รู้ได้อย่างไรว่ามีอาการภูมิแพ้ผิวหนัง?

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

รู้ได้อย่างไรว่ามีอาการภูมิแพ้ผิวหนัง?

หลายคนคงเคยมีปัญหาบริเวณผิวหนังกันใช่ไหมคะ ไม่ว่าจะเป็น ผิวลอก ผิวแห้งเป็นขุย บางครั้งเป็นผื่นเเละมีอาการคันร่วมด้วย หากเป็นแบบนี้บ่อยๆอาจเป็นสัญญาณของอาการโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้ค่ะ ภูมิแพ้ผิวหนังเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเเต่ละสาเหตุจะมีอาการแตกต่างกันออกไป วันนี้หมอมีวิธีสังเกตอาการภูมิแพ้ผิวหนังมาฝากกันค่ะ

 

ภูมิแพ้ผิวหนัง คือ อาการที่ผิวหนังเกิดการอักเสบ เช่น แดง แสบ ร้อน เป็นโรคที่ผิวหนังเกิดการอักเสบขึ้น จะเป็นๆหายๆ โดยเมื่อถูกกระตุ้นหรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จะทำให้กลับมามีอาการได้ มักจะพบร่วมกับอาการแพ้บริเวณอื่น ๆ เช่น ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ 

 

อาการของผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่พบบ่อย คือ 


• มีผื่นบริเวณผิวหนัง เเสบ คัน แห้ง เป็นขุย 

• ผื่นขึ้นบริเวณข้อพับ คอ ขาหนีบ ร่องก้น หรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

• ผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มหรือผื่นแดง อาจพบตุ่มน้ำใสแตกเป็นน้ำเหลืองได้ หากเป็นมาเรื้อรังผื่นจะเป็นปื้น หนา เป็นขุย 

• อาจมีอาการบริเวณอื่นร่วมด้วย เช่น ผื่นบริเวณเปลือกตา น้ำมูกไหล ไอ จาม ปากแห้ง ริมฝีปากแดงลอกเป็นขุย 

 

โรคภูมิแพ้ผิวหนังมีหลายประเภทแต่ละประเภทจะมีลักษณะอาการเเละสาเหตุต่างกัน

 

ภูมิแพ้ผิวหนังแบ่งเป็น 7 ประเภทหลักได้ดังนี้


1.โรคผื่นแพ้อักเสบ หรือที่เรียกว่า Eczema เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มของโรคที่เกิดจากภูมิแพ้ แบ่งตามสาเหตุ คือ

สิ่งกระตุ้นภายนอกร่างกาย (Contact dermatitis) 

• ผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการระคายเคือง (Irritant contact dermatitis) คือ ผื่นที่เกิดจากการตอบสนองเนื่องจากสัมผัสกับสารก่อการระคายเคือง (Irritant)  เกิดจากการสัมผัสสารระคายเคืองที่รุนแรง เกิดได้กับบุคคลทั่วไป เช่น พวกกรด หรือเกิดจากการสัมผัสสารระคายเคืองบ่อย ๆ  เป็นระยะเวลานาน เช่น สบู่ น้ำ ผงซักฟอก เป็นต้น

• ผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)ซึ่งเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ของร่างกายต่อสารสัมผัส เกิดเฉพาะผู้ที่แพ้สารเหล่านี้ เช่น โลหะนิเกิล, สารในยาย้อมผม, ผลิตภัณฑ์จากยาง เช่น ถุงมือยาง , รองเท้า , น้ำหอม หรือสารกันบูดในเครื่องสำอาง เป็นต้น

สิ่งกระตุ้นภายในร่างกาย (Endogenous eczema)

• ผื่นผิวหนังอักเสบที่สัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)ผิวหนังอักเสบ แห้ง คัน มักเป็นที่ใบหน้า ซอกคอ ข้อพับแขนขา พบบ่อยในเด็ก โดยที่ผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวมักมีประวัติกลุ่มโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ผื่นแพ้อักเสบ หอบหืด ลมพิษ 

• เซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) ผิวหนังอักเสบเรื้อรังบริเวณที่มีต่อมไขมันหนาแน่น มีขุยร่วมด้วยพบบริเวณ ใบหน้า หนังศีรษะ ลำตัวส่วนบน เป็นต้น

• ผื่นผิวแห้ง (Xerotic eczema) พบได้ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ชอบอาบน้ำร้อน ผิวจะมีรอยแตกคล้ายดินที่แตกระแหง แห้ง แดง คัน มีขุย มักพบบริเวณขา หน้าแข้ง ต้นแขน ลำตัว มือของผู้สูงอายุ

 

2.โรคผิวหนังที่เกิดจากติดเชื้อต่างๆ เช่น 

• เชื้อไวรัส เช่น โรคเริม เกิดจากการติดเชื้อกลุ่มเฮอร์พีส (herpes virus) มักเกิดบริเวณปากหรืออวัยวะเพศ ลักษณะเป็นตุ่มพองเล็กๆ มีน้ำใสๆ ซึ่งจะแตกและกลายเป็นแผลตื้น ๆ จะเป็นประมาณ 2-6 สัปดาห์ เเละหายไปเอง อีกทั้งไวรัสกลุ่มนี้ทำให้เกิดโรคงูสวัด มักเป็นในผู้ใหญ่เเละผู้สูงอายุ โดยจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้อนบริเวณผิวหนังตามแนวปลายประสาท ลักษณะผื่นเป็นตุ่มพองน้ำใส ขึ้นชิดๆ กัน ฐานมีสีแดง ตุ่มน้ำพองนี้จะกลายเป็นหนองในสองสามวันต่อมา และแห้งตกสะเก็ด โรคงูสวัดมีอาการอื่น ๆ ที่พบร่วมด้วย คือ มีไข้ ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย

• เชื้อแบคทีเรีย เช่น แผลพุพองชนิดตื้น (impetigo) เป็นการติดเชื้อของหนังกำพร้าชั้นนอกสุด พบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ขาดการรักษาความสะอาด อาการที่พบได้คือ เป็นผื่นแดงคัน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสเล็กๆ ฐานสีแดงเเละจะกลายเป็นตุ่มหนองแตกง่าย แตกเเล้วกลายเป็นสีแดงและมีน้ำเหลืองเยิ้ม เเล้วกลายเป็นสะเก็ดคล้ายรอยบุหรี่ ลุกลามได้จากการเกา

• เชื้อรา เช่น โรคน้ำกัดเท้าเกิดจากเชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes โดยเชื้อราชนิดนี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่เปียกชื้น พบได้บ่อยในง่ามนิ้วเท้า มีลักษณะเปื่อย แดง และลอก ถ้าหากมีอาการคันและเกาจนเกิดเป็นแผลจะมีการอักเสบ และติดเชื้อได้ง่าย สามารถติดเชื้อได้เมื่อใส่รองเท้าที่มีเชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตอยู่ เหยีบพื้นห้องน้ำหรือพื้นสระว่ายน้ำที่มีเชื้อนี้ นอกจากนี้ เชื้อราชนิดนี้ยังสามารถติดเชื้อได้จากการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น รองเท้า ผ้าเช็ดตัว

 

3.ลมพิษ (Urticaria) เป็นผื่นคันบนผิวหนัง ซึ่งมีลักษณะเป็นปื้นนูนแดงขอบชัดเจน บางครั้งขอบจะหยักนูน มักกระจายตามตัว แขน ขา หรือบริเวณใบหน้า และยังเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ในบางรายที่อาการรุนแรง จะมีอาการตาบวม ปากบวม ปวดท้อง แน่นจมูก แน่นหน้าอก หายใจติดขัด และหายใจไม่สะดวกร่วมด้วย ลมพิษอาจเกิดจากสิ่งกระตุ้น เช่น อาหาร ฝุ่น แมลงสัตว์กัดต่อย หรือบางครั้งอาจเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

4.ผื่นแพ้ยา (Drug eruptions) ผื่นแพ้ยาที่พบได้บ่อย คือ ผื่นราบและผื่นนูนสลับกัน เป็นผื่นสีแดง ขอบเขตไม่ชัดเจนและมักจะพบร่วมกับอาการคัน สามารถขึ้นได้ทั่วตัว มักจะขึ้นเหมือนกันทั้งสองข้างสามารถพบหลังจากได้รับยาประมาณ 2-10 วันแรก

 

5.โรคกลุ่มที่เป็นผื่นแดงลอกเป็นสะเก็ดหรือขุย (Papulosquamous diseases) เช่น โรคสะเก็ดเงิน ลักษณะผื่นเป็นผื่นขนาดเล็กๆ เป็นตุ่มนูนแดง มีขุยกระจายทั่วไป ในบริเวณลำตัว แขน และขา ซอกรักแร้ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิด คาดว่าจะเกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันร่วมกับความผิดปกติของสารพันธุกรรม นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่ การเสียดสี การกระทบกระแทก แกะเกาบาดแผล รวมไปถึงปัจจัยทางจิตใจและสังสม ความเครียด การดื่มสุรา โรคติดเชื้อ คออักเสบ สารเคมีบางชนิด ได้แก่ ยาลดความดันชนิดต้านเบต้า ยาทางจิตเวช ยาต้านมาลาเรีย เป็นต้น สามารถเป็นปัจจัยกระตุ้นให้โรคสะเก็ดเงินเกิดการกำเริบได้

 

6.โรคภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง เช่น โรคพุ่มพวง (SLE) เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการสร้างสารบางอย่างออกมาทำลายตัวเอง หนึ่งในอาการของโรคนี้จะมีอาการทางระบบผิวหนัง คือ มีผื่นเฉพาะโรค เป็นรูปผีเสื้อตั้งแต่สันจมูกไปสู่โหนกแก้ม ผื่นวงแดงตามใบหน้า หนังศีรษะ และใบหู ผื่นตามตัวจากการแพ้แดด นอกจากนี้อาการที่พบได้ คือ มีไข้ ปวดข้อ ไตอักเสบ เป็นต้น

 

7.โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin malignancy) มีหลายชนิด อาการโดยทั่วไปที่สังเกตได้ คือ มีผื่นหรือก้อนที่โตเร็วกว่าปกติ หรือมีสีที่เปลี่ยนไป ขอบไม่เรียบ แตกเป็นแผล และมีเลือดออก ผื่นเป็นเรื้อรังนานกว่า 6 สัปดาห์ 

 

อาการภูมิแพ้ผิวหนังหรือผื่นบริเวณผิวหนังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เเต่ละโรคก็มีลักษณะคล้ายเเละต่างกันออกไป แต่เนื่องจากโรคผิวหนังเป็นโรคที่ค่อนข้างซับซ้อน การสังเกตด้วยตัวเองอาจจะไม่สามารถบ่งบอกโรคได้โดยตรง แนะนำให้ปรึกษากับหมอที่เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด จะได้รักษาอย่างตรงจุดนะคะ

 

การรักษาอาการภูมิแพ้ผิวหนังตามศาสตร์การแพทย์แผนตะวันตก(แผนปัจจุบัน) มีการรักษาหลากหลายรูปแบบตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น เเนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น, จ่ายยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งมีหลายรูปแบบทั้งเจล ครีม ขี้ผึ้ง โลชั่น ตามความเหมาะสมกับบริเวณที่มีผื่น, ให้ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor ในผู้ป่วยสะเก็ดเงินเพื่อเลี่ยงผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์, การฉายแสงแดดเทียม, การประคบด้วยน้ำเกลือสําหรับโรคภูมิแพ้ผิวหนังรุนแรง เเละจ่ายยารับประทานคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาฉีด dupilumab ในรายที่เป็นรุนแรง ซึ่งวิธีรักษาต่าง ๆ นี้ก็ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ค่ะ 


 

โรคภูมิแพ้ผิวหนังในมุมมองของเวชศาสตร์การแพทย์แผนไทย 


สาเหตุของอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังส่วนมาก มักไม่ได้แตกต่างจากสาเหตุทั่วไปที่เราทราบ แต่ที่เพิ่มเติมมาคือ สามารถเกิดได้จากปัจจัยภายในร่วมด้วย ได้แก่ ธาตุไม่สมดุล (ธาตุสมุฏฐาน) ช่วงวัย ช่วงอายุที่มีอาการกระตุ้นของธาตุแตกต่างกัน (อายุสมุฏฐาน) และพฤติกรรม เช่น ในผู้สูงอายุมักจะพบความเสื่อมของร่างกาย มีสมุฏฐานตรงกับพิกัดวาตะ (ธาตุลม) หากเกิดการเจ็บป่วยด้วยอาการทางวาตะก็จะกำเริบได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ เช่น ในวัยผู้สูงอายุหากเกิดอาการคัน อาจเกิดจากเลือดลมภายในร่างกายพัดไม่ดี ส่งผลให้เลือด น้ำเหลือง (ธาตุน้ำ) บริเวณนั้นหย่อนลง ทำให้ผิวหนัง (ธาตุดิน) แห้ง เป็นขุย ทำให้เกิดอาการคันได้  หรือในบางรายผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอาจเกิดจากน้ำเหลืองเสีย น้ำเหลืองข้นเป็นพิษ ไหลไม่สะดวก ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น รับประทานอาหารที่ย่อยยาก ก่อพิษสะสม, เคลื่อนไหวร่างกายน้อย, การได้รับสารพิษในปริมาณมาก เมื่อน้ำเหลือง (บุพโพ) พิการไปก่อให้เกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้

 

การรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โดยหลักการคือปรับให้ธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ กลับเข้าสู่สมดุล

ธาตุน้ำที่พิการให้เกิดผื่นผิวหนัง สิว หนอง ใช้ยารสเปรี้ยว เบื่อเมาในการฟอกเลือดเเล้วน้ำเหลืองที่หย่อนให้กลับมาเป็นปกติ เช่น หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ พลูคาว หัวร้อยรู 

 

ธาตุลมที่กำเริบที่ทำให้เกิดอาการปวด คัน จะใช้ยารสสุขุม เผ็ดร้อนในการกระจายธาตุลม เช่น ยาทาใบพลู พญายอ ขมิ้นชัน  

 

ธาตุไฟที่กำเริบทำให้เกิดความรู้สึกร้อน แสบ จะใช้ยารสเย็น จืดเพื่อลดความร้อนในร่างกาย เช่น รากหญ้าคา ใบกระเม็ง ยาห้าราก ยาเขียวหอม ยาประสะจันทน์แดง

 

ธาตุดินที่พิการที่ทำให้ผิวหนังแห้งแตก เป็นขุย จะใช้ยาน้ำมันเพื่อลดความแห้งแตก ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น เช่น น้ำมันมหาจักร์ น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว

 

การใช้ยาตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย จะใช้ยาหลายรูปแบบ ทั้งยารับประทาน เช่น ยาเม็ด ยาผง ยาต้มดื่ม โดยการตั้งตำรับยาจะอิงตามหลักการรักษาคือการปรับธาตุทั้ง 4 ให้สมดุล นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาภายนอก เช่น ยาแปะ ยาทา ยาชโลม ยาต้มอาบ เเละยาพอกร่วมด้วย

 

ใครที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง มีอาการผื่น คัน เป็นขุยตามตัว ลองรักษามาหลายวิธีเเล้วเเต่ก็ยังไม่ดีขึ้น หมอแนะนำ LT-Set ชุดรักษาน้ำเหลืองเสีย โรคภูมิแพ้ผิวหนังเรื้อรัง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังเรื้อรังโดยตรง ผู้ใช้มากกว่า 90% อาการดีขึ้น ชุด LT-Set ประกอบไปด้วย

 

1. B-Treat ตำรับยาแก้น้ำเหลืองเสีย ยารับประทานผสมข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ขับฟอกน้ำเหลือง บำรุงระบบไหลเวียนเลือด รักษาโรคผิวหนังโดยตรง ขับของเสียที่ตกค้างให้ออกจากร่างกาย เสริมสร้างระบบน้ำเหลืองให้แข็งแรง ลดรอยดำจากแผล 

2. B-Liz2 oil น้ำมันรักษาโรคผิวหนัง ยาทาผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น ลดอาการคัน สมานแผลเรื้อรัง ลดอาการอักเสบ แสบร้อนตามผิวหนัง

 

สำหรับการรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนังจะใช้เวลาในการรักษาและปรับระบบน้ำเหลือง(ภูมิคุ้มกัน)ใหม่อยู่ที่ประมาณ 2-6 เดือน ระยะเวลาเร็ว-ช้า ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกาย-การตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับการปรับพฤติกรรมร่วมด้วยค่ะ หากปรับพฤติกรรมก็จะทำให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

การปรับพฤติกรรมทำได้หลากหลายวิธี เช่น 

• หลีกเลี่ยงอาหารแสลงที่กระตุ้นให้น้ำเหลืองเสีย เช่น อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ย่อยยากจำพวก เนื้อแดง ชีส ไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

• เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ ไม่อยู่ในอิริยาบถเดิมนาน ๆ ออกกำลังกายเป็นประจำครั้งละ 25 - 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เนื่องจากการที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะทำให้การไหลเวียนองเลือด น้ำเหลือง เเละลมติดขัด

• พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยกระตุ้นระบบน้ำเหลืองเเละภูมิคุ้มกัน

• ลดความเครียด เช่น ฟังเพลง ทำงานอดิเรก เนื่องจากความเครียดจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเเย่ลง

• อาบน้ำล้างเหงื่อหรือฝุ่นทันทีหลังกลับบ้าน เพื่อลดการสะสมของเชื้อที่ทำให้ก่อโรคผิวหนัง 

• เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังโดยการทาโลชัน ทาน้ำมันรักษาโรคผิวหนัง ป้องกันผิวหนังแห้งเเตก เป็นขุย

 

ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับการใช้สมุนไพรรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ ติดต่อทาง Line id : @poonrada หรือ โทร 02-1147027 นะคะ

 

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า