ปวดท้องประจำเดือน สัญญาณบอกโรคอะไรบ้าง

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

ปวดท้องประจำเดือน สัญญาณบอกโรคอะไรบ้าง

อาการปวดท้องประจำเดือนเป็นสิ่งที่หลายคนเคยเจอกันใช่ไหมคะ บางคนอาจมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย แต่บางคนมีอาการปวดมากจนกระทบกับชีวิตประจำวัน อาจจำเป็นต้องหยุดงาน หยุดเรียน

 

ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพกายเเละสุขภาพใจเลยใช่ไหมคะ อาการปวดประจำเดือนอาจบ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ ได้ วันนี้หมอเลยจะขออธิบายสาเหตุการเกิดอาการปวดประจำเดือน รวมไปถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง  ๆ มาให้ทุกคนทราบกันค่ะ

 

การปวดท้องประจำเดือน จะมีอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย มักจะเกิดก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน ลักษณะการปวดจะแตกต่างกันไป เช่น ปวดเป็นบางช่วง ปวดร้าวไปถึงหลัง หรือบางคนอาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว 

 

ประเภทของการปวดท้องประจำเดือน แบ่งออกได้ ดังนี้


• การปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ เป็นการปวดท้องประจำเดือนที่เมื่อตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน ซึ่งในแต่ละคนจะมีระดับความปวดจะแตกต่างกันออกไป มักพบในผู้ที่อายุยังน้อย

 

• การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ คือ การปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากโรคที่เราพบบ่อย ๆมักเกิดในผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป อาจเกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูก รังไข่ หรือส่วนอื่น ๆ เช่นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ เนื้องอกมดลูก ปากมดลูกตีบ ซึ่งมักทำให้ปวดท้องน้อยรุนแรงประจำเดือนมาผิดปกติ เมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยาก

 

อาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิมักเกิดตามกลไกการปวดประจำเดือนแบบปกติ ซึ่งระดับความปวดในแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ต่างจากการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิที่เกิดได้จากโรคต่าง ๆ ก่อนไปรู้จักโรคที่ทำให้ปวดประจำเดือนมารู้กลไกของการปวดประจำเดือนกันก่อนค่ะ


 

กลไกการเกิดอาการปวดประจำเดือน


การปวดประจำเดือน เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสทาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อเกิดการอักเสบ เพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ เรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการอักเสบ เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารนี้มากเกินไป จึงทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือน

 

นอกจากการปวดประจำเดือนจากกระบวนการอักเสบแล้ว การปวดประจำเดือนอาจเกิดจากถุงน้ำในรังไข่ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงได้ ต่อไปหมอจะอธิบายโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่ออาการปวดท้องประจำเดือนให้ทุกคนรู้จัก และสังเกตอาการเบื้องต้นไปพร้อมกันนะคะ 

 

โรคที่ทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากผิดปกติ มีดังนี้ 
 

1. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) อาจเรียกว่าช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น อุ้งเชิงกราน ลำไส้ ช่องท้อง พบมากในรังไข่ เนื่องจากประจำเดือนบางส่วนไม่ไหลออกมาตามปกติ คือ ไหลย้อนกลับขึ้นไปบริเวณต่าง ๆ เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกไปอยู่ที่รังไข่และปล่อยเลือดออกมาแต่รังไข่ไม่มีทางออกของเลือด จึงเกิดการสะสมของเลือดขึ้นทีละนิดกลายเป็นถุงน้ำจะมีการปวดประจำเดือนเรื้อรัง ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงจนเป็นลม มีอาการลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องเสีย ปวดมากเวลาขับถ่าย อุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด อีกทั้งยังอาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากด้วย

 

2. ภาวะถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian Cyst) ภาวะที่มีถุงน้ำเกิดขึ้นภายในรังไข่ หรือบริเวณรอบรังไข่ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของรังไข่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตกไข่ หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้โดยที่ไม่กระทบกับร่างกาย อาการที่พบได้ คือ ประจำเดือนมามากหรือน้อยกว่าปกติ ประจำเดือนไม่มา ปวดท้องน้อย คลำพบก้อนที่ท้องน้อย อิ่มเร็ว ท้องอืดง่าย สิวขึ้น ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น โรคนี้รักษาได้ด้วยการผ่าตัด เเละการฟื้นตัวเร็ว

 

3. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis) สาเหตุเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตเป็นผนังกล้ามเนื้อด้านนอกของมดลูก เมื่อส่วนเกินนี้เจริญจะทำให้มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีเลือดออกมากกว่าปกติในช่วงมีประจำเดือน อีกทั้งการที่มีก้อนมาขัดขวางการบีบตัวของมดลูก จะทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้น

 

4. ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease: PID) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุ ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์เพศหญิง และเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ส่งผลให้มีอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน มีไข้ หนาวสั่นคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ปวดแสบขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะขัด หากไม่รักษาให้หายขาด อาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก

 

5. ภาวะปากมดลูกตีบ (Cervical Stenosis) เป็นความผิดปกติของระบบสืบพันธ์ุ ซึ่งอาจเป็นแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากปากมดลูกอักเสบ ทำให้เกิดพังผืดบริเวณปากมดลูก ส่งผลให้ปากมดลูกตีบแคบ โดยภาวะปากมดลูกตีบจะทำให้ของเหลวค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก ประจำเดือนจะมาน้อยกว่าปกติ และมีอาการปวดท้องมาก เนื่องจากเลือดไหลออกมาไม่สะดวก ยิ่งถ้าหากปากมดลูกปิดสนิท จะทำให้ไม่มีประจำเดือนเลย เราสามารถสังเกตอาการของโรคได้ เช่น คลำเจอก้อนที่ท้องน้อย มีไข้หนาวสั่น เนื่องจากเกิดการอักเสบในโพรงมดลูก 

 

6. พังผืดอุ้งเชิงกราน (Pelvic Adhesion) คือ การเกิดพังผืดบริเวณอวัยวะในกระดูกอุ้งเชิงกราน โดยมักพบมากที่ท่อนำไข่ และปีกมดลูก สาเหตุเกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือจากการผ่าตัดที่ทำให้เกิดแผลบริเวณมดลูกและผนังหน้าท้อง สามารถสังเกตอาการได้ คือ ปวดบริเวณท้องน้อย ร้าวไปที่ขา อาจจะ 1 ข้าง หรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ เมื่อพังผืดมากขึ้นจะรั้งมดลูกขณะที่บีบตัวช่วงเป็นประจำเดือน ส่งผลให้ปวดประจำเดือนมากขึ้นได้

 

7. ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ ภาวะที่ตัวอ่อนฝังอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก มักเกิดที่ท่อนำไข่ ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเป็นทารกได้ อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูก สามารถสังเกตได้ คือ ปวดท้องน้อยมาก ร้าวไปถึงทวารหนัก ต้นขา มีเลือดออกจากช่องคลอด หน้ามืด เป็นลม เป็นต้น

 

8. มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เอช พี วี ( HPV : Human Papilloma Virus ) ทำให้มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมานาน และมามากผิดปกติ ตกขาวผิดปกติ เช่น มีกลิ่น ตกขาวปริมาณมาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาการปวดท้องน้อย และมีอาการเจ็บหลังจากมีเพศสัมพันธ์ สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกอาจมาจากการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย หรือเกิดจากการสูบบุหรี่ มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

จากโรคต่าง ๆ ที่สามารถเกิดได้หากมีอาการปวดประจำเดือนอาจทำให้หลาย ๆ คนกังวล ซึ่งจริง ๆ เเล้วการปวดประจำเดือนที่เกิดขึ้นเป็นประจำ สม่ำเสมอเป็นอาการที่ไม่อันตรายค่ะ หมอแนะนำให้สังเกตตนเองว่าอาการปวดประจำเดือนนั้นผิดปกติ ควรไปพบแพทย์หรือไม่ ซึ่งสังเกตได้ ดังนี้

 

เช็คลิสต์หากมีอาการผิดปกติตามนี้ควรรีบพบแพทย์ !


1.มีอาการปวดประจำเดือน รับประทานยาแล้วแต่ยังไม่หายปวด

2. ปวดท้องแม้ตอนไม่มีประจำเดือน ปวดท้องช่วงก่อน-หลังประจำเดือนมา หรือปวดท้องแบบเดิมเกือบตลอดทั้งเดือน

3. ปวดท้องประจำเดือนรุนแรงมากผิดปกติ ปวดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดจนไม่สามารถทำอะไรได้

4. ปวดท้องจนมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดจนเป็นไข้สูง อาเจียน เป็นลม วิงเวียนศีรษะ 

5. ปวดท้องประจำเดือนเเละมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดขา ปวดทวารหนัก ท้องเสีย ท้องอืดรุนเเรง ตกขาวมีกลิ่น อาการคันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ

6. มีอายุมากกว่า 25 ปี และรู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก

7. มีอาการปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์

    

หากใครที่มีอาการตรงตาม 1 ใน 7 ข้อนี้ หมอแนะนำให้รีบตรวจเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการเป็นอาการโรคที่รุนแรงในอนาคตนะคะ สำหรับผู้มีอาการปวดประจำเดือนที่เป็นประจำ สม่ำเสมอ แต่ไม่ได้มีความเสี่ยงตามอาการข้างต้น หมอแนะนำให้ดูแลตัวเองตามคำแนะนำต่อไปนี้ได้เลยค่ะ

 

วิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่มีอาการปวดท้องประจำเดือน


1.ประคบร้อนบริเวณท้องน้อยและหลัง ความร้อนจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ ลูกประคบสมุนไพร กระเป๋าน้ำร้อนหรือ hot pad ได้

2. อาบน้ำอุ่น หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเย็น เนื่องจากความเย็นจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อในร่างกายหดตัว รวมถึงกล้ามเนื้อมดลูก จะทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงที่มีประจำเดือน แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการยืดเหยียดหรือโยคะ เนื่องจากจะช่วยลดความเครียดและช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้ดี ในช่วงนี้สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยการเดิน หรือวิ่งเบา ๆได้เช่นกัน ช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หมอแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการคาร์ดิโอเช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และการสร้างกล้ามเนื้อ รวม150-300 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดประจำเดือนจากการที่กล้ามเนื้อหดตัวได้

4. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง เนื่องจากช่วงมีประจำเดือนจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันตก การพักผ่อนให้เพียงพอนอกจากจะช่วยให้อ่อนเพลียลดลง ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วย

5. สามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด ได้ทั้งยาหอมอินทจักร์ หรือยาหอมนวโกฐ เพื่อช่วยกระจายเลือดลม ลดอาการปวดเบื้องต้นได้

6. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน และสูบบุหรี่เนื่องจากจะกระตุ้นสารอักเสบในร่างกายทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้นได้

7.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารย่อยยาก เช่น ข้าวเหนียว เนื้อวัว บุฟเฟ่ต์ เนื่องจากจะทำให้ไม่สบายตัว หรืออาจทำให้ท้องผูก ต้องใช้เเรงเบ่งถ่าย ทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้นขณะเบ่งถ่ายได้

8.หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น เนื่องจากความเย็นจะทำให้มดลูกบีบรัดตัวมากขึ้น จะทำให้ยิ่งปวดท้องมากขึ้น

9.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีไฟโตเอสโตรเจน เช่น น้ำมะพร้าว เนื่องจากสารไฟโตเอสโตรเจนเป็นสารที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง อาจส่งผลต่อการบีบตัวของมดลูกเเละทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

 

สำหรับใครที่ทำตามคำแนะนำของหมอแล้ว เเต่ยังคงมีอาการปวดท้องประจำเดือนอยู่เป็นประจำ และต้องการปรับสมดุลธาตุ รักษาที่ต้นเหตุ หมอขอแนะนำให้ใช้ยาสมุนไพรเพื่อปรับสมดุล แก้ปวดท้องประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยประกอบไปด้วยสมุนไพร 3 ตำรับค่ะ คือ สมุนไพรปรับสมดุลภายในสตรี B-Secret สมุนไพร B-Young ปรับสมดุลฮอร์โมน และ ยาหอมนวโกฐ หรือยาหอมอินทจักร์

 

 

สำหรับยาสมุนไพรปรับสมดุลภายในสตรี B-Secret เป็นตำรับที่ประกอบไปด้วย โกฐสอ ขมิ้นเครือ ไพล ว่านมหาเมฆ โกฐหัวบัว ว่านชักมดลูก เหงือกปลาหมอ มีสรรพคุณ

• บำรุงมดลูกปรับสมดุลระบบภายในสตรี ทำให้ประจำเดือนมาปกติ

• บำรุงระบบเลือด ปรับสมดุลฮอร์โมน ทำให้ผิวพรรณดีขึ้น ลดอาการฝ้าเลือด

• แก้อาการปวดท้องประจำเดือน

• แก้อาการตกขาวมีกลิ่น ตกขาวผิดปกติ

• ช่วยขับมูก เมือก ของเสียที่สะสมในมดลูกให้ออกมาตามธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายและไม่มีสารตกค้าง

 

เหมาะสำหรับผู้ที่ ตกขาวผิดปกติ, ประจำเดือนมาไม่ปกติ, ปวดท้องประจำเดือน, บำรุงมดลูกในคุณแม่หลังคลอด, บำรุงมดลูกสำหรับหญิงเตรียมตั้งครรภ์ แก้ปวดประจำเดือนได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

 

 

หรือหากใครที่เริ่มอายุมากแล้วมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องประจำเดือน หมอแนะนำเป็น สมุนไพร B-Young ปรับสมดุลฮอร์โมน ชะลอความเสื่อม เป็นตำรับที่ประกอบด้วยสมุนไพรกำลังวัวเถลิง โกฐเชียง โกฐหัวบัว เปลือกตะโกนา มีสรรพคุณ

• ช่วยชะลอความเสื่อมภายในร่างกาย ลดอาการร้อน ๆหนาว ๆภายใน

• ช่วยให้ฮอร์โมนต่าง ๆในร่างกายทำงานเป็นปกติ ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศได้ต่อเนื่อง แม้จะลดปริมาณลงแต่ก็ไม่ส่งผลให้ระบบภายในแปรปรวน

• บำรุงมดลูก ช่วยป้องกันภาวะมดลูกหย่อน

• บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า แก้อาการอ่อนเพลีย

• ช่วยให้นอนหลับสบาย หลับลึกและหลับสนิทมากขึ้น 

 

เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีปัญหาตกขาวผิดปกติ, ประจำเดือนมาไม่ปกติ, ปวดท้องประจำเดือน, บำรุงมดลูกในคุณแม่หลังคลอด, บำรุงมดลูกสำหรับหญิงเตรียมตั้งครรภ์ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับซีสต์ ถุงน้ำ มดลูกโต มะเร็งในระบบสืบพันธุ์

 

 

 

ใครที่ปวดท้องประจำเดือนเเละมีอาการ อาการท้องอืด วิงเวียน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ร่วมด้วย หมอแนะนำ ยาหอมนวโกฐ หรือ ยาหอมอินทจักร์ นอกจากจะช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ดี ลดอาการข้างเคียงช่วงที่มีประจำเดือนเเล้ว ยังแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) แก้ลมปลายไข้ ได้อีกด้วย เนื่องจากประกอบด้วยสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยปรับธาตุ กระจายลม แก้ปวดประจำเดือน เช่น โกฐหัวบัว โกฐชฏามังสี รากเจตมูลเพลิงแดง เป็นต้น 

 

หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการปวดท้องประจำเดือนสามารถทักมาปรึกษาปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ 

 

ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษา

เกี่ยวกับอาการประจำเดือน และโรคทางระบบสืบพันธุ์ สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ ติดต่อทาง Line id : @poonrada หรือ โทร 02-1147027 นะคะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027

 


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า