ไทรอยด์ผิดปกติ ทำ Intermittent Fasting (IF) ได้ไหม

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

ไทรอยด์ผิดปกติ ทำ Intermittent Fasting (IF) ได้ไหม

ไทรอยด์ผิดปกติ ทำ Intermittent Fasting (IF) ได้ไหม


การควบคุมอาหารด้วยวิธี Intermittent Fasting (IF) กำลังเป็นที่นิยม แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำ IF ได้นะคะ หากไม่ศึกษาให้ดีก่อน คุณอาจจะเสี่ยงสภาวะเลือดเป็นกรดได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เพราะการทำ IF มีผลโดยตรงต่อระบบเผาผลาญ ซึ่งระบบเผาผลาญของผู้ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้นไม่ปกติค่ะ 

 

Intermittent Fasting ช่วยในการลดน้ำหนักได้อย่างไร


Intermittent Fasting (IF) คือการอดอาหารเป็นช่วงๆ โดยช่วงเวลาที่นิยมทำกันมากที่สุด 8 - 24 ชั่วโมง ถ้าอยากเข้าใจว่า IF สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างไรนั้น ต้องเข้าใจการทำงานของอินซูลินก่อนค่ะ 

 

ไทรอยด์_if-2

 

เมื่อเราทานอาหารที่ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อนำน้ำตาลในเลือดไปเก็บตามส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อ ตับ รวมไปถึงเซลล์ไขมัน เพื่อเป็นพลังงาน

 

ที่นี้พอเรางดอาหาร อินซูลินลดต่ำลง ร่างกายก็ดึงพลังงานจากเซลล์ไขมันมาใช้ ทำให้เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดต่ำลงค่ะ อธิบายง่ายๆเลยก็คือ เราพยายามเปลี่ยนระบบเผาผลาญ (metabolism) ให้เผาผลาญไขมันในช่วงที่เราอดอาหาร (fasting) และเผาผลาญแป้งและน้ำตาล ในช่วงที่เราทานปกตินั่นเองค่ะ

 

Intermittent Fasting กับฮอร์โมนไทรอยด์ 


การทำ Intermittent Fasting (IF) ในผู้ป่วยโรคไทรอยด์อาจมีผลดังนี้

- ภาวะเลือดเป็นกรด

- กล้ามเนื้อลีบ

- ประจำเดือนผิดปกติ

 

ต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ปรับระบบเผาผลาญในร่างกายก็คือต่อมไทรอยด์นั่นเอง ผู้ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ ก็จะสามารถปรับระบบเผาผลาญได้ (flexible Metabolism) เมื่อร่างกายรับรู้ว่ากำลังอดอาหารต่อมไทรอยด์ก็จะปล่อยฮอรโมน Triiodothyronine (T3) ที่ทำหน้าที่เผาผลาญสารอาหารลดลง และ ในช่วงที่ทานอาหารก็ปล่อยเจ้า T3 ออกมาเผาผลาญตามปกติ

 

แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้น การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ดังนั้นการปล่อยฮอร์โมน T3 ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการอดอาหารหรือการทาน ลองจินตนาการดูว่า ในช่วงที่เราอดอาหาร เจ้าต่อมไทรอยด์ก็ดันปล่อย T3 ออกมา ที่นี้พอไม่มีอาหารให้เผาผลาญ ก็จะดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาเผาผลาญ ส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงค่ะ

 

ไม่ใช่แค่นั้นนะคะ ถ้าในช่วงที่เราทานอาหาร เจ้าต่อมไทรอยด์ไม่ยอมปล่อย T3 ออกมาเผาผลาญน้ำตาลและแป้ง เกิดเป็นภาวะน้ำตาลสูง (Hyperglycemia) และเพิ่มความเป็นกรดของของเหลวในร่างกาย เช่นเลือด น้ำเหลืองและปัสสาวะ และถ้าหากน้ำตาลในร่างกายสูงมากกว่า 250 mg/dl ก็จะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Metabolic Acidosis) ค่ะ

 

เป็นไทรอยด์เป็นพิษ ทำ IF อย่างไรดี


จริงๆแล้วการทำ IF ให้ผลในการลดน้ำหนักเท่ากับการคุมแคลอรี่ค่ะ แต่ถ้าคุณไม่อยากเลือกทานอาหารคลีน IF ก็เป็นวิธีควบคุมน้ำหนักที่ดี สำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์นั้น สามารถทำ IF ได้แบบนี้ค่ะ

 

- ทำ IF แบบ 12/12 และไม่ควรอดอาหารเกิน 16 ชั่วโมง 

- ไม่ทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงผิดปกติ เช่น ชานมไข่มุก

 

ไทรอยด์_if-3

 

- บริโภคอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่น้อยกว่าพลังงานปกติที่ร่างกายต้องใช้ (ค่า Basal Metabolism)

- งดการออกกำลังกายแบบ cardio ควรออกกำลังแบบ weight training หรือออกกำลังแบบใช้แรงต้าน เช่น พิลาทิส โยคะ

 

ไทรอยด์_if-4

 

- อย่าอดอาหารจนเครียด 

 

ไทรอยด์_if-5

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หากใครมีภาวะอาการไทรอยด์ หมอแนะนำให้ปรึกษาคุณหมอที่ดูแลก่อนจะทำ IF นะคะ เพื่อให้หมอช่วยประเมินความหนักเบาของอาการ หากมีอาการไม่รุนแรงมาก ก็สามารถนำคำแนะนำไปปรับใช้ได้เลยค่ะ หากผู้ป่วยไทรอยด์ท่านใดต้องการปรับสมดุลฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้ค่าไทรอยด์กลับมาเป็นปกติด้วยตำรับยาสมุนไพร และแนวทางการดูแลแบบธรรมชาติ หมอแนะนำเป็นชุดการรักษา T-Set นะคะ

 

 

ชุดปรับสมดุล รักษาฮอร์โมนไทรอยด์ T-Set


ยารักษาไทรอยด์

ชุดการรักษา T-Set ในชุดจะประกอบด้วยตัวยา 2 ตำรับนะคะ คือ

 

1. ยาทานแคปซูล B-Cool : ช่วยปรับลดอุณหภูมิภายในร่างกาย แก้อาการกระสับกระส่าย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย ฟื้นฟูและดูแลระบบภูมิคุ้มกันให้กลับมาทำงานดีขึ้น ลดอาการคอบวม ตาโปน ตัวบวม ซึ่งเกิดจากความร้อนที่สูงขึ้นภายในร่างกาย

 

2.ยาหอมอินทจักร์ แบบชง : ลดอาการใจสั่น มือสั่น ใจหวิว เหนื่อยง่าย ปรับสมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ให้ทำงานเป็นปกติ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น ร่างกายรู้สึกสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น แก้อาการปวดตื้อ ปวดศีรษะ ลดภาวะหิวบ่อย น้ำหนักตัวไม่คงที่ แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน

 

เพราะในการรักษาอาการไทรอยด์กับปุณรดายาไทย จะไม่ได้เพียงจ่ายยา แต่เรายังมี การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งเรื่องของวิธีการดูแลสุขภาพที่ออกแบบเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ อาหารที่ควรทาน และ ควรงด อาหารแสลง อาหารที่ส่งผลโดยตรงต่ออาการไทรอยด์ แนะนำให้แบบรายบุคคล

 

พร้อมทีมแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ได้รับใบประกอบโรคศิลปะจากสภาการแพทย์แผนไทยคอยดูแล ตอบคำถามทุกเคสโดยคุณหมอ ตั้งแต่ 09.00-21.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด เพราะ ความเจ็บป่วย รอไม่ได้

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ป.วริศรา อิการาชิ

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"การรักษาโรคที่สาเหตุ คือ การรักษาที่ยั่งยืน"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า