เลือกยาหอมอย่างไรให้เหมาะกับอาการ

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

เลือกยาหอมอย่างไรให้เหมาะกับอาการ

หากพูดถึงยาสมุนไพรที่เป็นที่รู้จัก และมีติดไว้เกือบทุกบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุ คงหนีไม่พ้น ยาลม และ ยาหอม ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นตัวยาเดียวกัน มีสรรพคุณเหมือนกัน แต่แท้ที่จริงแล้วไม่เหมือนกันค่ะ

 

ยาลม เป็นยาสมุนไพรที่มีรสประธานเป็นรสร้อน การออกฤทธิ์ของยาลมจะไปเพิ่มธาตุไฟและธาตุลมในร่างกายให้มากขึ้น เพื่อกระจายลมที่คั่งอั้นในท้องในไส้ เช่น ลมจุกเสียดแน่นท้อง พะอืดพะอม

 

ส่วน ยาหอม เป็นยาสมุนไพรที่มีรสประธานเป็นรสสุขุม คือไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ตัวยาหลักเป็นเครื่องหอม เช่น เกสรดอกไม้ เนื้อไม้ แก่นไม้ การออกฤทธิ์ของยาหอมจะไปช่วยลดธาตุไฟ และธาตุลมในร่างกายที่มีมากเกินไป ช่วยแก้อาการลมตีขึ้นด้านบนจากธาตุไฟกำเริบ ลมเสียดหัวใจ ลมที่เสียดแทงไปตามเส้นเลือดและหลอดเลือดตามร่างกาย ลมที่กระทบหัวใจ ทำให้อาการปวดมึนศีรษะ จิตใจฟุ้งซ่าน รู้สึกระส่ำสะส่ายดีขึ้น กระจายลมกองหยาบ ลมกองละเอียด และช่วยบำรุงร่างกาย 

 

แล้วรู้หรือไม่ว่ากลุ่มยาหอมนี้มีด้วยกันหลายตำรับในการรักษา ไม่ว่าจะเป็น ยาหอมอินทจักร์ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพย์โอสถ ยาหอมแก้ลมวิงเวียน ฯลฯ ซึ่งยาหอมแต่ละตำรับมีสรรพคุณเฉพาะที่เหมาะกับแต่ละกลุ่มอาการ แต่ละช่วงวัย ที่ต่างกัน วันนี้หมอจะพาท่านผู้อ่านมารู้จักกับยาหอมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เลือกใช้ตำรับยาหอมกันได้อย่างเหมาะสม 

 

โดยวันนี้หมอขอเลือกยาหอม 5 ตำรับ จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ. 2556 และ ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) มาแนะนำท่านผู้อ่านกันนะคะ


 

ยาหอมนวโกฐ


มาเริ่มกันที่ยาหอมตำรับแรก เป็นยาหอมรสสุขุมร้อน มีส่วนประกอบสำคัญในตำรับ ได้แก่ โกฐทั้ง 9 ดอกดีปลี เทียนสัตตบุษย์ ลูกราชดัด โกฐเชียง รากแฝกหอม และตัวยาสำคัญอื่นๆ

 

ยาหอมนวโกฐ มีสรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ลมจุกเสียดแน่นอก และแก้ลมปลายไข้ คือ อาการหลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการคลื่นเหียน เบื่ออาหาร มึนศีรษะ ท้องอืด อ่อนเพลีย

 

ยาหอมนวโกฐ

 

นอกจากนี้จากรายงานการวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล​ พบว่า มีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ ปรับเลือดลมในร่างกายให้สมดุล ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น กระจายลมที่อั้นค้างตามจุดต่างๆ ลดอาการจุกเสียด แน่น ลดการหลั่งกรด(เกิน)ในกระเพาะ และช่วยทำให้หลับสบาย คลายความเครียดกังวล

 

ยาหอมนวโกฐ เหมาะสำหรับ

• ผู้สูงอายุ ที่มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ

• รักษาอาการหลังฟื้นไข้ ช่วยให้เจริญอาหาร รักษาภาวะ Long-Covid แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการคลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อ่อนเพลีย)

• ป้องกันไข้หวัด หลังกระทบฝน หรือตากแดดจัด ที่มีอาการไข้ต่ำๆ รู้สึกตัวรุมๆ ลมหายใจออกร้อน แตะผิวแล้วรู้สึกร้อน *แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้มีไข้สูง เกิน 38.5 องศาเซลเซียส

• บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลใหม่ให้ทุกระบบของร่างกาย

• กระจายลมกองหยาบ (ลมในระบบทางเดินอาหาร ที่ทำให้เกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง  เรอ ผายลม) และลมกองละเอียด (ลมที่ทำให้เกิดอาการหน้ามืด ตาลาย เวียนศีรษะ คลื่นไส้  อ่อนเพลีย)

• นอนไม่หลับ ที่มีหนังศีรษะร้อน เหงื่อซึม กระสับกระส่าย ใช้เวลาในการเข้านอนมาก
*แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติ หรือความเสี่ยงของโรคตับ 

 

การรักษาของทางปุณรดายาไทยมีจัดชุดตำรับยาหอมนวโกฐ ร่วมกับตำรับยาสมุนไพร มารักษาอาการเฉพาะโรค ได้แก่ 

• ชุด B-set 2 สมุนไพรรักษา กรดไหลย้อน สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการคลื่นไส้ ใจสั่นร่วมด้วย

• ชุด BP-set สำหรับผู้สูงอายุ สมุนไพรรักษา ความดันโลหิตสูง สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ในผู้สูงอายุ

• ชุด B-Sleepy 2 สำหรับผู้สูงอายุ สมุนไพรรักษา อาการนอนไม่หลับ สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เคยใช้ยานอนหลับ มีความเครียด ความกังวลสะสมสูง มีปัญหาเล• อดลมไหลเวียนได้ไม่ดี นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง

• ชุด B-Sleepy 3 สำหรับผู้สูงอายุ สมุนไพรรักษา อาการนอนไม่หลับ สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง โดยเฉพาะนอนไม่หลับเนื่องจากร่างกายภายในมีความร้อนสูง กระสับกระส่าย มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

• ชุด B-Young สมุนไพรรักษา อาการวัยทอง สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอาการวัยทอง และผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน

 

ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ สำหรับยาหอมนวโกฐ 

1. ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)

2. ควรระวังในผู้ที่แพ้เกสรดอกไม้

3. ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ 

4. ห้ามใช้ในผู้มีไข้


 

ยาหอมอินทจักร์


ตำรับต่อมา ยาหอมอินทจักร์ เป็นยาหอมรสสุขุมร้อน เช่นเดียวกับยาหอมนวโกฐ มีส่วนประกอบสำคัญในตำรับ ได้แก่ ดอกบุนนาค เนื้อไม้กฤษณา เปลือกสมุลแว้ง โกฐสอ ขอนดอก ดีงูเห่า และตัวยาสำคัญอื่นๆ ยาหอมอินทจักร์ มีสรรพคุณ แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด นอกจากนี้จากรายงานการวิจัย พบว่า มีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ ปรับเลือดลมในร่างกายให้สมดุล ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ต้านการอาเจียน และช่วยให้นอนหลับสนิทมากขึ้น

 

ยาหอมอินทจักร์

 

ยาหอมอินทจักร์ เหมาะสำหรับ

• วัยรุ่น วัยทำงาน ที่เครียดจากการทำงาน อ่อนเพลีย ง่วงนอนยามบ่าย ช่วยปรับสมดุลของธาตุลมภายในร่างกาย

• ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง ทานอาหารไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อาเจียน

• ป้องกันไข้หวัด หลังตากฝน แล้วมีอาการหนาวสั่น ตัวเย็น โดยหลังจากอาบน้ำสระผม เช็ดผมให้แห้งแล้ว ให้ทานยาหอมอินทจักรทันที และหากยังมี อาการหนาว เย็น ให้ซ้ำอีก 2-3 มื้อ *แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้มีไข้สูง เกิน 38.5 องศาเซลเซียส

• ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ ที่เกิดจากมีความเครียดสูง กล้ามเนื้อคอตึงเกร็ง กระสับกระส่าย ใช้เวลาในการเข้านอนมาก 

• ผู้ที่มีภาวะไมเกรน ปวดมึนศีรษะออกกระบอกตา คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว

 

การรักษาของทางปุณรดายาไทยมีจัดชุดตำรับยาหอมอินทจักร์ ร่วมกับตำรับยาสมุนไพร มารักษาอาการเฉพาะโรค ได้แก่ 

• ชุด M-set สมุนไพรรักษา ไมเกรน ปวดตื้อศีรษะออกกระบอกตา คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย

• ชุด BP-set สำหรับวัยรุ่น วัยทำงาน สมุนไพรรักษา ความดันโลหิตสูง สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ในวัยรุ่น และวัยทำงาน

• ชุด B-Sleepy 2 สำหรับวัยรุ่น วัยทำงาน สมุนไพรรักษา อาการนอนไม่หลับ สำหรับวัยรุ่น วัยทำงาน ที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เคยใช้ยานอนหลับ มีความเครียด ความกังวลสะสมสูง 

• ชุด B-Sleepy 3 สำหรับวัยรุ่น วัยทำงาน สมุนไพรรักษา อาการนอนไม่หลับ สำหรับวัยรุ่น วัยทำงาน ที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง โดยเฉพาะนอนไม่หลับเนื่องจากร่างกายภายในมีความร้อนสูง กระสับกระส่าย มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

• ชุด T-set สมุนไพรรักษา ไทรอยด์ ช่วยปรับอุณหภูมิภายในร่างกายให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล ลดอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย และลดอาการคอบวม ตาโปน ตัวบวม

 

ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ สำหรับยาหอมอินทจักร์ 

1. ระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)

2. ควรระวังในผู้ที่แพ้เกสรดอกไม้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ 


 

ยาหอมเทพจิตร


มาต่อกันที่ตำรับที่สาม ยาหอมเทพจิตร เป็นยาหอมรสสุขุมเย็น มีส่วนประกอบสำคัญในตำรับ ได้แก่ ดอกมะลิ เปลือกส้ม 8 ชนิด ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง และตัวยาสำคัญอื่นๆ

 

ยาหอมเทพจิตร มีสรรพคุณ แก้ลมกองละเอียด ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียนคลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม) และ บำรุงหัวใจ ทำให้ให้จิตใจรู้สึกแช่มชื่นนอกจากนี้จากรายงานการวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล​ พบว่า มีสรรพคุณทำให้คลายกังวล และช่วยให้รู้สึกสงบ สำหรับอาการทางจิตเวชในระยะแรกเริ่ม

 

ยาหอมเทพจิตร เหมาะสำหรับ

• คนวัยทำงานจนถึงผู้สูงอายุ

• ผู้ที่มีอาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม)

• นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ใจสั่น มีเหงื่อออกที่หนังศีรษะ และเท้าเย็น 

• บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น คลายกังวล ทำให้รู้สึกสงบ

• คนที่รู้สึกซึมเศร้า หดหู่ มีอารมณ์เศร้าหมอง ที่มักเกิดขึ้นในบางเวลา หรือคนสูงอายุที่รู้สึกเหงา เศร้า

 

ข้อควรระวัง สำหรับยาหอมเทพจิตร 

1. ระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)

2. ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและอาจเกิดพิษได้

3. ควรระวังในผู้ที่แพ้เกสรดอกไม้


 

ยาหอมทิพย์โอสถ


ยาหอมตำรับต่อมา ยาหอมทิพย์โอสถ เป็นยาหอมรสสุขุม มีส่วนประกอบสำคัญในตำรับ ได้แก่ โกฐทั้ง 9 เทียนทั้ง 9 เกสรทั้ง 5 ดอกกระดังงา ดอกบัวจงกลนี หัวแห้วไทย กระจับ และตัวยาสำคัญอื่นๆ

 

ยาหอมทิพย์โอสถ มีสรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน แก้ลมสวิงสวาย ที่ทำให้ดวงจิตให้ระส่ำระส่าย บำรุงเลือด บำรุงกำลัง 

 

ยาหอมทิพย์โอสถ เหมาะสำหรับ

• คนวัยทำงาน ผู้สูงอายุ ที่มีอาการอ่อนเพลีย ผอมแห้งแรงน้อย

• มารดาขณะตั้งครรภ์ ที่มีอาการอ่อนเพลีย เป็นยาบำรุงครรภ์

• เจริญอาหารหลังหายไข้ จากอาการป่วยบางชนิด ที่มีเฉพาะอาการเพลีย แต่ไม่เบื่ออาหาร และช่วยบำรุงร่างกาย

• สตรีที่มักมีความรู้สึกหงุดหงิดโกรธง่ายในช่วงก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากเป็นผลกระทบของความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นในรอบเดือนและกระทบต่อจิตใจ การใช้ยาที่มีดอกไม้เป็นส่วนผสมจะลดผลกระทบของความร้อนดังกล่าวลง ทำให้จิตใจเย็นลง โดยไม่ทำให้โลหิตเย็น ซึ่งกระทบต่อการมีประจำเดือน

 

ข้อควรระวัง สำหรับยาหอมทิพย์โอสถ 

1. ระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)

2. ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและอาจเกิดพิษได้

3. ควรระวังในผู้ที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้

 

อาการไม่พึงประสงค์ 

1. มึนศีรษะ


 

ยาหอมแก้ลมวิงเวียน


มาถึงที่ยาหอมตำรับสุดท้าย ยาหอมแก้ลมวิงเวียน ยาหอมตำรับนี้ประกาศใช้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เป็นยาหอมรสสุขุม มีส่วนประกอบสำคัญในตำรับ ได้แก่ รากชะเอมเทศ แก่นจันทร์เทศ ดอกกานพลู โกฐเชียง โกฐหัวบัว รากแฝกหอม เกสรบัวหลวง และตัวยาสำคัญอื่นๆ

 

ยาหอมแก้ลมวิงเวียน มีสรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน อ่อนเพลีย หน้ามืด ตาลาย นอนไม่หลับ

 

ยาหอมแก้ลมวิงเวียน เหมาะสำหรับ

• คนวัยทำงาน ผู้สูงอายุ ที่มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย

• นอนไม่หลับ ช่วยกระจายลมกองละเอียด

• มารดาขณะตั้งครรภ์ ที่มีอาการอ่อนเพลีย

 

ข้อควรระวัง สำหรับยาหอมแก้ลมวิงเวียน 

1. ระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)

2. ควรระวังในผู้ที่แพ้เกสรดอกไม้


 

นอกจากนี้ในแต่ละช่วงวัยมีข้อควรระวังในการทานยาหอม ได้แก่

• ในวัยรุ่น และวัยทำงาน อายุระหว่าง 16-32 ปี ควรทานยาหอมเฉพาะเมื่อมีอาการ และไม่ควรทานยาหอมต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ หากอาการหายแล้วให้หยุดยา เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่อยู่ในสมุฏฐานธาตุไฟ หากทานยาหอมต่อเนื่องไปกระจายลมเป็นเวลานาน อาจทำให้ธาตุไฟในร่างกายเสียสมดุล แต่ในวัยรุ่นและวัยทำงานที่มีโรคประจำตัวต้องใช้ยาหอมในการรักษาอย่างต่อเนื่องควรปรึกษากับแพทย์แผนไทยผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อเนื่องจนหายสนิท

 

• ส่วนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 32 ปี เป็นสมุฏฐานธาตุลม สามารถทานยาหอมอย่างต่อเนื่องได้ โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ควรทานยาหอมวันละ 2 ครั้ง เช้า และก่อนนอน จะช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดี ทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น


ยาหอมเป็นตำรับยาสมุนไพรพื้นฐานที่มีติดบ้านเกือบทุกหลัง โดยพื้นฐานประกอบไปด้วยสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ช่วยปรับให้ร่างกายของเราอยู่ในภาวะสมดุล ไม่ร้อนหรือเย็นมากเกินไป มีสรรพคุณสำคัญในการปรับการทำงานของธาตุลมในร่างกาย ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก ช่วยบำรุงและปรับธาตุ ภายในร่างกาย นอกจากนี้ยาหอมแต่ละตำรับมีส่วนประกอบสำคัญที่แตกต่างกัน เหมาะสำหรับการรักษาแต่ละอาการโดยเฉพาะ ดังนั้นการเลือกใช้ตำรับยาหอมที่เหมาะสมจะช่วยให้เห็นผลการรักษาที่ชัดเจนค่ะ

 

เป็นอย่างไรบ้างคะกับการได้รู้จักยาหอมทั้ง 5 ตำรับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านผู้อ่านได้เลือกใช้ในการรักษา หรือ บรรเทาอาการได้อย่างเหมาะสม หากต้องการปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติม ทางปุณรดายาไทยมีทีมแพทย์แผนไทยผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ  สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ Line ID : @Poonrada หรือ โทร 02-1147027 ได้ตั้งแต่ 8:00-20:00 ทีมหมอยินดีให้คำปรึกษาค่ะ หากบทความนี้น่าสนใจและเป็นประโยชน์ สามารถแชร์ให้คนที่คุณรักเพื่อส่งมอบความห่วงใยได้เลยนะคะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027

 


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า