ทำอย่างไรไม่ให้เป็นไข้ช่วงเปลี่ยนฤดู

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

ทำอย่างไรไม่ให้เป็นไข้ช่วงเปลี่ยนฤดู

ทำอย่างไรไม่ให้เป็นไข้ช่วงเปลี่ยนฤดู


เมื่อฤดูเปลี่ยน ทำให้อากาศที่กระทบกับธาตุทั้ง 4 เปลี่ยนไป เกิดความแปรปรวนของธาตุ ร่างกายก็จะแสดงออกมาเป็นไข้ค่ะ คนโบราณเรียกไข้แบบนี้ว่าไข้ 3 ฤดู หรือไข้หัวลม เมื่อผ่านช่วงเปลี่ยนฤดูไปแล้ว ร่างกายเราจะเริ่มชินกับอากาศ ก็จะป่วยเป็นไข้ได้ยากขึ้น 

 

ระหว่างการเปลี่ยนฤดูนี้ เราสามารถเตรียมตัวรับมือกับอากาศที่เปลี่ยนไปได้ด้วยการทานอาหารและปรับพฤติกรรมค่ะ จะได้ไม่ป่วยเป็นไข้หัวลม ช่วงที่เป็นที่ไข้ ร่างกายอ่อนแอ จะมีโรคอื่นเข้าแทรกแซงได้ง่าย โดยเฉพาะผู้หญิง ถ้าเป็นประจำเดือนช่วงที่เป็นไข้  หรือที่เรียกว่าไข้ทับระดู จะอาการหนักมากเลยล่ะค่ะ

 

ไข้ช่วงเปลี่ยนฤดูร้อนเข้าฤดูฝน (ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม)


เมื่อเข้าฤดูฝน จากที่อากาศเคยแห้ง ความชื้นในอากาศก็สูงขึ้นจนความชื้นเข้าสู่ร่างกาย ไข้ในฤดูนี้จะมีสมุฏฐานมาจากวาโยเป็นใหญ่ที่สุด หมายความว่าอาการไข้มีสาเหตุมาจากธาตุลม อาการป่วยนอกจากมีไข้ตัวร้อน จะมีอาการหนาว เบื่ออาหาร รู้สึกกระอักกระอ่วน เจ็บเนื้อเจ็บตัว รู้สึกจุกเสียดเหมือนมีก้อนแข็งในท้อง

 

ทำอย่างไรไม่ให้เป็นไข้เปลี่ยนฤดู-2

 

การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมเข้าสู่ฤดูฝนคือการเตรียมรับมือกับความชื้นที่เพิ่มขึ้น และการกำเริบของธาตุลมค่ะ ด้วยการทานอาหารรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง กระเทียม ข่า ตะไคร้ และหลีกเลี่ยงรสอาหารที่แสลงกับโรคลม ได้แก่ รสเย็น รสเมาเบื่อ และอาหารที่ย่อยยากอย่างเนื้อวัว มื้อเช้าควรหลีกเลี่ยงแป้งขัดขาวนะคะ เพราะจะทำให้ลมกำเริบระหว่างวันได้ค่ะ 

 

ไม่ควรตากฝนและอยู่ในที่ชื้น หากตากฝนควรรีบอาบน้ำและเช็ดผมให้แห้ง ไม่ควรสระผมตอนกลางคืน  ห้องนอนควรเป็นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับลม

 

ทำอย่างไรไม่ให้เป็นไข้เปลี่ยนฤดู-3

 

ไข้ช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว (ช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน)


เมื่อเข้าฤดูหนาว ความชื้นที่มีอยู่ในอากาศก็ลดลงและอากาศจะเริ่มแห้ง ร่างกายของเรายังคงมีความชื้นหลงเหลือจากฤดูฝน พออากาศแห้ง ความชื้นและน้ำในร่างกายก็ข้นขึ้น ไข้ในฤดูนี้จึงมีสมุฏฐานมาจากเสมหะเป็นใหญ่ เกิดอาการเจ็บคอ เสมหะมาก หายใจไม่สะดวก ปอดบวม ปวดตามข้อต่อ (เพราะน้ำในข้อต่อแห้งลงในผู้สูงอายุ) มือเท้าเย็น

 

การดูแลสุขภาพช่วงเปลี่ยนฤดูคือต้องเตรียมความพร้อมกับอากาศที่แห้งลงค่ะ ดื่มน้ำให้มาก จิบน้ำอุ่นทั้งวัน ใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น ทาผิวด้วยน้ำมันมะพร้าวหรือครีมบำรุงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยออกไปจากร่างกายมาก อาหารที่ทานควรเป็นอาหารรสจืดและเปรี้ยวซึ่งมีสรรพคุณบำรุงธาตุน้ำ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เสมหะกำเริบ ได้แก่ อาหารรสเย็น หวาน มัน เค็ม 

 

ทำอย่างไรไม่ให้เป็นไข้เปลี่ยนฤดู-4

 

นอกจากอากาศแล้ว ช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว เป็นช่วงที่คนป่วยเป็นไข้เพราะภูมิแพ้มากที่สุดด้วยค่ะ เนื่องจากเป็นช่วงผสมพันธุ์ของดอกไม้ ทำให้เกสรฟุ้งในอากาศค่อนข้างเยอะ ดังนั้นควรล้างตา ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเมื่อมีอาการภูมิแพ้ด้วยนะคะ สำหรับผู้ที่มีอากาศแพ้จนผื่นขึ้นผิวหนัง อาจเป็นเพราะน้ำเหลืองในร่างกายไม่ดี ควรรักษาอาการน้ำเหลืองเสีย แล้วจะไม่มีอาการแพ้อีกค่ะ

 

ไข้ช่วงเปลี่ยนจากฤดูหนาวเป็นฤดูร้อน (ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์)


ทำอย่างไรไม่ให้เป็นไข้เปลี่ยนฤดู-5

 

เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอกจะเริ่มสูงขึ้น จากปกติที่กลไกภายในต้องรักษาร่างกายให้อุ่นจากอากาศภายนอกที่หนาว ๆ กลับต้องเปลี่ยนมาระบายความร้อนแทน ทำให้ไฟสันตัปปัคคี (ไฟที่ให้ความอบอุ่นร่างกาย) ทำงานหนักขึ้นและเกิดการกำเริบ ในช่วงเปลี่ยนฤดูนี้ ไข้ที่เกิดขึ้นมักจะมีสมุฏฐานปิตตะ โดยเฉพาะพัทธปิตตะหรือดีในฝัก คือไฟย่อยอาหาร อาจจะทำให้มีอาการไข้ ตัวร้อน กระหายน้ำบ่อย ร้อนใน ท้องเสีย 

 

ทำอย่างไรไม่ให้เป็นไข้เปลี่ยนฤดู-6

 

การดูแลสุขภาพในช่วงเข้าสู่ฤดูร้อนคือต้องลดอาหารรสร้อน และรสมันที่เคยทานในฤดูหนาวค่ะ เปลี่ยนมาเป็นอาหารรสเย็น และรสขม ซึ่งมีสรรพคุณรักษาพัทธปิตตะหรือน้ำดี ในช่วงเปลี่ยนฤดูนั้นควรงดกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องตากแดดไปก่อนค่ะ จนกว่าร่างกายจะปรับตัวเข้ากับอากาศฤดูร้อนได้ ค่อยทำกิจกรรมกลางแจ้ง 

 

ศาสตร์แพทย์แผนไทยไม่ใช่แค่การรักษาโรคเท่านั้นนะคะ เป็นการดูแลสุขภาพรอบด้าน การทานอาหารตามรสยา เพราะการป้องกันโรคนั้นง่ายกว่ารักษา ปุณรดายาไทยอยากเห็นทุกคนมีสุขภาพดี สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาปุณรดาได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

อ้างอิง https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book542/thai.html

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า