใช้ใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก

 

3. ใบขี้เหล็กและแก่นขี้เหล็ก

สรรพคุณ: เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก

วิธีใช้: ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3-4 ชิ้น ใช้ใบอ่อนหรือแก่ต้มกับน้ำ 1-1½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มเมื่อตื่นนอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว

 

นอกจากนี้ยังมี สมุนไพรแก้ท้องผูก อื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยบรรเทาอาการได้ แต่เราควรตระหนักไว้เสมอว่า "สมุนไพรทุกชนิดเปรียบเสมือนดาบ 2 คม มีทั้งคุณและโทษ แนะนำให้ศึกษาอย่างละเอียดก่อนรับประทาน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรเพื่อรับคำแนะนำที่ดีที่สุดค่ะ"  

 

อีกประการหนึ่ง ที่ควรตระหนักไว้เช่นกันคือการทานยาสมุนไพรให้ได้ผลการรักษาที่ดีนั้น ตามหลักการแพทย์แผนไทยท่านกล่าวไว้ว่าจะต้องเป็นยาตำรับ (คือยาสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป บางตำรับมีมากถึง 30 ชนิด ยิ่งมากยิ่งดี เพื่อให้ตัวช่วยเสริมฤทธิ์กันรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ)

 

ตำรับยาสมุนไพรแก้อาการท้องผูก ของปุณรดา ยาไทย 


 

สมุนไพรแก้ท้องผูก ปุณรดายาไทย

 

CLEAR สมุนไพรแก้อาการท้องผูก ส่วนประกอบ :


1. พริกไทยล่อน ที่มีรสเผ็ดร้อน แก้ลมอัมพฤกษ์ ลดลมในท้อง บำรุงธาตุ


2. ยาดำ ซึ่งช่วยการขับถ่าย ถ่ายลมเบื้องสูง ลงสู่เบื้องต่ำ

 

นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่ทำหน้าที่ช่วยในด้านต่างๆ อีก เช่น


3. กลุ่มบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงลม ได้แก่ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน รากเจตมูลเพลิง


4. กลุ่มแก้เถาดาน เช่น หัวบุก หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง


5. กลุ่มขับลม ได้แก่ ขิง เทียนดำ เทียนขาว ผักแพรวแดง และสมุนไพรอื่นๆ อย่าง


6. กานพลู แก้เสมหะเหนียว ช่วยกระจายเสมหะ


7. เนื้อลูกมะขามป้อม ระบายท้อง แก้ลม บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต


8. หัวดองดึง ขับผายลม แก้ปวดข้อ


9. โกฐกระดูก แก้ลมในกองเสมหะ


10. โกฐน้ำเต้า แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ระบายท้อง


11. ชะเอมเทศ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้น้ำลายเหนียว


12. เนื้อลูกสมอไทย แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้โลหิตในอุทร แก้น้ำดี รู้ถ่ายใน


13. มหาหิงคุ์ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้


14. เกล็ดการบูร แก้ธาตุพิการ แก้ปวดตามเส้น ขับเสมหะและลม


15. รงทองสะตุ ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต

 

CLEAR สมุนไพรแก้อาการท้องผูก สรรพคุณ :


1. แก้อาการท้องผูก ขับถ่ายยาก ถ่ายแข็ง


2. ช่วยในการขับเถาดาน พรรดึก ที่สะสมอยู่บริเวณผนังลำไส้


3. ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด บวม


4. แก้กษัย ลดอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว ตามเส้น


5. ช่วยในการฟื้นฟูระบบขับถ่าย ปรับการขับถ่ายให้ดีขึ้นจนกลับสู่ภาวะปกติ

 

วิธีดูแลสุขภาพป้องกันอาการท้องผูก


1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ เพื่อช่วยให้ใยอาหารดูดซับน้ำได้ดี ทำให้อุจจาระพองตัว นุ่ม และเบ่งออกได้ง่าย รวมไปถึงลดการอุดตันของลำไส้ ป้องกันอาการท้องอืด จากการรับประทานใยอาหารมากเกินไป และป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำ ลำไส้จะมีการดูดน้ำจากอุจจาระที่ตกค้างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายออกลำบาก

 

2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมมากเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น

 

3. การรับประทานอาหารควรเลือกอาหารประเภทที่มีกากใยมากขึ้น โดยเฉพาะผักและผลไม้ โดยค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการรับประทานขึ้นทีละน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องอืด

 

4. ในบางรายอาจเกิดปัญหาท้องผูกจากการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม จึงควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณน้อย

 

5. ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 30 นาทีต่อวัน หรือพยายามเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เพื่อช่วยเพิ่มการบีบตัวของลำไส้มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อและระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติมากขึ้น

 

6. ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้ตรงเวลา วิถีที่เร่งรีบของสภาพสังคมก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อยควรเริ่มปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่กลั้นอุจจาระเมื่อเกิดอาการปวดโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ ท่านั่งในการถ่ายอุจจาระก็สำคัญ การนั่งถ่ายบนโถส้วมชักโครกควรโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย อาจมีเก้าอี้ตัวเล็กรองบริเวณขา เพื่อชันเข่าขึ้นมาเล็กน้อย ทำให้หัวเข่าอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าสะโพก ซึ่งเป็นท่าที่ช่วยให้สะดวกต่อการขับถ่าย

 

7. ไม่อั้นอุจจาระเมื่อเกิดอาการปวดโดยไม่จำเป็น หรือถ่ายด้วยความรีบเร่ง

 

8. เสริมการทำงานของลำไส้ด้วยโปรไบโอติกส์ การรับประทานโปรไบโอติกส์ที่พบในอาหารต่าง ๆ หรือผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจเป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกให้ดีขึ้นได้ โปรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ภายในลำไส้ของคนเราและไม่ก่อโรคให้ร่างกาย เช่น Lactobacillus Bifidobacterium หรือ Sacchromyces Boulardi และยังพบอยู่ในอาหารบางประเภท โดยเฉพาะโยเกิร์ต นมเปรี้ยว ซึ่งมีการศึกษาพบว่าแบคทีเรียเหล่านี้ช่วยสร้างความสมดุลของสภาวะในระบบการย่อยอาหาร โดยไปลดแบคทีเรียชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายไม่ให้มีมากเกินไป และช่วยปรับการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ

 

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า