สาเหตุโรคสะเก็ดเงิน ใครมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นบ้าง?

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

สาเหตุโรคสะเก็ดเงิน ใครมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นบ้าง?

ต้องบอกก่อนว่าช่วงโควิดที่ผ่านมา หมอได้พบคนไข้ที่มีอาการสะเก็ดเงินเพิ่มเยอะขึ้น ทั้งคนไข้ใหม่ที่พึ่งเริ่มมีอาการและคนไข้ที่เคยเป็น อาการสงบลงแต่กลับมากำเริบซ้ำ อาการเยอะ-น้อยต่างกันตามปัจจัยกระตุ้น

 

วันนี้หมอเลยมีความตั้งใจอยากจะมาบอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันว่า โรคสะเก็ดเงินนี้มีอาการอย่างไร สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการมีอะไรบ้าง และวิธีการรักษา ฟื้นฟูและป้องกัน เผื่อใครกำลังมีอาการ หรือ มีคนใกล้ตัวเป็นจะได้เข้าใจวิธีการรักษาและเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับร่างกายตนเองกันนะคะ

 

โรคสะเก็ดเงิน คืออะไรและสาเหตุมาจากอะไร?


โรคสะเก็ดเงิน คือ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวทำงานเพิ่มขึ้น โดยทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้เซลล์ผิวหนังเกิดการแบ่งตัวเร็วขึ้นจนเกิดการอักเสบและแสดงออกมาเป็นอาการผื่นแดง จนผิวหนังรู้สึกอักเสบ บวม แห้ง คัน และเกิดเป็นขุยสะเก็ดสีขาว ออกสีเงินปกคลุม เลยเป็นที่มาของคำว่า “สะเก็ดเงิน”

 

จุดที่น่าสนใจคือ การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานมากขึ้น เพราะปกติแล้วสิ่งที่กระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานก็คือ เชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงาน ทำหน้าที่ปกป้องร่างกาย จากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย สารพิษ เชื้อรา ยีสต์ ปรสิต และสารแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดสารพิษ สารตกค้าง ช่วยฆ่าเชื้อและขับสิ่งแปลกปลอมให้ออกจากเซลล์ในร่างกาย 

 

การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานเพิ่มมากขึ้นแสดงว่าร่างกายเราได้รับสารก่อโรค สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายเยอะหรือบ่อย ซึ่งตอนนี้เราทุกคนอยู่ในยุคที่มีเชื้อไวรัส(Covid-19)ปะปนอยู่ในการใช้ชีวิตตลอดเวลา ความตึงเครียด ชีวิตที่กดดัน ความเร่งรีบ อาหารที่มีให้เลือกเพิ่มขึ้นมากมาย แปลกใหม่ แต่บางครั้งก็มาพร้อมสารเคมี สารปนเปื้อนจากกรรมวิธีในการปรุงอาหาร อาหารแปรรูป ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เราได้รับสารก่อโรค และ สร้างสารที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันตลอดเวลา นานวันเข้าร่างกายเราก็อ่อนแอลงเพราะขาดสารสำคัญที่ร่างกายจะนำไปสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ การที่เม็ดเลือดขาวทำงานทำงานมากขึ้น ก็เหมือนการที่ร่างกายเรามีการสู้รบ ต้องเตรียมจู่โจมพร้อมสู้อยู่ตลอด ไม่ได้พักสบายๆ ผ่อนคลายเลย คิดว่าร่างกายเราจะเหนื่อยล้าไหมคะ

 

แล้วใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นสะเก็ดเงิน?


1. ผู้ที่มีความเครียด 

โดยเฉพาะภาวะเครียดที่ส่งผลทำให้เกิดอารมณ์โกรธ กังวล หงุดหงิด ซึมเศร้า หรือจะเรียกว่าเป็นอารมณ์ที่สามารถส่งผลต่อภาวะเครียด ย่อมเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการเกิดโรคสะเก็ดเงินได้ไม่น้อย เพราะเมื่อเกิดความเครียด ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะต่ำลง ส่งผลให้เซลล์เกิดความผิดปกติที่ทำให้เป็นโรคได้ โดยความเครียดเกิดขึ้นได้ตลอดจากการสะสมอารมณ์ด้านลบ ทั้งจากงาน การใช้ชีวิต เมื่อไหร่ที่เกิดอารมณ์ด้านลบ ควรรีบดูแล จัดการให้จิตใจคลายอารมณ์ลบต่างๆลง

 

2.ผู้ที่พักผ่อนน้อย

การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลต่อร่างกาย และ ระบบภายใน ระบบฮอร์โมนโดยตรง เพราะเราใช้งานร่างกายเกินกำลัง การพักผ่อนถือเป็นการซ่อมแซมร่างกาย หากไม่ได้นอนพักผ่อนเต็มที่ ก็ส่งผลให้การซ่อมแซม รักษา ปรับสมดุลของระบบภายในทำได้ไม่เต็มที่ ปล่อยไว้ก็ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย ติดเชื้อได้ง่าย ถ้าไม่สบายอยู่และยังพักผ่อนน้อยอาการเจ็บป่วยก็จะหายช้า เรื้อรัง

 

3.ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดการอักเสบภายใน เพราะเวลาที่ร่างกายได้รับแอลกอฮอล์ จะเกิดกระบวนการย่อย การย่อยเพื่อขับออกจะมีกระบวนการที่เป็นขั้นตอน การดื่มที่ตับไม่สามารถย่อยสลายได้สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารตกค้างในกระบวนการย่อย เกิดการคั่งค้าง ซึ่งสารดังกล่าวนี้เป็นพิษทำลายเซลล์ตับ ขัดขวางการทำงานของตับ การสลายของไขมัน ทำให้ไขมันสะสมในเซลล์ตับเพิ่มขึ้น พอตับทำงานมีปัญหาก็ส่งผลต่อกระบวนการขับสารพิษออกจากร่างกาย

 

4.มีคนในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินสามารถที่จะเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม โดยสามารถที่จะส่งผ่านพันธุกรรมมาที่ลูก ได้ทั้งจากพ่อและแม่ โดยจะมีเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงสูง หากว่าพ่อและแม่เป็นโรคสะเก็ดเงินทั้งคู่

 

5.การใช้ยารักษาความดัน โรคหัวใจ และ ยารักษาโรคทางจิตเวช

การใช้ยาบางชนิดก็สามารถส่งผลให้เกิดโรคสะเก็ดเงินได้ ซึ่งยาที่ส่งผล ได้แก่ ยาลิเทียม (Lithium) ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์และโรคทางจิต ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจอย่างยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) หรือยาในกลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitors) ยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) ที่เป็นยาต้านการอักเสบ ยากลุ่มCCB(Calcium-Channel blocker)และยาขับปัสสาวะ(Thiazide diuretics) มีการศึกษาเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาลดความดันพบว่า การได้ยาลดความดัน มีผลทำให้พบการเกิด โรคสะเก็ดเงิน มากขึ้น โดยพบใน ยาลดความดันโลหิตทุกกลุ่ม

ซึ่งยากลุ่ม ACEI มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคสะเก็ดเงินมากที่สุด คือ เป็น2.09เท่าของประชากรทั่วไป รองลงมาคือ กลุ่มThiazide > CCB > Beta Blocker ตามลำดับ 

(ข้อมูลจาก:https://cimjournal.com/medical-news/antihypertensive-psoriasis/)

 

6.ผู้ที่มีความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

เมื่อระดับฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นสาเหตุกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินได้ง่าย เช่น ภาวะหมดประจำเดือน หรือ การมีประจำเดือนที่ผิดปกติ การตั้งครรภ์ และ หลังคลอด

 

7.ผู้ที่พฤติกรรมทำลายสุขภาพ

โดยพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินคือ พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำลายสุขภาพต่อเนื่อง เช่น การสูบบุหรี่  รับประทานอาหารที่มีกรดยูริก อาหารที่มีไขมันสูง และ ทานสัตว์เนื้อแดงเป็นประจำ(เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ ห่าน เป็ด) ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นตัวที่ทำให้เกิดการอักเสบภายในเซลล์ต่างๆในร่างกาย หากทานต่อเนื่องก็จะเกิดภาวะเซลล์อักเสบเรื้อรัง เวลาเกิดอาการอักเสบ ร่างกายก็จะเกิดความร้อนขึ้น ความร้อนนี้เองที่ส่งผลต่อเซลล์ผิว ทำให้ผิวแห้ง แตก ถ้าปล่อยให้ผิวแห้งมากๆก็จะเกิดอาการคัน เกิดแผลได้ง่าย และ การเล่นกีฬาก็สามารถที่จะกลายเป็นสาเหตุของการเกิดโรคสะเก็ดเงินขึ้นได้ หากเล่นกีฬามากเกินไปโดยไม่มีขีดจำกัด หักโหม

 

8.ผู้ที่ติดเชื้อ ระหว่างที่มีอาการสะเก็ดเงิน

เมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงิน หมายถึง ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ และเมื่อติดเชื้อในขณะที่กำลังมีโรคสะเก็ดเงิน ก็อาจจะทำให้โรคสะเก็ดเงินมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะเหมือนเป็นการกระตุ้นโรค โดยเฉพาะเชื้อบริเวณลำคอและระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัด ปอดบวม หลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ คออักเสบ หรือเชื้อเอชไอวี

    

9.ผู้ที่น้ำหนักเกิน โรคอ้วน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีปัญหาน้ำหนักเกินอาจมีแนวโน้มเกิดรอยพับหรือย่นบริเวณผิวหนังได้มากกว่าคนทั่วไป และระบบในร่างกายมักทำงานไม่ปกติ ค่าน้ำตาล ไขมัน มักผิดปกติสิ่งเหล่านี้อาจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการไหลเวียนเลือดโดยตรง


 

ลองเช็คกันดูนะคะว่าท่านผู้อ่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มไหนรึเปล่า และวันนี้นอกจากจะพูดถึงข้อมูลทางการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว หมอจะขอยกข้อมูลจาก คัมภีร์วิถีกุฏฐโรค ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งคัมภีร์ได้กล่าวถึง “โรคเรื้อนกวาง” ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า โรคสะเก็ดเงิน ไว้ตรงกับอาการโรคในปัจจุบันนี้มาก แม้ว่าเวลาจะผ่านมานานแล้ว จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคที่เกิดใหม่ เพียงแต่เหตุ ปัจจัยกระตุ้นในยุคนี้ทำให้โรคที่มีมาแต่โบราณกลับมากำเริบ เพิ่มปริมาณมากขึ้น และมีท่าทีว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆถ้าภูมิคุ้มกันของเรายังคงอ่อนแอและทำงานผิดปกติ เรามาดูข้อมูลในคัมภีร์โบราณกันค่ะว่ากล่าวไว้เช่นไรบ้าง

 

คัมภีร์วิถีกุฎฐโรค เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงโรคเรื้อนต่างๆ ซึ่งมีที่มาจากหลายสมุฏฐาน(สาเหตุ) ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน โรคเรื้อน คือ โรคติดเชื้อเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อ Mycobacterium leprae และในทางการแพทย์แผนไทย กล่าวไว้ว่า โรคเรื้อนบังเกิดด้วย “กิมิชาติ” (เชื้อโรค) เบียดเบียน กัดกินอยู่ในร่างกาย คือ โรคอยู่ในกระดูกและชิ้นเนื้อของตนเองเป็นเหตุ(แหล่งกำเนิดโรค)

 

ในกลุ่มอาการโรคเรื้อนตามคัมภีร์ ที่กล่าวถึงลักษณะอาการที่คล้ายโรคสะเก็ดเงินมีด้วยกัน 2 อาการคือ 

เรื้อนกวาง

“...ลักษณะเรื้อนกวาง เมื่อจะบังเกิดนั้น เกิดขึ้นตามข้อมือและข้อเท้า และกำด้นต้นคอกระทำให้เป็นน้ำเหลืองลามออกไป ครั้นต้องยาเข้าก็แห้งเข้า บางทีก็หายขาด บางทีก็ไม่หาย แต่ไม่ตายเป็นแต่ลำบาก...”

และเรื้อนมูลนก

“...ลักษณะเรื้อนมูลนกนั้น เมื่อจะบังเกิดนั้นผุดขึ้นมาเป็นแว่น เป็นวงขึ้นตามผิวหนัง เล็กก็มี ใหญ่ก็มี มีสีขาวนุงๆ ขอบนั้นนูน ดูสัณฐานดังกลาก พรรนัย ทำให้คัน ถ้าแก่เข้าลามไปทั้งตัว พยาธิอันนี้หายบ้างมิหายบ้าง...”

 

โดยสามารถเขียนเป็นกลไกการเกิดโรคในทางการแพทย์แผนไทย เพื่อสร้างความเข้าใจ ได้ดังนี้ 

 

สะเก็ดเงินเกิดจากเลือดและน้ำเหลืองที่ผิดปกติ พอมีปัจจัยอื่นๆ มากระทบ กระตุ้น เช่น อาหารแสลง ความเครียด อากาศ หรือยาบางชนิด จะส่งผลกระทบต่อระบบธาตุในร่างกาย โดยเริ่มต้นจะกระทบธาตุไฟ หรือ ความร้อนในร่างกายก่อน จากการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่กระทำมาเป็นเวลานาน เช่น ความเครียด พักผ่อนน้อย สภาพอากาศ การทานอาหารแสลง ดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ จะมีผลให้ธาตุไฟกำเริบ(ทำงานมากขึ้น) กระทบต่อธาตุน้ำ(เลือด น้ำเหลือง ของเหลวทั้งหมดในร่างกาย) จนทำให้การทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้น้ำเหลืองเสีย แสดงอาการเป็นผื่นที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีรอยผุดขึ้นเป็นแว่น เป็นวง ตามผิวหนัง เล็กบ้างใหญ่บ้าง มีสีขาว มีขอบนูนเล็กน้อย เมื่อสัมผัสที่ผื่นนั้นก็จะรับรู้ได้ถึงความร้อน กำเริบมากก็จะเห่อบวมแดงมาก นอกจากนี้ การที่ธาตุไฟ เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระตุ้นให้ วาตะ หรือ ธาตุลม(ลมที่ทำให้เลือดเกิดการไหลเวียน ลมหายใจ ลมที่พัดทั่วตัว)กำเริบได้เช่นกัน จึงส่งผลแสดงออกมาเป็นอาการคันที่ผื่นได้

 

ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีอาการโรคไม่เหมือนกันซะทีเดียวหากตำแหน่งที่เกิดต่างกัน โดยในปัจจุบัน 

โรคสะเก็ดเงิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด โดยจะมีวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น ลงรายละเอียดไปจนถึงอาการของผื่นสะเก็ดเงินทั้ง 8 ชนิด มาฝากกัน เรามาลองเช็คไปพร้อมๆกันนะคะว่าผื่นสะเก็ดเงินที่เราเป็น จัดอยู่ในประเภทไหน

 

วิธีสังเกตอาการสะเก็ดเงินเบื้องต้น

เนื่องจากโรคสะเก็ดเงินมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปอาการจะประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. ผื่นแดงบริเวณผิวหนัง ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีขาวหรือสีเงิน

2. มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน หรือเจ็บบริเวณผื่น

3. ผิวหนังแห้งและแตก และอาจมีเลือดออก

4. เล็บหนา เล็บมีจุด หรือเล็บขรุขระ

5. มีอาการบวมตามข้อ และข้อยึด

 

ซึ่งหากมีอาการผื่นที่ผิดปกติ บริเวณผิวหนัง แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

 

ลักษณะอาการของสะเก็ดเงินทั้ง 8 ชนิด


1.ชนิดผื่นหนา ซึ่งเป็นชนิดที่ พบได้บ่อยที่สุด 

อาการ: มีผื่นแดง ขอบเขตของรอยแดงชัดเจน มีขุยหนาสีขาว ออกสีเงินในบางราย 

บริเวณที่พบการเกิดได้บ่อย คือ ข้อศอก หัวเข่า หนังศีรษะ ลำตัว แขน ขา มักเกิดบริเวณที่มีการเสียดสี

 

2.ชนิดผื่นขนาดเล็ก

อาการ: มีตุ่มแดงคล้ายหยดน้ำ ขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร และมีขุย

จากสถิติพบว่า อาการสะเก็ดเงินแบบผื่นเล็กมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี และ มีประวัติการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนมาก่อน

 

3.ชนิดตุ่มหนอง

อาการ: มีตุ่มหนองกระจายอยู่บนผิวหนังที่มีอาการอักเสบแดง ถ้าหากมีอาการมาก อาจมีไข้ร่วมด้วย

 

4.ชนิดผื่นแดงลอกทั้งตัว สะเก็ดเงินชนิดนี้ถือได้ว่าเป็น ชนิดรุนแรง

อาการ: ผิวหนังมีลักษณะแดง มีขุยลอก เกือบทั่วผิวของร่างกาย

สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ การขาดยาแบบกระทันหัน หรือ ได้รับปัจจัยกระตุ้นอาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายแพ้จึงทำให้เกิดอาการอักเสบรุนแรง

 

5.ชนิดผื่นบริเวณซอกพับ

อาการ: เกิดบริเวณซอกพับของร่างกาย ได้แก่ รักแก้ ขาหนีบ ใต้ราวนม โดยผื่นจะมีอาการแดงเรื้อรังแต่ไม่ค่อยมีขุย

 

6.ชนิดที่เกิดบริเวณมือ-เท้า

อาการ: บริเวณมือ เท้า จะมีผื่นแดง ขอบเขตชัดเจน มีขุยลอก และผื่นอาจลามมาบริเวณหลังมือ หลังเท้าได้ด้วย

 

7.ชนิดสะเก็ดเงินที่เล็บ

อาการ: บริเวณเล็บจะร่อนออกจากตัวเนื้อ ผิวเล็บมีสีขาวขุ่น หรือ บางรายอาจจะเล็บเป็นหลุม เล็บหนาตัวขึ้น จนไปถึงเล็บผิดรูป

 

8.ชนิดสะเก็ดเงินข้ออักเสบ อาการข้ออักเสบจะเกิดตามหลังผื่นผิวหนังอักเสบ หรืออาจเกิดพร้อมๆ กับผื่นผิวหนังอักเสบ หรือ มีอาการทางข้ออักเสบนำมาก่อนก็ได้

อาการ: จะพบว่ามีความผิดปกติมีอาการอักเสบของข้อร่วมด้วย พบได้ทั้ง ข้อเล็ก ข้อใหญ่ ซึ่งอาจเป็นข้อเดียว หรือ หลายข้อ แต่ส่วนที่พบบ่อยคือ ข้อนิ้วมือส่วนปลาย ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อกระดูกคอ กระดูกสันหลัง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะเกิดอาการพิการของข้อได้!!

 

เป็นยังไงกันบ้างคะกับข้อมูลอาการของสะเก็ดเงินที่หมอรวบรวมมาแบ่งปัน รวมถึงข้อมูลอาการสะเก็ดเงินทั้ง 8 ชนิด หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ หลังจากที่เรารู้จักรายละเอียดอาการ สาเหตุการเกิดกันแล้ว ต่อไปหมอจะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีการรักษา โดยหมอได้รวบรวมมาทั้งการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน และ แพทย์แผนไทย เมื่อให้ทุกคนได้รู้รายละเอียด เข้าใจกลไก เปรียบเทียบการรักษาก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับความพร้อมและความต้องการ

 

การรักษาสะเก็ดเงินในทางแพทย์แผนปัจจุบัน


ก่อนการรักษา คุณหมอจะมีการแบ่งระดับความรุนแรงของอาการออกเป็น 2 ระดับ

 

1. ระดับรุนแรงน้อย คือ มีผื่นสะเก็ดเงินน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย

 

โดยเปรียบเทียบประมาน 1 ฝ่ามือ เท่ากับพื้นที่ประมาน 1% ในระดับความรุนแรงน้อยนี้ คุณหมอจะเลือกจ่าย ยาทาภายนอก เป็นอันดับแรก

 

2.ระดับรุนแรงมาก คือ มีผื่นสะเก็ดเงินมากกว่า 10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย

 

ในระดับความรุนแรงมากนี้ คุณหมอมักจะเลือกใช้ยาชนิดรับประทาน หรือ การฉายแสงอาทิตย์เทียม ควบคู่กับการใช้ยาทาภายนอก


 

ยาทาผื่นสะเก็ดเงิน : ปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกันประมาน 6 ชนิด

 

1.ยาทาคอติโค สเตียรอยด์ (Topical Cortico Steroids)หรือยาทากลุ่มสเตียรอยด์

 

รูปแบบ: ครีมขาว ขี้ผึ้ง ครีมเหลว ครีมน้ำนม

กลไกการทำงาน: เป็นยาที่นิยมใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินมากที่สุด มีหลายรูปแบบ การใช้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น เช่น หากผู้ป่วยมีผื่นหนาที่แขน ขา มือ เท้า ให้ใช้ยาในรูปขี้ผึ้ง หากมีผื่นบางที่ใบหน้า ข้อพับ ไม่ควรใช้ยาขี้ผึ้ง เพราะฤทธิ์แรงเกินไป แต่หากมีผื่นหนาที่ศีรษะให้ใช้ยาในรูปแบบครีมเหลว หรือครีมน้ำนม แต่หากผื่นบนศีรษะบางให้ใช้ยาน้ำ เพื่อให้ซึมเข้าสู่ศีรษะได้ดีกว่า ส่วนยาสเตียรอยด์ประเภทรับประทาน และฉีด ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน เพราะอาจเกิดตุ่มหนอง ผื่นทั่วตัว รุนแรงกว่าเดิม

 

ข้อดี : หาซื้อได้ง่าย ผื่นยุบเร็ว

ข้อเสีย : หากทาต่อเนื่องนานจะทำให้ผิวบาง เกิดรอยแตกของผิว ทำให้เกิดภาวะดื้อยา และ หากหยุดยาผื่นสะเก็ดเงินอาจกลับมาเป็นใหม่ และรุนแรงขึ้น นอกจากนี้หากยามีฤทธิ์แรงจะกดการทำงานของต่อมหมวกไตและทำให้ต่อมหมวกไตมีปัญหา และ ส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆตามมา

 

2.ยากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามิน ดี 3 (Calcipotriene) เป็นยารูปแบบวิตามินดี 

 

รูปแบบ: ครีม

 

กลไกการทำงาน: ออกฤทธิ์ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง กลับสู่ปกติ  เหมาะกับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ที่เป็นน้อยจนถึงปานกลาง

 

ข้อเสีย : ราคาค่อนข้างสูง ไม่ควรใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น และไม่ควรใช้ในปริมาณมาก เนื่องจากอาจเกิดการระคายเคืองได้ จึงไม่ควรใช้บริเวณ ใบหน้า ข้อพับ อวัยวะเพศ ปัจจุบัน มียาทาที่ผสมระหว่างอนุพันธ์วิตามินดี กับยาทาคอติโคสเตียรอยด์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดผลข้างเคียงลง

 

3.น้ำมันดิน (Tar)

 

กลไกการทำงาน: ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่ทำงานผิดปกติ เป็นสารเคมีกลุ่มไฮโดรคาร์บอนที่ได้มาจากธรรมชาติ ผู้ที่เป็นผื่นที่หนังศีรษะ สามารถใช้แชมพูผสมน้ำมันดิน (Tar Shampoo) ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินได้ ส่วนครีมผสมน้ำมันดินก็ใช้รักษาผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าได้ดี

 

ข้อดี : โอกาสที่ผื่น และผิวหนังอักเสบจะกลับมาเป็นใหม่เป็นได้ช้ากว่าใช้ยาสเตียรอยด์

ข้อเสีย : หาซื้อยาก ไม่มีขายทั่วไปต้องซื้อตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ และยังมีสีน้ำตาล และมีกลิ่นค่อนข้างแรงไม่น่าใช้ เวลาใช้ต้องระวังเลอะเปรอะเสื้อผ้า ยาออกฤทธิ์ช้าไม่ทันใจ และมีผลข้างเคียง คือ อาจทำให้เกิดรูขุมขนอักเสบ และระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ทายา


 

4.แอนทราลีน (Anthralin, Dithranol)

 

กลไกการทำงาน: ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่ทำงานผิดปกติ เป็นยาที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน มานานและนิยมใช้มากที่สุด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะใช้รักษาร่วมกับรังสี UV(การฉายแสงอาทิตย์เทียม) 

 

ข้อดี : ข้อจำกัดน้อย มีเพียงแค่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง

ข้อเสีย : ทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทามีสีคล้ำขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรใช้กับผื่นแดงและมีน้ำเหลือง เพราะอาจทำให้โรคกำเริบมากขึ้น และไม่ควรใช้กับผื่นบริเวณหน้า คอ ข้อพับ ขาหนีบ อวัยวะเพศ เพราะจะระคายเคืองได้ง่าย

 

5.ยาทา Salicylic Acid 

 

กลไกการทำงาน: เป็นยาใช้ละลายขุยทำให้ผิวหนังนุ่ม ลอกขุยออกได้ง่าย เพราะมีส่วนผสมของกรด อยู่ในรูปครีม หรือ ขี้ผึ้ง 

 

ข้อดี : เหมาะใช้กับผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า 

ข้อเสีย : ไม่ควรใช้กับข้อพับ และผู้ป่วยเด็ก เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย

 

6.ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus, pimecrolimus) 

 

กลไกการทำงาน: เป็นยากลุ่มใหม่ แพทย์บางรายนำมาใช้ในการรักษาผื่นโรคสะเก็ดเงินบริเวณหน้า หรือ ตามซอกพับ

 

ข้อดี : แพทย์สั่งจ่ายเพื่อเลี่ยงผลข้างเคียงจากยาทาคอติโคสเตียรอยด์ 

ข้อเสีย : ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากยามีราคาแพง

 

แต่ถ้าเป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง คุณหมอก็มักจะจ่ายกลุ่มยารับประทาน โดยกลุ่มยารับประทานสามารถออกฤทธิ์ได้ตั้งแต่ระดับเซลล์ภูมิคุ้มกันจึงสามารถที่จะช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงิน โดยส่วนใหญ่แพทย์มักจะจ่ายยารับประทานในกรณีที่อาการสะเก็ดเงินเป็นชนิดรุนแรง ในระยะปานกลาง-มาก แต่การใช้ยาก็จะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะตัวยาค่อนข้างมีผลข้างเคียง และยังมีข้อควรระวัง ข้อห้าม จึงควรทานตามปริมาณที่แพทย์กำหนดและไปตรวจอาการตามที่คุณหมอนัด เพราะตัวยาบางตัวต้องตรวจค่าเลือดประกอบกับการรักษานะคะ ยารับประทาน 3 ชนิดที่เรามักพบในการรักษาสะเก็ดเงิน ได้แก่

 

1.ยาเมโธเทร็กเซท (Methotrexate) ตัวยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังทีทำงานผิดปกติ มักนิยมใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น โดยใช้การรับประทานและฉีดอาทิตย์ละครั้ง เพราะมีผลข้างเคียงสูง มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการตับอักเสบ และตับแข็ง ดังนั้นการใช้ยานี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และผู้ป่วยต้องตรวจเลือดก่อนและหลังการรักษาทุก ๆ 3-4 เดือน ยาประเภทนี้ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยบางประเภท เช่น หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคตับหรือไต ผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ผู้ที่ดื่มเหล้ามาก ผู้ที่ติดเชื้อระยะรุนแรง เป็นต้น

 

2.ยาOral Retinoids/อาซิเทรติน(เป็นยาในกลุ่มวิตามินเอ) ใช้สำหรับรักษาโรคสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง ได้ผลดีมากสำหรับสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง โดยมักใช้ร่วมกับการฉายแสงอาทิตย์เทียม UVA และ UVB ผลข้างเคียงของการใช้ยา คือ ปากแห้งลอก ผิวแห้ง มือเท้าตึงลอกเป็นขุย รอบเล็บอักเสบ ผมร่วง ทำให้ไขมันในเลือดสูง และเกิดอาการตับอักเสบ หากหยุดการรักษาในระยะต้น ๆ จะกลับเป็นปกติได้ หากใช้ยาเกิน 1 ปี อาจทำให้เกิดกระดูกงอกได้ ข้อควรระวังคือ ยานี้ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการ และ ผู้ใช้ยาห้ามตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากยาสามารถอยู่ในเลือดได้นานถึง 2 ปี และ ไม่ควรได้รับวิตามินเสริม โดยเฉพาะวิตามินเออีก

 

3.ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine) ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ เป็นยากดภูมิคุ้มกันมักถูกใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินชนิดรุนแรงระยะปานกลาง-มาก ผลข้างเคียงคือ ทำให้เส้นขนยาวขึ้น เหงือกบวมอักเสบ อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เป็นพิษต่อไตได้ ถ้าหยุดยาในระยะต้น ๆ อาจจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ ไม่ควรใช้กับผู้ที่ไตพิการ มีโรคความดันโลหิตสูง เคยเป็นมะเร็งมาก่อน หญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร และ ผู้ที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน 

 

นอกจากยารับประทานแล้ว การรักษาสะเก็ดเงินทางการแพทย์แผนปัจจุบันก็ยังมีการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ อีก เช่น การฉายแสงอาทิตย์เทียม (Phototherapy) จะเป็นการใช้รังสีอัลตราไวโอเลต(UV) จะมีรังสีที่ใช้  2 ชนิดคือ UVA และ UVB ฉายสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งติอต่อกัน อย่างน้อย 3 เดือน ให้ผลลัพธ์ในการรักษาประมาน 70-80% พบผลข้างเคียงน้อย บางคนอาจจะมีอาการคัน แดง บริเวณผิวที่ฉายแสง และการกลับมาเป็นซ้ำน้อยกว่าการรักษาด้วยการใช้ยา อีกทั้งยังมีการรักษาสะเก็ดเงินด้วย การฉีดยากลุ่มชีวภาพ (Biological agents) ซึ่งเป็นยาใหม่มีผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย วิธีการคือ ฉีดเข้าเส้นเลือด หรือ ฉีดเข้าใต้ชั้นไขมัน โดยยาบางชนิดจะฉีดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง บางชนิดฉีดห่างกันทุก 3 เดือน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ ยังเป็นการรักษาที่ค่อนข้างใหม่ ทำให้ยังต้องมีการติดตามผลข้างเคียงในระยะยาวต่อไป และ ตอนนี้ค่าใช้จ่ายในการรักษายังค่อนข้างสูงค่ะ

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ ท่านผู้อ่าน หมอเชื่อว่าใครที่อ่านมาถึงจุดนี้ก็คงรู้สึกไม่ต่างจากหมอ ในวันที่หาข้อมูล ศึกษารายละเอียดการรักษา หมอรู้สึกว่าถ้าตัวเราเองเป็นสะเก็ดเงิน แล้วเราทำการรักษาด้วยการกินยา ยาทา หรือ แม้แต่การฉายรังสี เราจะหายจากสะเก็ดเงิน แบบไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก ได้จริงไหม? เพราะจากข้อมูลผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษาสะเก็ดเงิน ทำให้คิดว่า เรากำลังย้ายโรคที่เป็นจากโรคนึงไปเป็นอีกโรคหนึ่งหรือเปล่า ทำไมยาในปัจจุบันที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาสะเก็ดเงิน ถึงส่งผลกับระบบภูมิคุ้มกันของเรามากขนาดนี้ บางตัวมีผลกดภูมิของเรา บางตัวยั้บยั้งการทำงานของเซลล์ บางตัวทำให้ตับอักเสบ ไขมันสะสมเพิ่มขึ้น กลายมาเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับ และ ไตเพิ่ม จุดนี้เองที่ทำให้หมอตั้งคำถามใหม่ว่า แล้วถ้าเราจะรักษาสะเก็ดเงินให้หายสนิท แบบไม่กลับมาเป็นซ้ำ โดยที่เราไม่อยากทานยา ทายาที่มีสเตียรอยด์ หรือ ผลข้างเคียงที่ทำลายตับ ไต เรามีวิธีไหนบ้าง และนี่คือ เป้าหมายที่หมอตั้งไว้เพื่อที่จะหาคำตอบ เพราะหมอเชื่อว่าอะไรที่เกิดขึ้นก็ต้องมีสาเหตุ ถ้าเราไปแก้ที่สาเหตุได้ สิ่งเหล่านั้นก็จะหายไป และถ้าเรารู้จักป้องกัน ไม่สร้างเหตุแบบเดิมอีก เราก็ไม่ต้องมารับผลที่เราไม่ต้องการอีก ในส่วนของคำตอบ การรักษาสะเก็ดเงินแบบไม่ต้องใช้ยาเคมี หรือ สารสเตียรอยด์ หมอขอมาแบ่งปันในบทความต่อไปนะคะ ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ หมอซาบซึ้งใจมากค่ะที่ความตั้งใจของทีมแพทย์ปุณรดายาไทย กำลังถูกสื่อสารออกไปถึงทุกคนที่กำลังมีอาการสะเก็ดเงิน หมออยากบอกว่า อย่าพึ่งหมดหวังในการรักษา คุณไม่เดียวดายในเส้นทางนี้ ปุณรดายาไทยพร้อมเคียงข้างทุกคนที่เป็นสะเก็ดเงินนะคะ 

 

หากต้องการปรึกษาวิธีการรักษาสะเก็ดเงินด้วยธรรมชาติ ปลอดภัย ไร้สารเคมี โดยมีทีมแพทย์แผนไทยผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล สามารถแอดไลน์ Line ID : @Poonrada ได้เลยนะคะ 

ทีมหมอของเรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027

 

 


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ป.วริศรา อิการาชิ

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"การรักษาโรคที่สาเหตุ คือ การรักษาที่ยั่งยืน"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า