1. ปวดแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่กลางหน้าอกหลังรับประทานอาหาร (heart burn)
2. เกิดอาการอาเจียนอาหารและเรอจนน้ำย่อยขึ้นมาสัมผัสที่คอ ทำให้รู้สึกถึงรสเปรี้ยวและแสบบริเวณคอหอย หรืออาจมีรสขมๆ ของน้ำดีด้วย นอกจากนี้การหายใจก็อาจมีกลิ่นออกมาเช่นกัน
3. จุกแน่นยอดอก ในคอ คลื่นไส้ ให้ความรู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย ท้องอืด และมีอาการเรอบ่อยๆ
4. มีอาการกะแอมไอบ่อยๆ มีความรู้สึกเหมือนมีเสมหะอยู่ในคอ หรือสะอึกบ่อยครั้ง
5. รู้สึกขมคอ เจ็บคอและมีเสียงแหบพร่าเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า หรืออาจมีอาการไอเรื้อรัง เปรี้ยวปากและเรอบ่อยๆ ร่วมด้วย
6. มีเสมหะ หรือของเหลว หรือสารคัดหลั่งไหลลงลำคอเสมอ ก่ออาการไอเรื้อรัง จากมีการอักเสบเรื้อรังของไซนัส(ไซนัสอักเสบ) สาเหตุจากอาหารและกรดท้นขึ้นมาถึงโพรงหลังจมูก
7. อาการจากโรคหืดที่ในบางรายมีสาเหตุจากโรคกรดไหลย้อน (ไอ หอบ เหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด) หรือทำให้อาการของโรคหืดที่เป็นอยู่ก่อนแล้วรุนแรงขึ้น แพทย์เชื่อว่าจากการมีกรดไหลท้นสู่หลอดลม/ปอด จึงก่อการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม
8. ในเด็กเล็ก อาการที่ควรนึกถึงโรคนี้ ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หืดหอบในเวลากลางคืน ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ
นอกจากปัจจัยทางร่างกายที่เกิดความผิดปกติ ส่วนใหญ่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนคือ พฤติกรรมและการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ที่มีส่วนสำคัญในการทำให้อาการกำเริบมากขึ้นได้ ดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมที่เร่งรีบ เช่น การดื่มกาแฟแทนมื้ออาหาร จะทำให้กรดหลั่งออกมามากเมื่อทานกาแฟในช่วงท้องว่าง หรือ กินอาหารเย็นแบบอิ่มแน่น จะส่งผลให้อาหารตกค้างในกระเพาะอาหาร ร่างกายต้องหลั่งกรดออกมาย่อยอาหารที่ตกค้าง และถ้านอนหัวเสมอหรือตำ่ ทําให้กรดไหลย้อนมาที่คอร่วมด้วย
2. โรคอ้วน ในคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องที่สูงกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งก็ส่งผลให้ความดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อนได้มากกว่าปกติ
3. การตั้งครรภ์ เนื่องจากในภาวะครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น จึงทำให้เกิดความดันในกระเพาะเพิ่มขึ้นไปด้วย
4. การสูบบุหรี่ เป็นผลให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งออกมามากขึ้นและทำให้กระเพาะอาหารเกิดการบีบตัวน้อยลง จึงมีโอกาสที่กรดจะไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้ง่าย
5. ความเครียด ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังส่งผลให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดออกมามากขึ้น จึงทำให้เสี่ยงต่อโรคกระเพาะและภาวะกรดไหลย้อนสูง
6. นอนหรืออาบน้ำทันทีหลังจากรับประทานอาหาร
7. การทานอาหารที่กระตุ้นให้กรดในกระเพาะหลั่งมากขึ้น เช่น แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต เครื่องดื่ม คาเฟอีน อาหารที่มีไขมันสูง ของมันของทอด อาหารรสจัด เป็นต้น
8. อายุ ในผู้สูงอายุเซลล์/เนื้อเยื่อทุกชนิดของร่างกายจะเสื่อมลงรวมทั้งของหูรูดนี้ ดังนั้นจึงเกิดการหย่อนยาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาหารและกรดในกระเพาะอาหารจึงดันท้นย้อนกลับเข้าในหลอดอาหาร ส่วนในเด็กอ่อนเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ การทำงานจึงหย่อนยาน เด็กอ่อนจึงมีการขย้อนนมและอาหารออกมาได้ แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะกล้ามเนื้อหูรูดจะแข็งแรงขึ้น
9. โรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีผลต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งของกระเพาะอาหารและของเส้น ประสาทกระเพาะอาหารเช่น โรคเบาหวาน และโรคที่ส่งผลให้มีการไอเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทยประยุกต์
"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"
แพทย์แผนไทย
" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "