อาการของฝีดาษลิง การรักษาในปัจจุบันและโอกาสเสี่ยงของคนไทย

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

อาการของฝีดาษลิง การรักษาในปัจจุบันและโอกาสเสี่ยงของคนไทย

กระแสข่าวโรคระบาดที่เป็นที่พูดถึงในตอนนี้หลายคนคงเคยได้รับทราบกันบ้างแล้วกับ “โรคฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร” ที่กำลังระบาดอยู่ในแถบทวีปแอฟริกาและยุโรป

 

เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้ข้อมูลรายละเอียดอาการโรค วิธีการป้องกัน การรักษา และโอกาสเสี่ยงของคนไทยในการติดเชื้อฝีดาษลิง วันนี้หมอมาจะมาอธิบายรายละเอียดให้ทุกท่านได้อ่านกันนะคะ


 

อาการของโรคฝีดาษลิง


ในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย

• จะมีไข้สูง หนาวสั่น

• ปวดศีรษะ

• เจ็บคอ

• ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

• อ่อนเพลีย

 

หลังจากนั้น 2-3 วัน 

• จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งสามารถคลำพบได้หลายบริเวณ เช่น คอ ใต้คาง
หน้า-หลังใบหู รักแร้ และขาหนีบ 

• มีผื่นหรือตุ่มน้ำใสขึ้นตามใบหน้า ลามไปส่วนอื่นๆของร่างกาย ลำตัว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุโพรงจมูก เพดานปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม บางรายอาจมีอาการเจ็บและคันร่วมด้วย

• ต่อจากนั้นจะกลายเป็นตุ่มหนอง และตกสะเก็ดในลำดับต่อมา

 

หลังจากติดเชื้อจะมีอาการเหล่านี้ประมาณ 2-4 สัปดาห์ และสามารถหายได้เอง แต่อาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้เช่นเดียวกับโรคอีสุกอีใส


 

การรักษาโรคฝีดาษลิงในปัจจุบัน


ในส่วนของการรักษาโรคฝีดาษลิงในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง แต่โดยปกติโรคฝีดาษลิงเป็นแล้วสามารถหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์

 

ผู้ที่เคยฉีดวัคซีน หรือปลูกฝีเพื่อป้องกันฝีดาษ (ไข้ทรพิษ) มาก่อนสามารถป้องกันการติดเชื้อและลดระดับความรุนแรงโรคฝีดาษลิงได้มากกว่า 95% (ซึ่งการปลูกฝีดาษมีการยกเลิกโดยองค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2523)

 

สำหรับผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนหรือปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ) ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อฝีดาษลิง จะได้รับการฉีดวัคซีนโรคฝีดาษเพื่อลดความรุนแรงของโรค จ่ายยาต้านไวรัส และรักษาอาการโรคตามการประเมินของแพทย์แผนปัจจุบัน


 

โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคฝีดาษลิงของคนไทย


แม้ในปัจจุบันจะมีการติดเชื้อฝีดาษลิงหลายประเทศทางฝั่งแอฟริกาและยุโรป แต่ยังไม่มีข้อมูลการติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศไทย สำหรับแผนรับมือของฝีดาษลิงในประเทศไทย ทางกระทรวงสาธาณสุขได้มีการจัดส่งศูนย์เฝ้าระวังฉุกเฉิน คัดกรองผู้เดินทางที่มีจากประเทศเสี่ยง รวมถึงประเทศในทวีปแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการเตรียมวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรค และทางกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีการตรวจสุขภาพลิงในประเทศ และห้ามขนย้ายสัตว์ข้ามแดนที่ผิดกฏหมาย


 

วิธีการป้องกันโรคฝีดาษลิง


หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปในประเทศเสี่ยง หรือต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถป้องกันได้ดังนี้ค่ะ

 

1.หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ 

2. สวมหน้ากากอนามัย

3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือรับประทานสัตว์ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่สัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต กระต่าย

4. แยกของใช้ส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย และบาดแผลจากสัตว์หรือผู้ที่มีประวัติเสี่ยง


 

โรคฝีดาษลิงแม้จะมีความรุนแรงน้อยและยังไม่พบผู้ติดเชื้อในไทย แต่ก็ควรระมัดระวัง ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย รวมถึงการเลี่ยงสัมผัสสัตว์พวกลิง หนู กระรอก และผู้ที่มีความเสี่ยงนะคะ 

 

หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อหมอโดยตรงได้ที่ Line ID : @Poonrada ได้เลยนะคะ หมอยินดีให้คำปรึกษาค่ะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027

 


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า