ตับอักเสบมีกี่ประเภท แบบไหนอันตราย?

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

ตับอักเสบมีกี่ประเภท แบบไหนอันตราย?

หลายคนสงสัยว่าตับอักเสบคืออะไร อันตรายไหม จริงๆ เเล้วตับอักเสบมีหลายชนิด บางชนิดไม่มีอาการชัดเจนและบางชนิดก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ด้วย โรคเหล่านี้สามารถพรากชีวิตผู้คนได้มากมายเลยค่ะ วันนี้หมอมาอธิบายรายละเอียดของตับอักเสบพร้อมแนวทางการป้องกันให้กับทุกคนค่ะ

 

ตับอักเสบ คือ ภาวะที่เซลล์ตับมีความผิดปกติ อาจเกิดก้อนหรือพังผืดขึ้นที่ตับซึ่งจะไปขัดขวางการทำงานของตับ ตับอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การใช้ยาเกินขนาด รวมถึงการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียก็ทำให้เกิดตับอักเสบได้เช่นกัน

 

ประเภทของตับอักเสบ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ


1. ตับอักเสบเฉียบพลัน คือ ตับอักเสบที่เกิดขึ้นแล้วหายได้ในระยะ 6 เดือนซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ 

 

• การติดเชื้อเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ (HAV) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของตับอักเสบเฉียบพลัน

- เกิดจากการที่เชื้อในอุจจาะระปนเปื้อนมาทางอาหารและน้ำดื่ม หรือการสมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นพาหะของโรค 

- อาการของการติดเชื้อชนิดนี้มีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงตับอักเสบรุนแรง ซึ่งสามารถสังเกตอาการแสดงเหล่านี้ได้ ได้แก่ อ่อนเพลีย มีไข้ เบื่ออาหาร แน่นท้องใต้ชายโครงข้างขวา คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้ม อาการตัวเหลืองตาเหลืองหรือดีซ่าน 

- อาการเหล่านี้มักแสดงในวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปีมักไม่ค่อยมีอาการ 

ไวรัสตับอักเสบเอนี้ไม่อันตราย คนไข้สามารถหายได้เองภายใน 2 เดือน เเละหายขาดเพราะเมื่อติดเชื้อนี้แล้วจะมีภูมิตลอดชีวิต และไม่เป็นโรคนี้อีก หรือหากใครยังไม่เคยเป็นก็สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนค่ะ

 

• การติดเชื้อเชื้อไวรัสตับอักเสบอี (HEV)  โรคนี้พบมากในคนเอเชีย

- เกิดจากการที่เชื้อในอุจจาระปนเปื้อนมาทางอาหารและน้ำดื่ม ติดต่อจากสัตว์ที่มีเชื้อ และการติดต่อจากแม่สู่ลูก

- อาการที่พบเมื่อติดเชื้อนี้จะเหมือนกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ คือ  มีไข้ ปวดท้อง ตาเหลืองตัวเหลืองหรือดีซ่าน คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร เจ็บบริเวณชายโครงข้างขวา โรคนี้ส่วนใหญ่หายได้เองใน 4-6 สัปดาห์ 

- ถ้าหากท่านมีอาการเหล่านี้และกำลังตั้งครรภ์ควรที่จะรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดค่ะ เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 20 

 

• การติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เช่น 

- โรคไข้กาฬหลังแอ่นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitidis

- โรคหนองในที่เกิดจากเชื้อ Neisseria gonorrhoeae

- เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Salmonella, Brucella และ Campylobactor 

เชื้อเหล่านี้อาจไม่ได้ทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลันโดยตรง แต่จะไปทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายรวมถึงเซลล์ตับด้วย

 

• การใช้ยา เนื่องจากตับเป็นอวัยวะสำคัญในการเปลี่ยนแปลงยา (Metabolism) ยาที่เรารับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะผ่านที่ตับ เช่น การรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Acetaminophen) ที่เกินขนาด คือเกิน 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อการรับประทาน 1 ครั้ง จะเสี่ยงเกิดภาวะตับอักเสบได้ เเละจะเสี่ยงมากขึ้นถ้าได้รับยานี้เกินขนาดร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ตัวอย่างเช่น ibuprofen, diclofenac เเละ naproxen ทำให้เกิดตับอักเสบได้เช่นกัน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทานยาเหล่านี้ค่ะ

 

นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลันตามมาได้ เช่น โรคไข้เลือดออก (Dengue) โรคท่อน้ำดีในตับอุดตันและอักเสบ (Primary biliary cholangitis) โรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกันไวเกิน (Autoimmune hepatitis) 

 

โรคตับอักเสบเฉียบพลันไม่เป็นอันตรายเนื่องจากป้องกันได้ด้วยวัคซีนและมีอาการแสดงชัดเจนทำให้รู้ตัวและรีบพบแพทย์ได้ ต่างจากโรคตับอักเสบอีกหชนิดหนึ่ง คือตับอักเสบเรื้อรังจะไม่ค่อยมีอาการแสดงและเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งตับและอาจอันตรายถึงชีวิตได้

 

2. ตับอักเสบเรื้อรัง คือ มีอาการตับอักเสบนานเกิน 6 เดือนและไม่มีอาการ เซลล์ตับจะค่อยๆถูกทำลายจนเกิดเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับ สาเหตุของตับอักเสบเรื้อรัง มีดังนี้

 

• การติดเชื้อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย ซึ่งคนไทยร้อยละ 5-7 ของประชากรทั้งหมดติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 

ไวรัสตับอักเสบบีติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่ง เช่น

-การได้รับเลือดซึ่งปัจจุบันพบได้น้อยมากเนื่องจากการตรวจอย่างเข้มงวดของธนาคารเลือด

- การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย 

- การติดต่อจากการใช้เข็มหรือของมีคมร่วมกัน 

- การติดต่อจากแม่สู่ลูก แต่ปัจจุบันลดลงมาก เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนให้ทารกที่คลอดออกมาซึ่งจะป้องกันได้เกือบ 100 เปอร์เซ็น 

- อาการจากการติดเชื้อนี้สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะกำจัดเชื้อได้เอง และไม่มีอาการ คนไข้ส่วนน้อยที่จะเป็นตับอักเสบเฉียบพลันซึ่งจะแสดงอาการ เช่น ไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดใต้ชายโครงข้างขวา อาการจะค่อยๆดีขึ้นและอาการจะหายไปเองใน 2-4 สัปดาห์ 

- คนไข้ส่วนใหญ่ที่ไม่มีอาการจะไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อไวรัสนี้ทำให้เป็นตับอักเสบเรื้อรัง เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดตับเเข็งและมะเร็งตับในอนาคต

 

• การติดเชื้อเชื้อไวรัสตับอักเสบดี (HDV) 

- เป็นไวรัสที่ติดต่อได้ทางเลือด เช่น การใช้เข็ม ของมีคมร่วมกัน ส่วนใหญ่พบในคนที่ใช้ยาเสพติด

- การที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดีได้ต้องเป็นคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน เนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสชนิดนี้ต้องอาศัยโปรตีนของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 

- อาการที่พบได้เหมือนกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดอื่นๆ เช่น ไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดใต้ชายโครงข้างขวา อาการจะค่อยๆหายไปและเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้

 

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและดีพร้อมกันจะเป็นอันตรายมากขึ้น!!มากกว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอย่างเดียว เพราะจะเพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งตับขึ้น 2-3 เท่าเลยค่ะ อีกทั้งการรักษายังให้ผลไม่ค่อยดี โอกาสหายน้อยแต่ก็มีวิธีป้องกันคือการฉีดวัคซันป้องกันไวรัสตับอักเสบบีค่ะ เมื่อไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีก็จะทำให้เชื้อไวรัสตับอักเสบดีแพร่กระจายไม่ได้ค่ะ

 

• การติดเชื้อเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HCV) มีความสำคัญรองจากไวรัสตับอักเสบบี

- การติดต่อของไวรัสตับอักเสบซีคล้ายกับบี ได้แก่ การติดต่อจากแม่สู่ลูก การได้รับเลือด การใช้เข็มหรือของมีคมร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย 

- คนไข้มักไม่มีอาการเช่นเดียวกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงไม่รู้ว่าตนเองกำลังมีเชื้ออยู่ซึ่งจะทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง เสี่ยงที่จะเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ 

- มีคนไข้ส่วนน้อยที่มีอาการ ไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดใต้ชายโครงข้างขวา อาการจะค่อยๆดีขึ้นและหายไปเอง

 

• การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป 

- เนื่องจากแอลกอฮอล์ถูกเปลี่ยนแปลง (Metabolism) ที่ตับ เมื่อร่างกายได้รับแอลกอฮอล์ตับจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์และเป็นการเพิ่มการสะสมของกรดไขมันไตรกรีเซอร์ไรด์ที่ตับด้วย หากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินกว่า 80 กรัมต่อวันจะทำให้เกิดไขมันเกาะตับและตับแข็งซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีอาการ 

- หากตับแข็งเนื่องจากตับอักเสบเป็นเวลานานอาจมีอาการแสดง ได้แก่ ต่อมน้ำลายโต, รอยแดงบริเวณฝ่ามือ (Palmar erythema), มองเห็นหลอดเลือดฝอยขึ้นตามผนังทรวงอก (Spider angioma), ท้องโต, ตัวเหลือง ตาเหลือง

 

• ภาวะอ้วนลงพุง จะทำให้ไขมันสะสมในช่องท้องมากและส่วนหนึ่งสะสมที่ตับซึ่งจะทำให้ตับอักเสบเรื้อรัง โรคนี้เป็นภัยเงียบเพราะไม่มีอาการแสดงใดๆ ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคนี้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ 

- ความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอท

- ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) มากกว่า 150 กรัมต่อเดซิลิตร 

- ระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting plasma glucose) มากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

- ระดับคลอเลสเตอร์รอลชนิดดีในเลือด (HDL) ในชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในหญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 

 

ตับอักเสบเรื้อรังเป็นภาวะที่อันตรายในระยะยาวเนื่องจากไม่ค่อยมีอาการแสดง เซลล์ตับจะค่อยๆถูกทำลายไปจนกลายเป็นพังผืดและมะเร็งตับได้ เมื่อเป็นมะเร็งตับเเล้วจะรักษายากหรืออาจพรากชีวิตเราไปได้เลย หมอจึงอยากชวนให้ป้องกันก่อนที่จะเป็นโรคตับอักเสบค่ะ

 

วิธีการป้องกันไวรัสตับอักเสบ


1. การบริโภคอาหารและน้ำ เป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอเเละอีได้เป็นอย่างดี ควรให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำและการรับประทานผักสด แม้ว่าผักจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ก็อาจส่งผลเสียได้ถ้าหากทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ เพราะผักสดอาจมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ วิธีการป้องกันภาวะตับอักเสบจากการรับประทานอาหาร มีดังนี้

• ล้างผักให้สะอาด โดยการใช้น้ำสะอาดไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดสารตกค้างได้ 54 – 63%

• รับประทานอาหารปรุงสุก

• ดื่มน้ำสะอาด และใช้แก้วส่วนตัวเนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบสามารถแพร่ได้ผ่านทางน้ำลาย

• หมั่นล้างมือ และล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำหรือก่อนปรุงอาหารโดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเพราะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

2. การใช้ยา ยาบางชนิดมีผลต่อตับ เช่น ยาพาราเซตามอล หากกินเกิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อการรับประทาน 1 ครั้ง จะทำให้ตับทำงานหนักขึ้น ตัวอย่าง หากน้ำหนัก 60 กิโลกรัม การรับประทานยาพาราเซตามอล 1 ครั้ง ไม่ควรเกิน 900 มิลลิกรัมหรือไม่ควรเกินครั้งละ 2 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) และการรับประทานยาชนิดอื่นๆโดยเฉพาะยา ยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะ ยาสมุนไพร อาหารเสริมและวิตามิน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้เเละทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

3. งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงให้ไขมันเกาะที่ตับ ทำให้ตับอักเสบเรื้องรังได้มากขึ้นเเละเกิดมะเร็งตับ ปริมาณที่แนะนำคือเบียร์ไม่เกิน 1 กระป๋องต่อวัน ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 8-12% ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน

4. สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ นอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซีแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่ออื่น ๆ ที่สามารถติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย

5. ไม่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเข็มฉีดยา เข็มสัก หรือการเจาะหู เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีติดต่อผ่านทางเลือดได้ การไม่ใช้เข็มร่วมกันจะช่วยป้องกันได้6.

6. การฉีดวัคซีน เป็นการป้องกันไวรัสตับอักเสบที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ และบี

• วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ ให้ได้ตั้งแต่เด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ ภูมิคุ้มกันจะเริ่มหลังฉีดเข็มแรก 4 สัปดาห์ และอยู่นาน 20 ปี ผู้ที่มีอายุเกิน 18 ปี ควรทดสอบภูมิคุ้มกันก่อนรับวัคซีน เนื่องจากอาจเคยได้รับเชื้อและมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว

• การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ควรให้กับเด็กทารกหลังคลอด เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักติดจากแม่สู่ลูก

7. ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพราะบางคนได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบแล้วไม่มีอาการ การตรวจสุขภาพจะช่วยให้พบเชื้อและสามารถรักษาได้ทัน การตรวจสุขภาพประจำปีนอกจากจะช่วยตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบแล้ว ยังช่วยให้รู้ทันสภาพร่างกาย และโรคร้ายอื่นๆ อีกด้วย

8. คุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากภาวะอ้วนลงพุงส่งผลให้ไขมันเกาะตับเเละตับอักเสบตามมาได้ ควรมีสัดส่วนตามมาตรฐาน คือ ดัชนีมวลกาย 18-24 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 

 

การป้องกันภาวะตับอักเสบสามารถทำได้ง่ายๆด้วยการปรับพฤติกรรมเเละฉีดวัคซีน ซึ่งได้ผลดีจะทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นตับอักเสบได้ดีค่ะ หรือหากเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเเล้วก็มีเเนวทางการรักษาค่ะ เช่น การรับประทานยาต้านไวรัส การฉีดยาเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน การลดน้ำหนัก เป็นต้น นอกจากการป้องกันและการรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนตะวันตกแล้วศาสตร์การแพทย์แผนไทยก็มีแนวทางการรักษาโรคตับอักเสบเช่นกันค่ะ 

 

การรักษาโรคตับอักเสบตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย


กลไกของโรคตับอักเสบเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น พฤติกรรม อารมณ์ หรือโรคอื่นๆทำให้ตับมีความร้อน เกิดอาการไข้ ตัวร้อน ส่งผลกระทบธาตุลมเเละธาตุน้ำให้ท้องอืด ท้องมาน ปวดชายโครงขวาตามมาได้ การรักษาจะใช้ตำรับยาที่ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีสรรพคุณลดอาการอักเสบในร่างกาย ลดอาการท้องอืด เช่น 

• สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดความร้อนของตับซึ่งเป็นสมุนไพรรสเย็น ได้แก่ หัวเต่าเกียด หญ้าใต้ใบ ตับเต่าน้อย ตับเต่าใหญ่ 

• สมุนไพรลดอาการอักเสบ ดับพิษ ได้แก่ รางจืด ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้

• สมุนไพรช่วยระบาย ถ่ายพิษ ได้แก่ เนื้อในฝักคูณ ใบมะกา

 

โดยแพทย์แผนไทยจะเลือกสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการของผู้ป่วยในการตั้งตำรับยาปรุงเฉพาะรายนอกจากนี้เราจะใช้ตำรับยา เบญจโลกวิเชียรหรือยาห้ารากเพื่อดับพิษร้อนเนื่องจากเป็นยารสเย็น และยาเบญจอำมฤตย์ซึ่งเป็นยาถ่ายในการช่วยระบายถ่ายพิษออกมา ซึ่งตัวยาเหล่านี้ต้องใช้อย่างระมัดระวังและปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด หากยังไม่เป็นโรคตับอักเสบหมอแนะนำสำหรับคนที่ตับยังแข็งแรงให้บำรุงตับด้วยตำรับอาหารเสริมสมุนไพร S-gar+ และผู้ที่มีความเสี่ยงแนะนำให้ล้างสารพิษในตับด้วย Clean & Clear ทุก ๆ 6 เดือน

 

แนวทางในการป้องกันและบำรุงตับจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ

 

1. ระยะของการล้างสารพิษ เหมาะกับผู้ที่ต้องเจอฝุ่น ควัน สารเคมี , ผู้ที่รับประทานยาหรืออาหารเสริมเป็นประจำ , ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ , ผู้ที่สูบบุหรี่ , ผู้ที่รู้สึกอ่อนเพลีย ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของตับที่กำลังทำงานหนักอยู่ , ผู้ที่มีภาวะโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง*

ตำรับยาในการล้างสารพิษตับ จะประกอบด้วยตัวยา 2 ตำรับ คือ 

• Clean เป็นตำรับยาผสมสมุนไพรรางจืด มีส่วนสำคัญในการล้างโลหะหนัก ล้างสารพิษในเลือด กำจัดสารเคมีตกค้างจากยา ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ต้องพบเจอตามแหล่งต่างๆ 

• Clear หรือ ตำรับธรณีสัณฑฆาต เป็นตำรับที่ช่วยแก้กษัย ขับของเสียที่ตกค้างในร่างกาย มีฤทธิ์ในการระบายของเสีย ขับเมือกมันในลำไส้

เมื่อรับประทานควบคู่กันจะช่วยให้ของเสีย สารพิษถูกขับออกได้ดีมากขึ้นกว่าการใช้ตัวใดตัวหนึ่ง แนะนำให้ทานต่อเนื่อง 7-14 วันเพื่อเตรียมพร้อมก่อนรับการบำรุงในขั้นต่อไป

*สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์แผนไทยก่อนรับประทานยา

 

2. บำรุงตับด้วยตำรับ S-Gar+ อาหารเสริมจากสมุนไพร

 

 

S-Gar+ ถูกพัฒนาตำรับมาเพื่อการบำรุงตับโดยเฉพาะ มีส่วนประกอบที่เสริมสร้างการบำรุงตับ ได้แก่

 

• เจียวกู่หลาน หรือ ปัญจขันธ์ เป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ที่ตับโดยตรงและส่งผลไปยังระบบไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ลดคอเรลเตอรอล กำจัดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาเส้นเลือดอักเสบที่เกิดจากไขมันและน้ำตาลอันเป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า อาการไมเกรน 

• เห็ดหลินจือ อีกหนึ่งสุดยอดสมุนไพรรักษาตับ รักษาเซลล์ตับที่เสื่อม เมื่อตับทำงานได้ดี สารพิษตกค้างในร่างกายก็ลดลง

• อาร์ทิโชก สารสกัด Artichoke สมุนไพรลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดัน ลดน้ำตาล เพิ่มปริมาณน้ำดีในตับ ซึ่งทำให้ลำไส้ย่อยไขมันได้ดี ไขมันไม่ตกค้างในร่างกาย

• แดนดิไลอ้อน ดอกและรากของ Dandilion เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยจับสิ่งแปลกปลอมในเส้นเลือด เช่น น้ำตาลและไขมัน ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และยังเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอีกด้วย

 

สรรพคุณโดยรวมของ S-Gar+ จะช่วยลดการสะสมของไขมันในตับ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอลในร่างกาย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ตำรับนี้สามารถรับประทานต่อเนื่องได้ตั้งแต่ 3-6 เดือน เพื่อฟื้นฟูการทำงานของตับให้ทำงานได้ดีขึ้น สำหรับผู้อ่านที่กำลังมีปัญหาเหล่านี้หรือต้องการดูแลสุขภาพตับสามารถปรึกษาทีมแพทย์แผนไทยโดยตรงได้เลยค่ะ 

 

ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับการใช้สมุนไพรบำรุงตับและ S-Gar+ สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ ติดต่อทาง Line id : @poonrada หรือ โทร 02-1147027 นะคะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า