เริมเกิดจากอะไร ทำไม่เป็นแล้วไม่หาย

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

เริมเกิดจากอะไร ทำไม่เป็นแล้วไม่หาย

เริมเกิดจากอะไร ทำไม่เป็นแล้วไม่หาย


เริมเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง สามารถเกิดได้หลายแห่ง อาทิ เริมที่ปาก เริมที่ตา เริมที่แขน เริมที่อวัยวะเพศ เป็นต้น ซึ่งเริมเกิดจากไวรัสที่ชื่อว่า Herpes simplex หรือเรียกสั้นๆ ว่า HSV โรคนี้หากเป็นแล้วมักเกิดซ้ำ ไม่หายขาด จึงจัดว่าเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง 

 

แบบไหนที่เรียกว่าเริม?


อาการแสดงของโรคเริม จะแสดงออกบนผิวหนัง เกิดเป็น ตุ่มเล็กๆใสๆ เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกแสบร้อน เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จากนั้นตุ่มจะแห้งแล้วหายไป และมีโอกาสเกิดขึ้นใหม่ได้เสมอ แต่เมื่อเป็นซ้ำความรุนแรงของอาการจะน้อยลง และมีระยะเวลาสั้นลง เพราะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้าน

 

เริมเกิดจากอะไร ทำไมเป็นแล้วไม่หาย1

 

ขั้นตอนการเกิดโรคเริม


อธิบายการเกิดโรคได้แบบนี้ เริ่มต้นเชื้อ HSV จะเข้าสู่ร่างกายแล้วฝังตัวอยู่ในชั้นผิวหนัง จากนั้นตัวเชื้อจะเกิดการแบ่งตัว ระยะนี้จะแสดงอาการบวมเป็นตุ่มน้ำที่ผิวหนัง ซึ่งผู้ป่วยจะแสบร้อน บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย ภายใน 7-10 วัน ตุ่มน้ำหรือตุ่มใสจะแห้งและหายไปเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตัวเชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกาย โดยหลบอยู่ในระบบประสาท กระทั่งถูกกระตุ้นจากปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้อง โรคเริมก็จะกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง และมักจะเกิดขึ้นบริเวณเดิมที่เคยเป็นมาก่อน เช่น หากเคยเป็นเริมที่ปาก ก็จะกลับเป็นเริมที่ปากเหมือนเดิม ไวรัส HSV นั้นมี 2 ชนิด คือ HSV-1 มักทำให้เกิดการติดเชื้อที่ใบหน้าและดวงตา อีกชนิดหนึ่งคือ HSV-2 มักทำให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ 

 

ทำความเข้าใจกับอาการของเริมในตำแหน่งต่าง ๆ 


เริมที่ปาก 

เริมที่ปาก เกิดจาก HSV-1 ฝังตัวอยู่ในชั้นผิวหนัง บริเวณริมฝีปาก โดยยังไม่แสดงอาการออกมา แต่จะใช้เวลาในการแบ่งเซลล์ก่อนระยะหนึ่ง สามารถฟักตัวได้ 2-10 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก ไม่ว่าจะเป็นริมฝีปาก ปาก หรือเหงือก ตุ่มใสจะมีขนาดประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร และไม่ใช่แค่ตุ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคันและแสบร้อน อาจรับประทานอาหารลำบาก ภายใน 7-10 วันตุ่มใสจะแห้งและหายไปเอง 

 

เริมที่ปากเกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเชื้อปะปนอยู่ อย่างเช่นในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ หากมีการใช้ปากร่วมด้วยอาจเกิดการติดเชื้อได้ หรือในบางกรณีอาจเกิดจากพฤติกรรมอื่น เช่น รับประทานอาหารโดยใช้หลอด ช้อน หรือแก้วน้ำร่วมกันกับผู้ที่มีอาการเริมที่ปาก  

 

เริมที่แขน 

เริมที่แขน ก็เป็นอีกหนึ่งชนิดที่ถูกพบ แต่อาจพบไม่บ่อยเท่ากับเริมที่ปาก หลายครั้งเริมที่แขนถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงูสวัด แต่ในความเป็นจริงแล้วเริมที่แขนเกิดจากไวรัส HSV แต่งูสวัดเกิดจาก VZV หรือ Varicella Zoster Virus ซึ่งเป็นไวรัสต่างชนิดกัน แต่อาการมักคล้ายกันคือมีตุ่มขึ้นตามผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิด 

 

เริมที่ตา

อีกหนึ่งบริเวณที่น่ากลัวคือเริมที่ตา ซึ่งเกิดการติดเชื้อ HSV-1 เริ่มแรกอาจไม่แสดงอาการอะไรเลย หรือมีตุ่มน้ำที่เปลือกตาร่วมกับอาการหวัด มักไม่รุนแรง แต่ตัวเชื้อจะไปฝังอยู่ในระบบประสาท เมื่อมีปัจจัยมากระตุ้นจะทำให้เกิดอาการขึ้นมาอีก โดยเริมที่ตามีความเสี่ยงที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ อาการแสดงของเริมที่ตา คือ รู้สึกปวดที่ดวงตา ดวงตาสู้แสงไม่ได้ ตาพร่ามัว น้ำตาไหล ตาแดง เป็นต้น 

 

ริดสีดวงทวาร หายเองได้ไหม3

 

เริมที่อวัยวะเพศ

เป็นบริเวณที่พบอาการของเริมขึ้นได้บ่อยไม่แพ้กับเริมที่ปาก ซึ่งจะแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น คือมักจะติดเชื้อ HSV-2 จะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส มีอาการแสบร้อน เกิดขึ้นได้ทั้งอวัยวะเพศภายในและภายนอก เริมบริเวณนี้สามารถหายเองได้เช่นกันกับบริเวณอื่น ๆ แต่จะเกิดอันตรายก็ต่อเมื่อ คุณแม่ใกล้คลอดแล้วมีอาการเริมบริเวณอวัยวะเพศกำเริบ จะส่งผลให้เชื้อเริมติดกับบุตรที่คลอดออกมาได้ ส่งผลให้ติดเชื้อและมีโอกาสเสียชีวิตได้ค่ะ

 

ปัจจัยที่ทำให้เริมกำเริบ


ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เริมกำเริบ ได้แก่ แสงแดด ความเครียด การใช้สารสเตียรอยด์ และอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายอ่อนแอ อาจทำให้โรคเริมกำเริบได้ จึงควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เน้นที่การสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ หรือลดความถี่ในการเกิดซ้ำให้น้อยลง ลดระยะเวลาการแสดงอาการ และบรรเทาอาการให้เบาลงกว่าเดิม 

 

 

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเริม 


- พักผ่อนให้เพียงพอ 

- ดื่มน้ำมากๆ 

- ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก กรณีเริมที่ปาก

- หากมีไข้ พยายามรักษาตัวเองให้ดี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาพาราเซตามอล เช็ดตัวสม่ำเสมอเพื่อลดอุณหภูมิ หรือพักผ่อนให้เพียงพอ 

- ไม่แกะเกาแผล หรือหมั่นทำความสะอาดเล็บและมืออยู่เสมอ เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อเมื่อแกะเกา

- พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบ อาทิ หลีกเลี่ยงแสงแดด ควบคุมอารมณ์และจิตใจ พยายามไม่เครียด และอื่นๆ

- ไม่ใช้ภาชนะหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นในขณะที่มีอาการจนกว่าแผลจะแห้งสนิท เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ 

- ป้องกันทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ หรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีอาการจนกว่าแผลจะแห้งสนิท

- รับประทานยาต้านไวรัสตามแพทย์สั่ง 

- รับประทานอาหารเสริมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

 

ถึงแม้ว่าเริมจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่เมื่อเป็นแล้วส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก และเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก ถึงอย่างนั้นก็สามารถป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรคได้ เพราะส่วนหนึ่งเริมเกิดจากพฤติกรรม หากหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดได้ โอกาสการเกิดโรคก็จะลดลง ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจคือการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงอยู่เสมอ ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ และเป็นวิธีธรรมชาติที่น่าสนใจ ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบในร่างกาย อีกทั้งยังสร้างสมดุลได้ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.จิราณี กิจศิริพิพัฒน์

แพทย์แผนไทยประยุกต์

"พื้นฐานของสุขภาพดีคือการใส่ใจดูแลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย ให้สมดุลกันเสมอ"

พท.ปฐมาพรรณ บุญประเสริฐ

แพทย์แผนไทย

" การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ด้วยวิถีธรรมชาติ เป็นเกราะป้องกันโรค ทางกายและใจ "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า