ปัสสาวะปนเลือด สัญญาณบอกโรค อันรายแค่ไหน? คุณหมอมีคำตอบ

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

ปัสสาวะปนเลือด สัญญาณบอกโรค อันรายแค่ไหน? คุณหมอมีคำตอบ

“ปัสสาวะปนเลือด ไม่ใช่อาการที่จะนิ่งนอนใจ หากเป็นแล้วควรรีบรักษาก่อนอาการจะเป็นหนักขึ้น” ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าปัสสาวะปนเลือดเกิดจากอะไร บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง ถ้าเป็นแล้วมีอันตรายแค่ไหน วันนี้แพทย์แผนไทยที่ให้การดูแลคนไข้อาการเกี่ยวกับปัสสาวะผิดปกติจะมาให้คำตอบกันค่ะ

 

ปัสสาวะปนเลือด เกิดจากอะไร 


ปัสสาวะปนเลือดหรือฉี่ปนเลือดเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะได้แก่

 

• ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ เช่น โรคเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

• ความผิดปกติที่ต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะ เช่น โรคต่อมลูกหมากโตในเพศชาย มะเร็งต่อมลูกหมากโต อาการท่อปัสสาวะอักเสบ

• ความผิดปกติของไต เช่น โรคนิ่วในไต เนื้องอกในใต ไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ

• ความผิดปกติจากท่อไต เช่น เนื้องอกในท่อไต นิ่วในท่อไต

• สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่

- ภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น โรค Hemophillia , โรคที่เกิดความผิดปกติจากการแข็งตัวของเกล็ดเลือด Von Willebrand’s disease

- ในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือดและยาละลายลิ่มเลือดในปริมาณสูง เช่น ยาแอสไพริน วาฟาริน เฮพาริน

- การออกกำลังกายหนักเกินไป

- อุบัติเหตุที่ส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น เกิดการกระแทกรุนแรงที่ช่องท้องจนไปกระทบไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

- ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน

- มะเร็งปากมดลูก (มักพบร่วมกับความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือน)

 

ลักษณะของอาการปัสสาวะปนเลือด คือ การที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมากับปัสสาวะจนสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจจะเห็นเป็นสีเลือดสด แดงจาง ๆ ชมพู สีดำคล้ายสีโค้ก หรือบางคนไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าแต่ตรวจพบเจอในห้องปฏิบัติการหรือจากการส่องกล้องจุลทรรศน์

 

อาการที่มักพบได้เมื่อมีปัสสาวะปนเลือด เช่น มีไข้ ปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีฟองหรือมีตะกอน ปัสสาวะสีขุ่น ปวดบั้นเอว คลำได้ก้อนที่ท้องน้อย เป็นต้น อาการเหล่านี้จะช่วยหมอในการวินิจฉัยแยกโรคได้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง

 

ใครมีความเสี่ยงจะมีอาการปัสสาวะปนเลือดได้บ้าง


• ผู้ที่กลั้นปัสสาะวะบ่อย ๆ ปัสสาวะเล็ด แสบขัดเวลาปัสสาวะ

• ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สัมผัสกับสารพิษ (เบนซีน/สีย้อมผ้า) หรือเคยมีประวัติได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน

• ผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจต่อมลูกหมากเป็นประจำ

• ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับไต

• ผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ

 

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดทางห้องปฏิบัติการ

จะมีการตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูหากพบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 3 ตัว จะยืนยันว่ามีอาการปัสสาวะเป็นเลือด และตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม ได้แก่

• ตรวจระดับ creatinine ในเลือด : บ่งบอกประสิทธิภาพการทำงานของไต หากมีค่าสูงแสดงว่าการทำงานของไตเสื่อมลง

• ตรวจดูลักษณะของไตและท่อไต โดยการ CT urography หรือ MRI เพื่อหาความผิดปกติ

• ตรวจดูเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะด้วยการ Cystoscopy เพื่อพิจารณาสาเหตุที่ทำให้เลือดออกจากท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ

• ตรวจต่อมลูกหมาก ในผู้ป่วยชาย

• ตรวจภายในช่องคลอด ในผู้ป่วยหญิง

 

การรักษาและการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์แผนไทย

แพทย์แผนไทยมีการกล่าวถึงโรคที่เกี่ยวกับปัสสาวะที่ผิดปกติ ในคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา เป็นตำราที่ว่าด้วยโรคทางบุรุษและสตรี สำหรับอาการผิดปกติของปัสสาวะจะแบ่งเป็นโรคที่เกิดได้ในชายและหญิง

 

โรคปัสสาวะผิดปกติในเพศชาย เรียกว่า ทุราวสา แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ

 

1. ปัสสาวะออกมาสีขาว ขุ่น ดังน้ำข้าวเช็ด : มักเป็นอาการของกรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีน้ำเหลืองปนอยู่ในปัสสาวะ หรือโปรตีนมากเกินไปในร่างกาย หรือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ กามโรค

2. ปัสสาวะออกมาสีเหลือง ดังน้ำขมิ้นสด : การดื่มน้ำน้อย ร่างกายขาดน้ำ ปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดีและตับ หรืออาจจะทานแครอท หรือวิตามิน B2 มากจนเกินไป การรับประทานยาบางชนิด หากสีเข้มมาก อาจจะเป็นภาวะดีซ่าน กล้ามเนื้อลายสลาย (ภาวะ rhabdomyolysis)

3. ปัสสาวะออกมาเป็นโลหิตสด ๆ แดงดังน้ำฝางต้ม : กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไตอักเสบ นิ่วในทางเดินปัสสาะวะ เนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ การออกกำลังกายอย่างหนักจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ 

4. ปัสสาวะออกมาสีดำ ดังน้ำคราม (น้ำครำ) : โรคตับ มะเร็งผิวหนัง ผลข้างเคียงจากยาควีนินที่ใช้ป้องกันโรคมาลาเรีย ยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาโซล

 

ทั้ง 4 ลักษณะจะมีอาการร่วมคือ ปวดหัวเหน่า แสบองคชาต ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาว เป็นไปต่าง ๆ 

 

โรคปัสสาวะผิดปกติในเพศหญิง เรียกว่า มุตคาต และ มุตกิต คือลักษณะอาการที่น้ำปัสสาวะมีความผิดปกติ แบ่งออกเป็นอย่างละ 4 ชนิด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะมุตกิต เนื่องจากมุตฆาตตามตำราจะเกิดจากการกระทบให้ชอกช้ำจึงสำแดงโทษมาเป็นอาการซึ่งไม่ตรงกับอาการปัสสาวะปนเลือดที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมตามปกติ 

 

มุตกิจ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ

1. ปัสสาวะออกมาดุจโลหิตช้ำ และดังน้ำปลาเน่า

2. ปัสสาวะออกมาเป็นโลหิตจาง ดุจน้ำชานหมาก

3. ปัสสาวะออกมาเป็นน้ำหนองจาง ๆ ดุจน้ำซาวข้าว

4. ปัสสาวะออกมาเป็นเมือกคล่อง ๆ ขัดๆ หยดย้อย ดุจน้ำมูกไหลเลือกออกมา

 

อาการ กระทำให้เจ็บ ให้ขัดไหลหยดย้อยออกมา แล้วให้ปวดหัวเหน่า ข้อตะโพก แสบในอก บริโภคอาหารไม่รู้รส ทั้งนี้เกิดเพื่อให้โลหิตช้ำ

 

ทั้งหมดจะเป็นอาการปัสสาวะปนเลือด แต่แตกต่างกันที่ลักษณะสีของปัสสาวะ​ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นและจ่ายยาตามอาการได้ ถ้าหากเทียบกับโรคทางแผนปัจจุบัน สามารถเป็นได้ตั้งแต่ อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ปากมดลูกอักเสบ เชื้อราในช่องคลอด เป็นต้น

 

ตัวยาที่ใช้ในการรักษาตามตำรา

 

• ยาแก้ทุราวสาปัสสาวะออกมาเป็นโลหิตสด ๆ แดงดังน้ำฝางต้ม

 

ส่วนประกอบ หัวแห้วหมู รากมะตูม เทียนดำ รากเสนียด ใบสะเดา รากอังกาบ ผลเอ็น โกฐสอ เกลือสินเธาว์ อย่างละ 1 ส่วน นำตัวยาบดเป็นผง ละลายน้ำอ้อยแดงเป็นน้ำกระสายยา

 

• ยาแก้อาการมุตกิต

 

ขนานหนึ่ง เอาหัวแห้วหมูใหญ่ เทียนดำ ผลมะตูม อำพัน ว่านเปราะ รากอังกาบ โกฐพุงปลา ว่านนางคำ ว่านสากเหล็ก ยางงิ้ว การบูร ผลเอ็น สารส้ม ดีปลี อย่างละ 1 ส่วนเสมอภาค บดเป็นผง ละลายน้ำผึ้งกิน

 

จากการวิเคราะห์ตำรับตามคัมภีร์จะประกอบด้วยตัวยาที่มีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้

 

• กลุ่มยาขับลม ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว : หัวแห้วหมู เทียนดำ รากมะตูม รากเสนียด ใบสะเดา รากอังกาบ ผลเอ็น ผลมะตูม เกลือสินเธาว์ น้ำอ้อยแดง ว่านเปราะ ว่านนางคำ การบูร สารส้ม ดีปลี

• กลุ่มยาที่ช่วยฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะ : เทียนดำ หัวแห้วหมู ว่านนางคำ ว่านเปราะ การบูร สารส้ม ดีปลี

• กลุ่มยาต้านอาการอักเสบ ลดไข้  : โกฐสอ โกฐพุงปลา ว่านเปราะ ว่านสากเหล็ก ยางงิ้ว ดีปลี น้ำผึ้ง

• กลุ่มยาเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน : โกฐสอ ผลมะตูม น้ำผึ้ง

 

หลักการในการรักษาของแพทย์แผนไทย ไม่ต่างจากแนวทางการรักษาในปัจจุบัน คือเน้นการขับของปัสสาวะและฆ่าเชื้อภายใน เพื่อแก้อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นหลักการนี้จึงเป็นที่มาของการพัฒนาตำรับในการรักษาตามแนวทางของปุณรดายาไทย ดังต่อไปนี้

 

การรักษาด้วยตำรับยาสมุนไพรของปุณรดายาไทย

 

การรักษาอาการปัสสาวะปนเลือด โดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมถึงต่อมลูกหมากโต ทางการแพทย์แผนไทยมีวิธีการรักษาโดยการใช้ตำรับยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลัก 2 อย่าง คือ สรรพคุณในการฆ่าเชื้อและสรรพคุณในการขับปัสสาวะ เพื่อให้ครอบคลุมการรักษาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดขึ้น

การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยชุดยาสมุนไพร UT-Set ของปุณรดายาไทย มีรายละเอียดชุดการรักษา ดังนี้ค่ะ

 

1. สมุนไพร B-Boost สมุนไพรสารสกัดพลูคาว: ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อในกระเพาปัสสาวะ

 

 

สมุนไพร B-Boost เป็นยารับประทานชนิดแคปซูล มีส่วนประกอบของ พลูคาว เหงือกปลาหมอ แก่นแกแล และอื่นๆ มีสรรพคุณ ช่วยฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ลดอาการแสบขัด ลดปวดเสียวเวลาที่ถ่ายปัสสาวะ ลดอาการปัสสาวะปนเลือด ทำให้เลือดลมบริเวณกระเพาะปัสสาวะไหลเวียนได้ดีขึ้น ปัสสาวะสุดมากขึ้น ลดการสะสมของแบคทีเรียภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อน มีสรรพคุณต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ฆ่าเชื้อที่ก่อให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อป้องกันการกลับมาติดเชื้อซ้ำ

 

2. น้ำย่านางสูตร Balance Gold: ขับเชื้อออกทางปัสสาวะ

 

 

น้ำย่านางสูตร Balance Gold มีส่วนประกอบของสมุนไพรฤทธิ์เย็น ได้แก่ ย่านาง ใบเตย ใบบัวบก เชียงดา สมอไทย ดอกสายน้ำผึ้ง และดอกเก๊กฮวย มีสรรพคุณ ช่วยลดการอักเสบ ลดการสะสมของความร้อนทั้งภายในและภายนอก ลดอาการแสบร้อนบริเวณทางเดินปัสสาวะ และช่วยขับเชื้อให้ออกจากทางเดินปัสสาวะทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะกลับมาทำงานได้อย่างปกติ


 

วิธีดูแลตัวเองและป้องกันอาการปัสสาวะปนเลือด

 

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย คือ 5% ของน้ำหนักตัวโดยประมาณ และหมั่นสังเกตปริมาณน้ำที่ดื่มและปัสสาวะ ให้มีปริมาณที่พอดีกัน ไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป

2. ทำความสะอาดอวัยวะเพศอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะในผู้หญิง ควรทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ

3. หลังมีเพศสัมพันธ์ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องปัสสาวะ และทำความสะอาดอวัยวะเพศโดยทันทีเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ

4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการทำงานในที่ ๆ ใช้สารเคมีที่มีโอกาสส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะได้

5. ดื่มน้ำสมุนไพรที่มีสรรพคุณขับปัสสาวะ เช่น น้ำตะไคร้ น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำขิง และสมุนไพรฤทธิ์เย็นที่มีสรรพคุณลดการอักเสบ เช่น น้ำย่านาง น้ำใบเตย

6. งดทานอาหารแสลง ประเภท ส้มตำ ปลาร้า ของหมักดอง กะปิ เนื้อเป็ด เนื้อวัว เนื้อหมู ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์จากนม และของรสจัดทุกชนิด เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้อักเสบ และมีผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ

7. ไม่กลั้นปัสสาวะ ควรปัสสาวะทันทีที่มีอาการปวด และเตรียมความพร้อมก่อนออกไปข้างนอกด้วยการเข้าห้องน้ำปัสสาวะให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการกลั้นปัสสาวะระหว่างเดินทาง

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ อาการปัสสาวะปนเลือดน่ากลัวเหมือนที่หลาย ๆ คนคิดไหมคะ จริง ๆ โรคนี้มีมาตั้งแต่อดีต แพทย์แผนไทยโบราณได้รวบรวมตำรับตำราการรักษามาไว้อย่างถี่ถ้วน จำแนกรายละเอียดไว้หลายอย่าง ทำให้การรักษาเฉพาะและตรงจุด เมื่อเรานำความรู้ในอดีตมาผสานเข้ากับการรักษา รวมไปถึงอาการโรคในปัจจุบันจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 

ยิ่งเราสังเกตตัวเอง ทราบสาเหตุที่มาของอาการได้ดีเท่าไหร่ ก็ทำให้การรักษาอาการตรงจุดมากขึ้นค่ะ หากใครเริ่มมีอาการปัสสาวะปนเลือดหมออยากให้ลองสังเกตอาการ รวมไปถึงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันไม่ให้อาการเป็นหนักมากขึ้น และช่วยให้อาการหายได้เร็วขึ้นด้วยนะคะ 

 

หากท่านใดมีปัญหา​เกี่ยวกับอาการปัสสาวะปนเลือด ต้องการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ปลอดภัย ไร้สารเคมี สามารถ​ปรึกษา​หมอโดย​ตรงเพื่อรับคำแนะนำและออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล​เพิ่มเติมได้เล​ยนะคะ​

 

​ปรึกษาอาการกับหมอ ได้โดยตรงที่ Line ID : @poonrada หรือ โทร. 02-1147027 หมอยินดีให้คำปรึกษาค่ะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027

 


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า