แก้ลมพิษด้วยวิธีง่ายๆ 6 วิธี

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

แก้ลมพิษด้วยวิธีง่ายๆ 6 วิธี

เคยเป็นผื่นลมพิษบ่อยๆกันบ้างไหมคะ อาการที่พบได้ของลมพิษคือ เป็นผื่นบวม นูน แดง กระจายตามตัว เเขนขา หรือบริเวณใบหน้า บางครั้งมีอาการคันร่วมด้วย โดยปกติผื่นลมพิษจะยุบเองภายใน 24 ชั่วโมง แต่สักพักก็กลับมาขึ้นใหม่ได้ อาการเหล่านี้อาจกวนใจใครหลายๆคน เนื่องจากบางครั้งเราไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร หรือไม่รู้วิธีจัดการกับผื่นเเละอาการคันเหล่านี้ 

 

วันนี้หมอมีวิธีแก้ลมพิษง่ายๆ 6 วิธีมาฝากค่ะ ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับผื่นลมพิษกันก่อนนะคะว่าเกิดจากอะไร

 

ลมพิษเเบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ


• ลมพิษเเบบเฉียบพลัน อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ไม่เกิน 6 สัปดาห์ อาการจะหายไปเองได้ อาจมีอาการแสดงที่อวัยวะอื่นด้วย เช่น แน่นอก คัดจมูก ปวดท้อง ปากบวม ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องจนเป็นลมพิษเรื้อรัง

• ลมพิษแบบเรื้อรัง จะมีอาการนานเกิน 6 สัปดาห์ มีอาการอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เเละมีอาการอยู่นานกว่าจะหายไปเองเเต่จะเป็นอีกเรื่อย ๆ เมื่อมีสิ่งกระตุ้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาที่ทำให้หายขาด

 

4 สาเหตุหลักของโรคลมพิษ คือ


1.สิ่งกระตุ้น ที่ทำให้เกิดอาการแพ้เนื่องจากเมื่อร่างกายเราเจอสิ่งกระตุ้นจะปล่อยสารโปรตีนที่ชื่อ ฮีสตามีน (Histamine) ออกมาทำให้หลอดเลือดบางลงเเละสารน้ำออกจากหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดการอักเสบเเละเป็นผื่นลมพิษได้ สิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่

• ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics), ยากลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เช่น aspirin เป็นต้น

• อาหาร เช่น นม ไข่ ปลา อาหารทะเลมีเปลือกจำพวก กุ้ง ปู ถั่วลิสง วอลนัท ถั่วเหลือง ข้าวสาลี เป็นต้น

• สารปรุงแต่งอาหารหรือขนม เช่น สีผสมอาหาร โดยเฉพาะสีประเภท Tartrazine ที่พบใน ฟักเชื่อม ฝอยทองกรอบ ถั่วกวน ครองแครง 

• ผักและผลไม้ที่มีสาร Salicylate เช่น แอปเปิ้ล แตงกวา มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะนาว พริกไทย ส้ม เป็นต้น

• อาหารและเครื่องดื่มที่มียีสต์ เช่น ขนมปัง เหล้า เบียร์ 

• พืชบางชนิดที่กระทบต่อระบบผิวหนัง ได้แก่ ตำแย (urtica urens หรือ stinging nettles) และหมามุ่ย (cowhage, mucuna pruriens) พืชเหล่านี้มีขนพิษซึ่งมีสาร acetylcholine, histamine และ serotonin ทำให้ผู้สัมผัสเกิดผื่นลมพิษขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะหายในเวลาอันสั้น

• เครื่องสำอาง อาจเกิดได้จากกรดผลไม้ (AHA) BHA ยารักษาสิว ผลิตภัณฑ์   สครับหรือขัดหน้า ผลิตภัณฑ์กำจัดขน เป็นต้น เมื่อแพ้เครื่องสำอางเหล่านี้จะรู้สึกแสบหรือมีอาการคัน  โดยมักจะเกิดขึ้นเร็วหรือทันทีที่ใช้

• พิษแมลง การถูกพิษหลังจากแมลงต่อยอาจทำให้เกิดผื่นลมพิษได้ เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มดแดงไฟ เป็นต้น

• การสัมผัส เช่น ไรในสุนัขและแมว บุ้ง เป็นต้น เมื่อสัมผัสสัตว์เหล่านี้จะทำให้เกิดผื่นเเละอาการคันขึ้นได้

 

2.ปัจจัยทางกายภาพ

• แสงแดด การที่ผิวหนังกระทบยูวีในแสงอาทิตย์ จะทำให้ยูวีปรับเปลี่ยนสารในผิวหนังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยาส่งผลให้ผิวหนังอักเสบได้

• ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไป เช่น อาบน้ำร้อน เหงื่อ ออกกำลังกายหนัก ทำให้ผิวหนังเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อความร้อน ผิวหนังเกิดการอักเสบเเละเกิดผื่นลมพิษขึ้นได้

• ความเย็น เช่น อาบน้ำเย็น การทานน้ำแข็ง ผิวหนังที่ไวต่อความเย็นจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทำให้เกิดผื่นลมพิษได้

• การเกาหรือถูบริเวณผิวหนัง เนื่องจากผิวหนังบางคนอาจไวต่อการขีดข่วน ทำให้เกิดรอยนูนคันตามมา แต่สามารถหายเองได้ในไม่กี่นาที

• การถูกรัดหรือถูกกด เช่น ถูกเข็มขัดรัดแน่น เสื้อผ้าที่คับเกินไป เป็นการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบบริเวณผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นได้

• สารในอากาศ เช่น ฝุ่น เชื้อราในอากาศ เกสรดอกไม้ เมื่อหายใจเข้าไปมากๆ สารเหล่านี้อาจก่อให้เกิดลมพิษได้

 

3.การติดเชื้อบางชนิด ส่งผลให้เกิดโรคเเละมีผื่นลมพิษเกิดร่วมด้วย ได้แก่ 

• เชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza), ไข้หวัด (Common cold), ไข้เเละต่อมน้ำเหลืองโต (Glandular fever), ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอี (Hapatitis B)

• เชื้อแบคทีเรีย เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Uninary tract infections), คออักเสบจากเชื้อเตร็ปโตค็อกคัส (Strep throat)

• เชื้อปรสิต เช่น Giardia lambila ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง

 

4.โรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลมพิษร่วมด้วย ได้แก่

• Hashimoto thyroiditis เป็นโรคที่ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดไทรอยด์ต่ำได้ อาการที่พบได้คือ คอโต (คอพอก) อ่อนเพลีย บวม ขี้หนาว เเละผื่นลมพิษเป็นวงกว้าง

• โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคของข้อต่อที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อที่อยู่ตรงรอยต่อกระดูก ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุเเน่ชัดแต่สัมพันธ์กับการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเนื้อเยื่อตนเอง อาการที่พบได้คือ ปวดบริเวณข้อ เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อเข่า เเละพบผื่นลมพิษเรื้อรังได้

• โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อเเละอวัยวะของตนเอง อาการที่พบได้เช่น มีไข้ ปวดข้อ ผื่นขึ้นตามใบหน้า แขน ขา เป็นต้น

• โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่พบในเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อย ส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ อาจพบผื่นลมพิษได้คนผู้ป่วยบางราย

• อารมณ์และสภาพจิตใจ ลมพิษเกิดหลังจากมีอารมณ์ผิดปกติได้ เช่น จากความโกรธ เครียด กังวล มักจะเป็นลมพิษชนิดเรื้อรัง

 

จะเห็นว่าผื่นลมพิษเกิดได้จากหลายสาเหตุส่วนใหญ่เป็นเเล้วจะใช้เวลาไม่นานเเละจะหายไปได้เอง ยังมีผื่นลมพิษบางชนิดที่ควรระวังเป็นอย่างมาก คือ เมื่อมีอาการลมพิษร่วมกับอาการทางระบบอื่นๆ เช่น ปากบวม ตาบวม ความดันต่ำจะเป็นลม หายใจไม่ได้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียรุนแรง ไข้ หรือเป็นลมพิษที่ไม่หายภายในภายใน 24 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินหาสาเหตุที่แน่ชัด จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที การรักษาลมพิษหากไม่ทราบสาเหตุจะใช้ยาแก้แพ้ ซึ่งมีประสิทธิภาพดี หากทานยาแก้แพ้แล้วไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้ยากดภูมิคุ้มกัน เเต่อาจมีผลกระทบต่อตับเเละไตได้ค่ะ 

 

ลมพิษที่เป็นไม่มาก ไม่มีอาการทางระบบอื่นๆร่วมด้วย สามารถดูเเลตัวเองได้ค่ะ หมอแนะนำวิธีดูเเลตัวเองง่าย ๆ ทั้งหมด 6 วิธี ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการรับประทานอาหารและยา สังเกตว่าอาหารและยาที่ทานทำให้เกิดอาการแพ้หรือไม่ เนื่องจากอาหารเเละยาบางประเภทที่เคยทานเเล้วไม่แพ้ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ภายหลังได้ เช่น ถั่ว นม ไข่ อาหารทะเลมีเปลือกจำพวก กุ้ง ปู ยาปฏิชีวนะจำพวก Amoxycilline หรือ ยา NSAIDs

2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่สัมผัสที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เนื่องจากผิวหนังอาจเกิดปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผิวหนังอักเสบเกิดลมพิษตามมาได้ เช่น พืชจำพวกตำแย หมามุ่ย แสงแดด อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป การใช้เครื่องสำอางใหม่ หรือการสัมผัสไรสุนัข บุ้ง เป็นต้น

3. ไม่แกะ เกาบริเวณผิวหนัง หากมีผื่นขึ้นแล้วไม่ควรแกะเกา เนื่องจากทำให้ผิวหนังถูกกระตุ้นเเละทำให้ผื่นลามไปตามบริเวณที่เกาได้

4. ใช้ยาทาเพื่อลดอาการคัน เช่น คาลาไมน์โลชัน ใช้ทาบริเวณผื่นลมพิษจะช่วยแก้คันได้

5. ทานยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) หากผื่นคันนั้นเกิดจากอาการแพ้ และอาการไม่รุนแรงหรือไม่กระทบระบบอื่นๆ สามารถใช้ยาแก้แพ้ได้ เช่น ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงซึม ออกฤทธิ์ยาวนาน ปลอดภัย

6. อาบน้ำเย็น ในกรณีที่ลมพิษไม่ได้เกิดจากความเย็น การอาบน้ำเย็นจะช่วยบรรเทาอาการคันจากลมพิษได้  นอกจากนี้การประคบเย็นที่ผิวหนังครั้งละ 2-3 นาทีก็ช่วยบรรเทาอาการคันได้เช่นกัน หมอแนะนำให้ใช้เจลเย็นลดไข้หรือผ้าชุบน้ำเย็นเพื่อประคบเย็นค่ะ

 

นอกจากนี้หมอแนะนำให้รักษาสุขภาพผิวหนังให้ชุ่มชื่นด้วยการหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนหรือเย็นเกินไป ดูเเลสุขภาพให้เเข็งเเรงอยู่เสมอโดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดผื่นลมพิษค่ะ เเต่ถ้าหากดูแลตัวเองตามคำแนะนำแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือยังกลับมาเป็นอีกบ่อย ๆ หมอแนะนำให้รักษาอาการที่ต้นเหตุนะคะ 

 

แนวทางการรักษาโรคลมพิษตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีดังนี้


• การใช้ยารักษาเพื่อเข้าไปปรับระบบน้ำเหลืองภายในโดยตรง ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยมองโรคผื่นลมพิษเป็นโรคทางผิวหนังเกิดจากน้ำเหลืองเสีย ผู้ที่เป็นโรคลมพิษจะมีธาตุลม ธาตุไฟ และธาตุน้ำที่คั่งอยู่บริเวณผิวหนัง ทำให้แสดงออกมาเป็นผื่นผิวหนัง (ตะโจพิการ) 

การรักษาจะใช้สมุนไพรรสเมาเบื่อเพื่อทำให้น้ำเหลืองที่เสียกลับมาปกติ เช่น ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ขันทองพยาบาท เป็นต้น นอกจากนี้แพทย์แผนไทยจะใช้ยาภายนอก เช่น น้ำมันมหาจักร์ และตำรับยาเย็นร่วมกับการรักษา เพื่อบรรเทาอาการผื่นลมพิษ และลดความร้อนบนผิวหนัง เช่น ตำรับประสะจันทน์แดง ยารางจืด  เป็นต้น

• การปรับพฤติกรรมเพื่อให้อาการหายสนิท และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ สำหรับผื่นลมพิษนอกจากควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดลมพิษเเล้ว แพทย์แผนไทยจะเเนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารเเสลงจำพวก อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผลไม้ดอง เเละเลี่ยงอาหารทะเล เนื่องจากรสเค็มจะเเสลงต่ออาการคัน ทำให้เกิดอาการคันมากขึ้น นอกจากนี้ยังเเนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดโดยเฉพาะรสเผ็ดจัดช่วงที่มีผื่นลมพิษ เพราะจะไปกระตุ้นธาตุไฟในร่างกาย ทำให้ผื่นเป็นมากกว่าเดิม

 

หากใครที่กำลังมีอาการผื่นลมพิษ เป็นๆ หายๆ หมอเเนะนำตัวยารักษาผื่นลมพิษ ผื่นแพ้ B-Smooth Set ในเซตประกอบไปด้วย 

 

ยาแก้ผื่นคัน

 

• สมุนไพร B-Smooth ตำรับยารักษาผื่นคัน ช่วยแก้อาการผื่นลมพิษ บำรุงระบบเลือดและน้ำเหลือง ช่วยขับพิษร้อน ระบายความร้อนออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ ทำให้ความร้อนบริเวณผิวหนังลดลง เป็นยารับประทานชนิดแคปซูล รับประทานง่าย B-Smooth ประกอบไปด้วยสมุนไพรที่ช่วยแก้ทางโรคผิวหนังเเละน้ำเหลือง เช่น ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ขันทองพยาบาท

• ยาทาภายนอก B-Liz2 Oil หรือน้ำมันมหาจักร์ เป็นยาทาสมุนไพรผสมเหงือกปลาหมอ ผิวมะกรูดช่วยให้ผื่นลมพิษยุบเร็วขึ้น ลดอาการบวม อักเสบ และลดผื่นแดงบริเวณผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย พร้อมบำรุงให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น

 

ใครที่ลองใช้วิธีแก้ลมพิษที่หมอแนะนำเเล้ว ได้ผลเป็นยังไงบ้าง ก็สามารถเเลกเปลี่ยนกันผ่านไลน์หรือคอมเม้นท์ได้เลยค่ะ^^ หรือหากต้องการรักษาอาการที่ต้นเหตุ ไม่อยากให้ผื่นลมพิษกลับมากวนใจ ด้วยสมุนไพร B-Smooth Set สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ การใช้สมุนไพรเซตนี้เป็นการแก้ลมพิษเเละป้องกันการเกิดลมพิษซ้ำด้วยค่ะ ใช้ง่าย ปลอดภัย เหมาะสำหรับอาการลมพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง รักษาด้วยตำรับยากับปุณรดายาไทยยังได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเองเฉพาะบุคคลควบคู่กับการรักษาด้วยนะคะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า